Page 41 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2559
P. 41

๓
                 หลักการปารีส (Paris Principles)  ก�าหนดมาตรฐานบทบาทของสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (National Human
        Rights Institutions: NHRIs) ที่ส�าคัญไว้ ๕ ด้าน ซึ่ง NHRIs ควรพิจารณาด�าเนินการ โดยในจ�านวนนี้ มีบทบาทในการเฝ้าระวังสถานการณ์
        สิทธิมนุษยชน (Monitoring Function) ซึ่งครอบคลุมหน้าที่หลัก ๔ ประการ ได้แก่ (๑) การเฝ้าระวังสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศ
        (๒) การเฝ้าระวังปัญหาสิทธิมนุษยชนเฉพาะเรื่อง (๓) การเฝ้าระวังสถานที่กักกันเพื่อป้องกันมิให้มีการกระท�าทรมาน และมีการปฏิบัติที่เป็นไปตาม
        มาตรฐานสิทธิมนุษยชน และ (๔) การเฝ้าระวังและติดตามการด�าเนินการของหน่วยงานในประเทศ ตามข้อเสนอแนะทั้งจากกลไกตามสนธิสัญญา
                                                                                                            ๔
        ระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชน (Treaty-based) ซึ่งครอบคลุมกติกาและอนุสัญญาต่าง ๆ ที่ประเทศที่ NHRIs นั้น ๆ ตั้งอยู่เป็นภาคี
        และตามกลไกกฎบัตรแห่งสหประชาชาติ (Charter-based) ซึ่งครอบคลุมผู้แทนพิเศษ (Special Representative) ผู้รายงานพิเศษ
        (Special Rapporteur) กลไกทบทวนสถานการณ์สิทธิมนุษยชน (Universal Periodic Review : UPR) และอื่น ๆ โดยการปฏิบัติงานดังกล่าว
        NHRIs จะต้องค�านึงถึงการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และองค์กรอื่น ๆ ทั้งในและต่างประเทศ และจะต้องอยู่บนพื้นฐาน

        ด้านสิทธิมนุษยชนอย่างเคร่งครัด โดย NHRIs  จะต้องรักษาสมดุลอย่างเหมาะสมตามหลักการปารีส ค�านึงถึงการใช้หลักของการ
        คงไว้และไม่ลิดรอนสิทธิแบบเบ็ดเสร็จเด็ดขาด (non-derogable rights) และการด�าเนินการให้คุณภาพแห่งสิทธิมีมาตรฐานหรือ
        อยู่ในระดับที่ดียิ่งขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป ตามความเหมาะสมกับทรัพยากรที่มีอยู่และจัดสรรได้ (progressive realization
        of rights) และตอบสนองต่อยุทธศาสตร์และสถานการณ์ของประเทศเป็นส�าคัญ


                 การเปลี่ยนแปลงการเมืองการปกครอง โดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เมื่อวันที่ ๒๒ พฤษภาคม ๒๕๕๗

        และตามประกาศ คสช. ฉบับที่ ๕/๒๕๕๗ ให้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ สิ้นสุดลงชั่วคราว เว้นหมวด ๒
        พระมหากษัตริย์ และให้องค์กรอิสระและองค์กรอื่นตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐
        ยังคงปฏิบัติหน้าที่ต่อไป และประกาศ คสช. ฉบับที่ ๑๑/๒๕๕๗ ให้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐

        สิ้นสุดลง ยกเว้นหมวด ๒ และให้องค์กรอิสระ และองค์กรอื่นตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐
        ยังคงปฏิบัติหน้าที่ต่อไป ดังนั้น ในการจัดท�ารายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย
        ประจ�าปี ๒๕๕๙ ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) จึงถือเป็นการปฏิบัติหน้าที่ตามภารกิจส่วนหนึ่งที่บัญญัติ
        ไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ มาตรา ๔ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
        พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๒๕๗ (๘) และพระราชบัญญัติคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๕ (๖)

        ซึ่งก�าหนดให้ กสม. มีอ�านาจหน้าที่ในการจัดท�ารายงานประจ�าปีเพื่อประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนภายในประเทศ
        เสนอต่อรัฐสภาและคณะรัฐมนตรี พร้อมทั้งให้เปิดเผยต่อสาธารณชน การจัดท�ารายงานประเมินสถานการณ์ถือเป็นการส่งเสริม
        ให้สาธารณชนได้รับทราบถึงสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศว่าในแต่ละปี มีเหตุการณ์ที่ส�าคัญใดบ้างที่มีผลกระทบต่อ

        สิทธิของประชาชนที่มีการรับรองไว้ในรัฐธรรมนูญ กฎหมายภายในอื่น ๆ พันธกรณีด้านสิทธิมนุษยชนที่ประเทศไทยเป็นภาคี
        มาตรฐานระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง และค�ามั่นสัญญาต่าง ๆ ที่รัฐบาลไทยได้ให้ไว้ต่อประชาคมระหว่างประเทศ ทั้งในด้าน
        ที่เป็นความก้าวหน้าและความถดถอย


                 ในการจัดท�ารายงานผลการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนฯ ฉบับนี้ กสม. ได้รวบรวมข้อมูลข้อเท็จจริง และคัดเลือก

        ประเด็นจากสถานการณ์ส�าคัญที่เป็นที่สนใจอย่างกว้างขวาง ทั้งจากหน่วยงานของรัฐ และเอกชน สื่อมวลชน สาธารณชน ตลอด
        จนประชาคมระหว่างประเทศ และ/หรือเห็นว่ามีผลอย่างส�าคัญต่อการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในประเทศ รวมถึง
        เรื่องที่ กสม. ได้มีการด�าเนินงานที่เกี่ยวข้องในประเด็นต่าง ๆ เหล่านั้น ทั้งจากการจัดท�ารายงาน การตรวจสอบ หรือการจัดท�า

        ข้อเสนอแนะเพื่อแก้ไขปัญหาไปยังรัฐบาล คณะรัฐมนตรี หน่วยงาน หรือผู้ที่เกี่ยวข้อง แล้วน�ามาวิเคราะห์ สังเคราะห์ ประเมิน
        สถานการณ์ในด้านต่าง ๆ โดยมีเกณฑ์หรือมาตรฐานหลักในการประเมิน ดังนี้




                 ๓  หลักการว่าด้วยสถานะและหน้าที่ของสถาบันแห่งชาติเพื่อการคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิมนุษยชน, โดย ส�านักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ, ๒๕๖๐,
        สืบค้นจาก http://www.nhrc.or.th/Human-Rights-Knowledge/International-Human-Rights-Affairs/Paris-Principles.aspx
                 ๔  ประเทศไทยเป็นภาคีของสนธิสัญญาระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชน จ�านวน ๗ ฉบับ จากทั้งหมด ๙ ฉบับ


                                 รายงานผลการประเมินสถานการณ์  40  ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี ๒๕๕๙
   36   37   38   39   40   41   42   43   44   45   46