Page 43 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2559
P. 43
๖
การทรมาน และการบังคับบุคคลให้สูญหาย พ.ศ. .... โดยปัจจุบันอยู่ในระหว่างการด�าเนินการตามกระบวนการให้สัตยาบัน
(ratify) กับองค์การสหประชาชาติและการน�าเสนอ (ร่าง) พระราชบัญญัติดังกล่าวตามขั้นตอนนิติบัญญัติ ซึ่งแม้ว่าอนุสัญญาฯ
จะยังไม่มีผลใช้บังคับกับประเทศไทย แต่รัฐบาลต้องไม่กระท�าการใด ๆ ที่เป็นการขัดต่อสาระและความมุ่งประสงค์ (Objects
and Purposes) ของอนุสัญญาดังกล่าว ในส่วนของอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองสิทธิของแรงงานโยกย้าย
ถิ่นฐานและสมาชิกในครอบครัว (International Convention on the Protection of the Rights of Migrants and
Members of their Families : ICRMW) ประเทศไทยยังไม่ได้เข้าเป็นภาคี
นอกจากสนธิสัญญาหลัก ๗ ฉบับข้างต้นแล้ว ประเทศไทยยังได้เข้าเป็นภาคีพิธีสารเลือกรับ (Optional Protocol
: OP) ของสนธิสัญญาข้างต้นในบางฉบับ ซึ่งขยายผลการด�าเนินการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิในเชิงการปฏิบัติ หรือการจัดตั้ง
กลไกเพิ่มเติมจากข้อบทในสนธิสัญญาหลักนั้น ๆ โดยประเทศไทยเข้าเป็นภาคีของพิธีสารเลือกรับ (OP) ทั้งสิ้น ๕ ฉบับ ได้แก่
๑ พิธีสารเลือกรับของอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ (Optional
Protocol to the International Convention on the Elimination of All Forms of Discrimination Against Women
: OP-CEDAW) ซึ่งมีสาระส�าคัญเกี่ยวกับการยอมรับอ�านาจของคณะกรรมการประจ�าอนุสัญญาฯ ในการรับและพิจารณา
ข้อร้องเรียนในกรณีที่มีการละเมิดพันธกรณีภายใต้อนุสัญญาฯ โดยผู้ร้องเรียนอาจเป็นบุคคล กลุ่มบุคคลในนามผู้ถูกละเมิด
สิทธิก็ได้ ทั้งนี้ ประเทศไทยได้ให้สัตยาบันพิธีสารฉบับนี้ เมื่อวันที่ ๑๔ มิถุนายน ๒๕๔๓
๒ พิธีสารเลือกรับของอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิเด็กว่าด้วยการขายเด็ก โสเภณีเด็กและสื่อลามก
ที่เกี่ยวกับเด็ก (Optional Protocol to the International Convention on the Rights of the Child on the Sale of
Children, Child Prostitution and Child Pornography: OP-SC) ซึ่งประเทศไทยได้เข้าเป็นภาคีพิธีสารดังกล่าวด้วยการ
ภาคยานุวัติ เมื่อวันที่ ๑๑ มกราคม ๒๕๔๙
๓ พิธีสารเลือกรับของอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิเด็กว่าด้วยสภาวะความขัดแย้งที่มีการใช้อาวุธ
(Optional Protocol to the International Convention on the Rights of the Child on the Involvement of Children
in Armed Conflict: OP-AC) ซึ่งประเทศไทยได้เป็นภาคีพิธีสารฉบับนี้ด้วยการภาคยานุวัติ เมื่อวันที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๙
๔ พิธีสารเลือกรับของอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิเด็กว่าด้วยกระบวนการรับเรื่องร้องเรียน (Optional
Protocol to the International Convention on the Rights of the Child on a Communications Procedure: OP3)
ซึ่งประเทศไทยได้ให้สัตยาบันพิธีสารฉบับนี้ เมื่อวันที่ ๒๕ กันยายน ๒๕๕๕
๕ พิธีสารเลือกรับของอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิคนพิการ (Optional Protocol to the International
Convention on the Rights of Persons with Disabilities : OP- CRPD) โดยผลใช้บังคับกับประเทศไทย นับตั้งแต่วันที่
๒ ตุลาคม ๒๕๕๙
๖ ผลสืบเนื่องจากการที่ประเทศไทยให้สัตยาบันเข้าเป็นภาคีอนุสัญญา CAT เมื่อปี ๒๕๕๐ และการลงนามต่ออนุสัญญา CED ในปี ๒๕๕๔ แต่ยังมิได้ให้สัตยาบัน ซึ่งต่อ
มารัฐบาล (โดยกระทรวงยุติธรรม) ได้จัดท�า (ร่าง) พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมาน และการบังคับบุคคลให้สูญหาย พ.ศ. .... ซึ่งมีหลักการส�าคัญ คือ การก�าหนด
บทลงโทษเกี่ยวกับการกระท�าความผิดในการทรมานผู้ถูกจับกุม หรือการอุ้มให้สูญหาย ไม่ว่าจะโดยการกระท�าของเจ้าหน้าที่รัฐหรือไม่ โดยหากพิสูจน์ได้ว่ามาจากความยินยอมของ
เจ้าหน้าที่รัฐ ก็ถือว่าการกระท�านั้นผิดกฎหมาย ทั้งนี้ ครอบคลุมถึงสถานการณ์ฉุกเฉิน สงคราม สถานการณ์ความไม่มั่นคง โดยมีการก�าหนดระยะของอายุความไว้ ๒๐ ปี และมีการ
ตั้งคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทรมาน และการบังคับบุคคลให้สูญหาย เพื่อก�าหนดมาจากการคุ้มครองผู้เสียหายจากการทรมาน และการบังคับบุคคลให้สูญหาย โดย
ประกันสิทธิแก่ผู้ถูกจับกุมในการติดต่อกับญาติ ทนายความ หรือผู้ที่บุคคลนั้นๆ ไว้วางใจ สิทธิในการแจ้งให้บุคคลอื่นได้ทราบถึงสภาพการคุมขัง และห้ามมิให้หน่วยงานของรัฐส่งตัว
บุคคลใด ๆ ออกนอกราชอาณาจักร หากเชื่อว่า จะก่อให้เกิดการทรมาน หรือถูกบังคับให้สูญหาย
รายงานผลการประเมินสถานการณ์ 42 ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี ๒๕๕๙