Page 33 - คู่มือประเมินผลด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน (Human Rights Due Diligence Handbook) ของธุรกิจการโรงแรม
P. 33
หลักการของ HRDD 5
3 สื่อสารนโยบาย
นโยบายด้านสิทธิมนุษยชนของบริษัทควรประกาศและเปิดเผยต่อสาธารณะ จะต้องได้รับความเห็นชอบจาก
คณะผู้บริหารสูงสุดของบริษัท และสื่อสารภายในไปยังบุคลากรทุกฝ่าย เพื่อส่งสัญญาณว่าเรื่องนี้สำาคัญและช่วยบูรณาการ
นโยบายนี้เข้าไปในการดำาเนินธุรกิจตลอดสาย นอกจากนี้ นโยบายดังกล่าวจะต้องได้รับการสื่อสารภายนอกไปยังคู่ค้า
พันธมิตรทางธุรกิจ และองค์กรอื่นๆ ในห่วงโซ่คุณค่าขององค์กร รวมถึงคนที่อาจได้รับผลกระทบจากการดำาเนินธุรกิจ
แสดงความทุ่มเทของคณะผู้บริหารสูงสุดต่อนโยบาย
ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (CEO) และผู้บริหารระดับสูงคนอื่นๆ ควรส่งสารอย่างชัดเจนและสม่ำาเสมอเพื่อกำาหนด
“น้ำาเสียง” ขององค์กร (Tone at the Top) และช่วยเรียกร้องความสนใจไปยังตัวนโยบายและการ “ปลูกฝัง” เข้าไปใน
วัฒนธรรมองค์กร บริษัทหลายแห่งมีประสบการณ์ที่คล้ายกันมาแล้วก่อนหน้านี้ในประเด็นสุขภาพและความปลอดภัย
ของพนักงาน วิธีที่ใช้ได้สำาหรับสิทธิมนุษยชน อาทิ
• อ้างอิงประเด็นสิทธิมนุษยชนและกระบวนการตรวจสอบอย่างรอบด้าน
อย่างสม่ำาเสมอ ในสุนทรพจน์ของผู้บริหาร ทั้งภายในและภายนอกบริษัท
• ผู้บริหารระดับสูงสอบถามถึงความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน หรือผลประกอบการ
ด้านสิทธิมนุษยชน เวลาที่ประชุมกันในประเด็นสำาคัญทางธุรกิจ เช่น
การอนุมัติโครงการใหม่
• เผยแพร่ตัวอย่างการแสดงความรับผิดต่อสิทธิมนุษยชน ให้บุคลากรรับรู้
เป็นการภายในตลอดทั้งบริษัท ไม่ว่าจะเป็นกรณีให้รางวัลหรือระงับการ
ดำาเนินธุรกิจ (เช่น กับคู่ค้าที่ละเมิดสิทธิ) โดยตัวอย่างต่างๆ อาจปิดบังชื่อ
บริษัท หรือชื่อ-นามสกุลจริง ถ้าจำาเป็น
• ยกประเด็นสิทธิมนุษยชนขึ้นเป็นประเด็นแรกๆ ของผู้บริหารระดับสูง
เวลาหารือกับองค์กรที่สนใจจะจับมือเป็นพันธมิตรทางธุรกิจ หรือหน่วยงาน
ราชการต่างๆ
เลือก “วิธี” และ “ภาษา” ที่เหมาะสม
คุณจะต้องพิจารณาว่าผู้มีส่วนได้เสียต่างๆ อาทิ พนักงาน ชุมชนท้องถิ่น ฯลฯ ปกติแล้วเข้าถึงข้อมูลได้อย่างไร
เช่น จะใช้การสื่อสารในลักษณะข้อเขียน คำาพูด หรือภาพ จะใช้ภาษาใด (ภาษาพื้นถิ่นอาจสำาคัญ) และจะใช้เทคโนโลยี
หรือไม่อย่างไร เพื่อตัดสินใจว่าบริษัทจะสื่อสารความทุ่มเทต่อนโยบายนี้ภายในและภายนอกได้อย่างไรให้เกิดประสิทธิผล
สูงสุด
31