Page 12 - คู่มือประเมินผลด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน (Human Rights Due Diligence Handbook) ของธุรกิจการโรงแรม
P. 12
รัฐมีหน้าที่รับผิดชอบในเบื้องแรกในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนที่เกิดขึ้นภายในเขตอำานาจรัฐ รัฐมี
พันธกรณีตามสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศใน 3 ระดับ ดังนี้
หน้าที่ในการเคารพ (Obligation to Respect) หมายถึง การที่รัฐต้องไม่เข้าไปแทรกแซงการใช้สิทธิ
ของประชาชน และไม่ทำาการใดๆ (กระทำาหรือละเว้นการกระทำา) ที่เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนเสียเอง
หน้าที่ในการคุ้มครอง (Obligation to Protect) หมายถึง รัฐมีหน้าที่ที่จะต้องคุ้มครองบุคคลหรือ
กลุ่มบุคคล มิให้ถูกละเมิดสิทธิจากบุคคลอื่นหรือกลุ่มอื่นใด โดยรัฐต้องมีมาตรการดูแลไม่ให้เกิดการ
ละเมิดสิทธิ แต่หากเกิดการละเมิดรัฐต้องเข้ามาดูแลให้การคุ้มครอง
หน้าที่ในการทำาให้สิทธิเกิดผลในทางปฏิบัติในการจัดทำา และอำานวยการให้เกิดขึ้นจริง (Obligation
to Fulfill) หมายถึง การที่รัฐต้องดำาเนินการเชิงรุก (Positive Steps) ในการรับรองหรือประกันสิทธิ
ของประชาชน เช่น การสร้างกรอบ ทางกฎหมายและนโยบาย รวมถึงการมีมาตรการต่างๆ ที่จะช่วยให้
ประชาชนได้รับรู้ถึงสิทธิดังกล่าว การช่วยให้ประชาชนสามารถเข้าถึงและได้ใช้สิทธิและเสรีภาพที่ได้รับ
การรับรองในกฎหมายภายใน และตามพันธกรณีระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชนของไทย
ผู้ประกอบการจำานวนมากยังไม่คิดว่าการดำาเนินธุรกิจเกี่ยวข้องกับสิทธิมนุษยชน แต่ในความเป็นจริง สิทธิมนุษยชน
เกี่ยวข้องกับทุกกระบวนการของการทำาธุรกิจ ตั้งแต่วิธีปฏิบัติต่อพนักงาน สภาพการทำางาน วิธีปฏิบัติต่อลูกค้า วิธีปฏิบัติ
ต่อแรงงานหรือผู้จัดหาวัตถุดิบในห่วงโซ่อุปทาน วิธีปฏิบัติต่อชุมชนท้องถิ่นในพื้นที่ประกอบการ และอื่นๆ
อีกมากมาย หลายประเด็นเกี่ยวพันหลายมิติ เช่น “น้ำา” ที่บริษัทใช้ไม่เพียงแต่เป็นประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม (คุณภาพน้ำา)
เท่านั้น หากแต่ยังเป็นประเด็นสิทธิมนุษยชน (สิทธิของชุมชนในการเข้าถึงแหล่งน้ำา) ไปพร้อมกันด้วย
ผู้ประกอบการบางรายเข้าใจผิดว่า บริษัทไม่มีความรับผิดชอบใดๆ ในขอบเขตที่พ้นไปจากตัวบริษัทเอง ยกตัวอย่าง
เช่น ในประเด็นความรับผิดชอบต่อแรงงาน บางคนคิดว่าบริษัทมีหน้าที่ดูแลเฉพาะพนักงานและแรงงานที่ทำางานให้กับ
บริษัทโดยตรง ไม่จำาเป็นต้องรับผิดชอบต่อลูกจ้างรับเหมาค่าแรงไม่ได้มีสัญญาจ้างโดยตรงกับบริษัท แต่ในความเป็นจริง
มาตรา 11/1 ของพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 บัญญัติว่า
“ในกรณีที่ผู้ประกอบกิจการมอบหมายให้บุคคลหนึ่งบุคคลใดเป็นผู้จัดหาคนมาทำางานอันมิใช่การประกอบธุรกิจ
จัดหางาน โดยการทำางานนั้นเป็นส่วนหนึ่งส่วนใดในกระบวนการผลิตหรือธุรกิจในความรับผิดชอบของผู้ประกอบกิจการ
และโดยบุคคลนั้นจะเป็นผู้ควบคุมดูแลการทำางานหรือรับผิดชอบในการจ่ายค่าจ้างให้แก่คนที่มาทำางานนั้นหรือไม่ก็ตาม
ให้ถือว่าผู้ประกอบกิจการเป็นนายจ้างของคนที่มาทำางานดังกล่าว
ให้ผู้ประกอบกิจการดำาเนินการให้ลูกจ้างรับเหมาค่าแรงที่ทำางานในลักษณะเดียวกันกับลูกจ้างตามสัญญาจ้าง
โดยตรง ได้รับสิทธิประโยชน์และสวัสดิการที่เป็นธรรมโดยไม่เลือกปฏิบัติ”
10