Page 12 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2559
P. 12

ส�าหรับปัญหาน�้าท่วมในฤดูมรสุม พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชได้ทรงศึกษาหาวิธีบรรเทา
            ความเดือดร้อนจากน�้าท่วมแก่ประชาชนในพื้นที่ภาคกลาง ซึ่งมีลักษณะเป็นที่ลุ่มและมักจมอยู่ใต้น�้า คือ “โครงการแก้มลิง”

            ซึ่งเกิดจากแนวพระราชด�าริถึงการที่ลิงอมกล้วยกักตุนไว้ในกระพุ้งแก้มได้คราวละมาก ๆ โดยทรงอธิบายว่า


                     “จะต้องท�าแก้มลิงเพื่อที่จะเอาน�้านี้ไปเก็บไว้ เวลาน�้าทะเลขึ้นไม่สามารถที่จะระบายออก น�้าทะเลก็ขึ้นมาดันขึ้นไป
            ตามแม่น�้าขึ้นไปเกือบถึงอยุธยา ท�าให้น�้าลดลงไปไม่ได้ แล้วเวลาน�้าทะเลลง น�้าที่เอ่อขึ้นมานั้นก็ไม่สามารถที่จะกลับเข้าไป
            ในแม่น�้าเจ้าพระยาก็ท่วมต่อไป จึงต้องมีแก้มลิง เราพยายามที่จะเอาน�้าออกมาเมื่อมีโอกาส”



                     ด้วยแนวพระราชด�ารินี้จึงเกิดเป็นโครงการแก้มลิงขึ้น เพื่อบริหารจัดการน�้าในลุ่มน�้าภาคกลาง โดยจัดให้มีพื้นที่พักน�้า
            ตามจุดต่าง ๆ เพื่อท�าหน้าที่รองรับน�้าฝนไว้ชั่วคราว ก่อนจะระบายลงทางระบายน�้าสาธารณะช่วยแก้ปัญหาน�้าท่วมขังได้

            นอกจากนี้ แนวพระราชด�าริแก้มลิงยังผสานแนวคิดในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมด้วย กล่าวคือ เมื่อน�้าที่ถูกเก็บกักไว้ถูกส่งเข้าไป
            ในคลองต่าง ๆ ก็จะเข้าไปเจือจางน�้าเน่าเสียในคลองและผลักน�้าเสียที่เจือจางแล้วลงสู่ทะเลต่อไป


                     การพัฒนาทรัพยากรดิน



                     พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงเล็งเห็นปัญหาส�าคัญจากการชะล้างพังทลายของหน้าดิน
            จึงมีพระราชด�าริเรื่องการใช้ประโยชน์จากหญ้าแฝกเพื่อป้องกันการพังทลายของหน้าดินอันเป็นแหล่งแร่ธาตุส�าคัญของพืช
            เนื่องจากหญ้าแฝกเป็นพืชตระกูลหญ้าที่จะเป็นเสมือนรั้วขวางทางไหลของดินที่ถูกน�้าพัดได้ ต่อมาทรงมีพระราชด�าริให้วิจัย

            และพัฒนาเทคโนโลยีหญ้าแฝกในเชิงวิชาการ กระทั่งค้นพบว่าหญ้าแฝกเป็นพืชที่ให้ประโยชน์กับส่วนรวมในฐานะพืชที่มีมูลค่า
            ครบวงจร ทั้งก้าน ใบ ขี้เถ้า และราก สามารถน�าไปแปรรูปสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจได้ ด้วยเหตุที่หญ้าแฝกมีคุณสมบัติเป็นพืช
            สร้างรายได้อย่างครบวงจรให้แก่เกษตรกรนี้ ในปี พ.ศ. ๒๕๔๕ จึงมีพระราชด�าริให้ด�าเนินการด้านสิทธิบัตร เพื่อให้หญ้าแฝก
            เป็นทรัพย์สินของชาติมาจนทุกวันนี้


                     การพัฒนาทรัพยากรด้านการเกษตร



                     พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงเน้นเรื่อง สิทธิการท�ากินเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ที่ผสมผสาน

            ความต้องการของเกษตรกรให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม พระองค์โปรดเกล้าฯ ให้น�าพระราชด�าริมาปฏิบัติจริงจนสามารถพัฒนา
            เป็นทฤษฎีการจัดการที่ดินและแหล่งน�้าอย่างถูกต้องที่เรียกว่า “ทฤษฎีใหม่” อันมีจุดประสงค์หลักให้เกษตรกรพึ่งตนเองได้
            และมีความเป็นอยู่อย่างพอเพียง โดยทรงสนับสนุนให้เกษตรกรเปลี่ยนมาท�าเกษตรแบบผสมผสาน ปลูกพืชหลากหลายแทน
            การปลูกพืชชนิดเดียว ปลูกข้าวในฤดูกาลท�านาที่มีการควบคุมการใช้น�้า และปลูกพืชอื่นที่เหมาะสมในฤดูแล้ง ผลของทฤษฎีใหม่นี้
            ท�าให้เกษตรกรพากันปลูกข้าวเป็นพืชหลัก ปลูกผักผลไม้ และพืชอื่น ๆ เป็นพืชรอง ท�าประมงและเลี้ยงสัตว์ควบคู่ไป เป็นการสร้าง

            รายได้ให้เกษตรกรต่อเนื่องได้ทั้งปี โดยมีการสนับสนุนให้น�าข้าวและผลผลิตมารวมกันจ�าหน่ายในรูปสหกรณ์และมีการ
            จัดตั้งกองทุนชุมชนกู้ยืมเพื่อท�ากิจกรรมต่าง ๆ



                     ดังที่กล่าวมานี้ เป็นเพียงตัวอย่างผลส�าเร็จจากโครงการอันเนื่องมาจากพระราชด�าริเพียงไม่กี่โครงการที่ท�าให้
            ประชาชนชาวไทยได้มีสิทธิในการด�ารงชีวิตและได้รับมาตรฐานความเป็นอยู่ที่พอเพียง


                     นอกจากพระราชภารกิจในการพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและการท�ากินของประชาชนแล้ว พระบาทสมเด็จ
            พระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชยังได้พระราชทานพระบรมราชานุเคราะห์ด้านสุขภาพอนามัยแก่ราษฎรทุกท้องถิ่น

            เห็นได้จากการเสด็จพระราชด�าเนินเยี่ยมเยียนราษฎรในถิ่นทุรกันดาร โดยรับสั่งให้หน่วยแพทย์หลวงและหน่วยแพทย์เคลื่อนที่


                                     รายงานผลการประเมินสถานการณ์  11  ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี ๒๕๕๙
   7   8   9   10   11   12   13   14   15   16   17