Page 42 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2559
P. 42
๑ หลักการตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ โดยเฉพาะในหมวดที่ ๓ สิทธิและเสรีภาพของชน
ชาวไทย และหมวดที่ ๕ แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช
๒๕๕๗ มาตรา ๔ ซึ่งบัญญัติว่า ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาค บรรดาที่ชนชาวไทยเคยได้รับ
การคุ้มครองตามประเพณีการปกครองประเทศไทย ในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขและตามพันธกรณี
ระหว่างประเทศที่ประเทศไทยมีอยู่แล้ว ย่อมได้รับการคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญนี้ ๕
๒ สิทธิที่ได้รับการรับรองจากสนธิสัญญาระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชนที่ประเทศไทย
เป็นภาคี
โดยที่ประเทศไทยได้เข้าเป็นภาคีสนธิสัญญาระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชน รัฐจึงมีพันธกรณีที่จะต้องด�าเนินการ
ให้สอดคล้อง และ/หรือ เป็นไปตามมาตรฐานที่รับเอาไว้ ซึ่งปัจจุบันประเทศไทยได้เข้าเป็นภาคีสนธิสัญญาระหว่างประเทศ
ด้านสิทธิมนุษยชนหลัก ๗ ฉบับ จากทั้งหมด ๙ ฉบับ ได้แก่
๒.๑ อนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ (International Convention
on the Elimination of All Forms of Discrimination Against Women: CEDAW) มีผลใช้บังคับกับประเทศไทย
เมื่อวันที่ ๘ กันยายน ๒๕๒๘
๒.๒ อนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิเด็ก (International Convention on the Rights of the Child:
CRC) มีผลใช้บังคับกับประเทศไทย เมื่อวันที่ ๒๖ เมษายน ๒๕๓๕
๒.๓ กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (International Covenant on Civil and
Political Rights: ICCPR) มีผลใช้บังคับกับประเทศไทย เมื่อวันที่ ๓๐ มกราคม ๒๕๔๐
๒.๔ กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม (International Covenant on
Economic, Social and Cultural Rights: ICESCR) มีผลใช้บังคับกับประเทศไทย เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๔๒
๒.๕ อนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติในทุกรูปแบบ (International
Convention on the Elimination of All Forms of Racial Discrimination: ICERD) มีผลใช้บังคับกับประเทศไทย เมื่อวันที่ ๒๗
กุมภาพันธ์ ๒๕๔๖
๒.๖ อนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการต่อต้านการทรมานและการประติบัติหรือการลงโทษอื่นที่โหดร้าย
ไร้มนุษยธรรม หรือที่ย�่ายีศักดิ์ศรี (International Convention Against Torture and Other Cruel, Inhuman or Degrading
Treatment or Punishment: CAT) มีผลใช้บังคับกับประเทศไทย เมื่อวันที่ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๐
๒.๗ อนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิของคนพิการ (International Convention on the Rights of
Persons with Disabilities: CRPD) มีผลใช้บังคับกับประเทศไทย เมื่อวันที่ ๒๘ สิงหาคม ๒๕๕๑
นอกจากนี้ ประเทศไทยได้แสดงเจตนารมณ์ที่จะเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครอง กรอบการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชน
บุคคลทุกคนจากการหายสาบสูญโดยถูกบังคับ (International Convention for the Protection of All Persons from
Enforced Disappearance: CED) โดยได้ลงนาม (sign) เมื่อวันที่ ๙ มกราคม ๒๕๕๕ และต่อมา คณะรัฐมนตรีมีมติ ณ วันที่
๒๔ พฤษภาคม ๒๕๕๙ เห็นชอบการเข้าเป็นภาคีของอนุสัญญาดังกล่าว พร้อมกับ (ร่าง) พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปราม
๕ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ ประกาศใช้เมื่อวันที่ ๖ เมษายน ๒๕๖๐ โดยที่ในการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศ
ปี ๒๕๕๙ (ช่วงเวลา ๑ มกราคม – ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๙) จะอ้างอิงหลักการตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยที่มีผลบังคับอยู่ในช่วงเวลาขณะนั้น คือ รัฐธรรมนูญแห่ง บทที่
๑
ราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ ซึ่งจะยังคงเชื่อมโยงกับหลักการส�าคัญ โดยเฉพาะในส่วนเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร
ไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ ด้วย
รายงานผลการประเมินสถานการณ์ 41 ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี ๒๕๕๙