Page 38 - รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาวิจัยแผนกลยุทธ์ด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2562
P. 38

ในส่วนที่สาม อธิบายถึงสภาพปัญหาในการบังคับใช้ที่เกิดขึ้นในประเทศไทย พบว่า ปัญหาส าคัญที่มี

               ผลกระทบต่อการบังคับใช้ในประเทศ คือ ประเทศไทยยังไม่มีการเก็บข้อมูลเกี่ยวกับประเด็นสิทธิมนุษยชนกับ
               ธุรกิจโดยตรงและเป็นระบบมากนัก แต่ก็สามารถท าความเข้าใจในสถานการณ์การละเมิดสิทธิมนุษยชนที่

               เกิดขึ้นในภาคธุรกิจได้ จากรายงานขององค์กรด้านสิทธิมนุษยชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง  สามารถสรุป

               ภาพรวมสถานการณ์การละเมิดสิทธิมนุษยชนในภาคธุรกิจไทยได้ว่าเกิดการละเมิดใน 3 สิทธิที่ส าคัญ ได้แก่

                       1.  สิทธิแรงงาน ที่เกี่ยวกับเรื่องความปลอดภัย เสรีภาพในการรวมกลุ่มเจรจาต่อรอง การเลือกปฏิบัติ

               และการใช้สัญญาจ้างที่ไม่เป็นธรรม

                       2.  สิทธิแรงงานข้ามชาติ การละเมิดสิทธิของแรงงานข้ามชาติแบ่งได้เป็น 3 รูปแบบ คือ สิทธิแรงงาน

               ทั่วไป (ค่าจ้าง ชั่วโมงการท างาน วันหยุด) การยึดเอกสารเดินทางของลูกจ้าง และการท าร้ายร่างกายและการ
               ละเมิดทางเพศ นอกจากนี้ยังมีประเด็นความแตกต่างทางวัฒนธรรมของลูกจ้างอีกด้วย


                       3.  สิทธิสิ่งแวดล้อมและชุมชน ซึ่งการด าเนินงานที่กระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชน

               ส่วนมากจะเกิดขึ้นในการด าเนินโครงการขนาดใหญ่

                       และเมื่อพิจารณาการละเมิดสิทธิมนุษยชนจากกรณีศึกษาอุตสาหกรรมอาหารทะเลและอุตสาหกรรม

               เหมืองแร่ในประเทศไทย พบว่า สภาพปัญหาของการปฏิบัติตามมาตรฐานสากลส่วนมากเกิดจากข้อจ ากัดของ
               มาตรฐานการด าเนินงานที่มักจะอยู่ในลักษณะรูปแบบสมัครใจ ที่ภาคธุรกิจสามารถเลือกได้เองว่าจะรายงาน

               ประเด็นใด รวมทั้งเลือกรับเอามาตรฐานใดมาปรับใช้ ซึ่งส่วนมากภาคธุรกิจมักจะเลือกมาตรฐานที่ตนมองว่า

               สามารถปฏิบัติตามได้อยู่แล้ว

                       ในส่วนสุดท้าย ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายที่ได้จากรายงานฉบับนี้  พบว่า ในปัจจุบันการคุ้มครอง

               สิทธิมนุษยชนถือเป็นส่วนส าคัญของมาตรฐานสากลต่างๆ ที่ส่งเสริมเรื่องความรับผิดชอบของธุรกิจต่อสังคม
               (CSR) และภาคธุรกิจของไทยให้ความสนใจที่จะเข้าร่วมอย่างต่อเนื่อง มาตรฐานสากลต่างๆ ที่กล่าวมาข้างต้นมี

               ความครอบคลุมและเพียงพอแล้ว กสม. ไม่จ าเป็นต้องพัฒนามาตรฐานใหม่ๆ แต่ กสม. ควรพิจารณาริเริ่มการ

               จัดท าคู่มือตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน (Human Rights Due Diligence) เพื่อเป็นเครื่องมือที่
               สนับสนุนการปฏิบัติงานตามมาตรฐานต่างๆ ของภาคธุรกิจให้สามารถวัดผลได้อย่างแท้จริง และภายหลังจาก

               การจัดท าคู่มือแล้ว กสม. ควรร่วมกับหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับภาคธุรกิจในการเผยแพร่คู่มือและสร้าง

               แรงจูงใจให้ภาคเอกชนน าคู่มือดังกล่าวไปปฏิบัติ อาทิ

                       1.   ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย:  ก ากับดูแลบริษัทจดทะเบียน ส่งเสริมการเปิดเผยข้อมูลตาม

                          เกณฑ์ Global Reporting Initiative (GRI)
                       2.   ส านักงานคณะกรรมการก ากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.):  ก ากับดูแลบริษัทจด

                          ทะเบียน

                       3.   ส านักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI): ก ากับเงื่อนไขการลงทุนของบริษัทข้ามชาติ






                                                           2-14
   33   34   35   36   37   38   39   40   41   42   43