Page 13 - คู่มือประเมินผลด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน (Human Rights Due Diligence Handbook) ของธุรกิจการโรงแรม
P. 13

เกริ่นน�ำ  1









                  ไม่ง่ายนักที่จะมองเห็นว่าธุรกิจมีหน้าที่ด้านสิทธิมนุษยชนอย่างไรบ้าง  หลายคนมองว่าในเมื่อภาครัฐมีหน้าที่
            ในเรื่องนี้ตามพันธสัญญาต่อสากล รัฐก็เพียงแต่ต้องออกกฎหมายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องมา ให้ภาคธุรกิจทำาตาม และหากบริษัท
            ทำาตามกฎหมายทุกกระเบียดนิ้วเท่านั้นก็เพียงพอแล้วต่อการพิสูจน์ว่า บริษัทกำาลัง “รับผิดชอบ” ด้านสิทธิมนุษยชน


                  แต่ในความเป็นจริง ที่ผ่านมากฎหมายไทยมีข้อบกพร่องหลายประการในแง่ของการอนุวัตรตามพันธสัญญา

            ระหว่างประเทศ ยังไม่นับปัญหาในการบังคับใช้อีกมากมาย ฉะนั้นมุมมองของผู้ประกอบการที่ว่า ลำาพังการปฏิบัติ
            ตามกฎหมายและกฎเกณฑ์ระเบียบต่างๆ ในไทยก็เพียงพอแล้วต่อการแสดงความรับผิดชอบด้านสิทธิมนุษยชน
            จึงไม่ถูกต้องนัก แล้วบริษัทควรทำาอย่างไร?





                              การ “แสดงความเคารพ” (Respect)


                                      ด้านสิทธิมนุษยชนของธุรกิจ





                  ในระดับสากล ความคาดหวังต่อการแสดงความรับผิดชอบด้านสิทธิมนุษยชนของผู้ประกอบการนั้น ปรากฎอย่าง
            ชัดเจนเป็นครั้งแรกใน “หลักการชี้แนะว่าด้วยธุรกิจและสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ” (UN Guiding Principles on
            Business and Human Rights – ในคู่มือฉบับนี้จะย่อว่า “หลักการชี้แนะ UNGP”)  ซึ่งเผยแพร่ตั้งแต่ พ.ศ. 2554 เป็นเอกสาร
            ที่จัดทำาและเผยแพร่โดย สำานักงานข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (OHCHR) โดยการสนับสนุนของ

            เลขาธิการสหประชาชาติ มีศาสตราจารย์จอห์น รักกี้ (John Ruggie) จากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ในฐานะผู้แทนพิเศษ
            ของเลขาธิการสหประชาชาติเป็นผู้จัดทำา หลังจากที่คณะทำางานได้ไปเยี่ยมสถานประกอบการและผู้เกี่ยวข้องในท้องถิ่น
            มากกว่า 20 ประเทศ และมีการหารืออย่างกว้างขวางร่วมกับรัฐบาล องค์กรธุรกิจ สมาคม องค์กร ภาคประชาสังคม
            องค์กรของกลุ่มแรงงาน สถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และผู้ลงทุน



                  หลักการชี้แนะ UNGP เป็นผลจากแรงกดดันต่างๆ ต่อภาคเอกชนที่มีการละเมิดสิทธิมนุษยชนมากมาย ซึ่งเริ่มต้น
            จากบริษัทข้ามชาติต่างๆ ที่การละเมิดสิทธิมนุษยชนหลายประเภทและหลายระดับ เช่น สิทธิพลเมือง สิทธิทางการเมือง
            เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม แรงงาน เป็นต้น ขณะที่กลไกนานาชาติที่มีอยู่ล้มเหลวและไม่เพียงพอในการจัดการ

            กับการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่เกิดขึ้น ซึ่งได้รับการวิพากษ์วิจารณ์จากภาคประชาสังคมเป็นอย่างมาก รักกี้เห็นว่าปัญหา
            ของการรายงานต่างๆ ที่มีอยู่คือ การวัดเชิงปริมาณไม่ตรงกับคุณภาพ ปัญหานี้รวมถึงข้อเท็จจริงที่ว่าบริษัทไม่จำาเป็น
            ต้องรับรู้ถึงสิทธิที่ตนเองส่งผลกระทบมากที่สุด การตีความเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนยังอาจจะกว้างเกินไปจนไร้ความหมาย
            และเป็นมาตรการที่ไร้ซึ่งประสิทธิภาพ



                  หลักการชี้แนะ UNGP เป็นกรอบสำาหรับรัฐในการควบคุมให้ภาคเอกชนเคารพสิทธิมนุษยชน ด้วยการจัดทำา
            “พิมพ์เขียว” สำาหรับบริษัทต่างๆ เพื่อเป็นมาตรฐานสากลในการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน และเป็นการนำาเสนอ
            แนวทางในการจัดการความเสี่ยงในการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่ไม่พึงประสงค์ โดยได้รับการสนับสนุนจากภาคธุรกิจ และ

            ประชาสังคมเช่นเดียวกับจากรัฐต่างๆ โดยวางอยู่บนหลัก 3 ประการ ได้แก่







                                                                                                          11
   8   9   10   11   12   13   14   15   16   17   18