Page 267 - รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาวิจัยแผนกลยุทธ์ด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2562
P. 267
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
แผนกลยุทธ์ด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2562
ภาคีเพื่อสนับสนุนการด าเนินการทางด้านสิทธิมนุษยชน ซึ่งหมายรวมถึง การขยายความร่วมมือกับ กสม. ไปยัง
ภาคส่วนต่างๆ และการเปิดช่องทางให้ภาคส่วนต่างๆ สามารถเข้าถึง กสม. ได้สะดวกมากยิ่งขึ้น รวมทั้งมีการสร้าง
ความสัมพันธ์ผ่านการปฏิสัมพันธ์กันอย่างต่อเนื่อง
แผนปลูกฝังจะมีกลยุทธ์ที่เกี่ยวข้องทั้งสิ้น 13 กลยุทธ์ ดังนี้
กลยุทธ์ที่ 1: การให้ค าปรึกษาในการจัดท าแผน NAP
กลยุทธ์ที่ 2: การประมวลข้อสรุปจากเรื่องร้องเรียนออกมาเป็นข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย
กลยุทธ์ที่ 4: การสนับสนุนเชิงเทคนิคและการแลกเปลี่ยนข้อมูลกับหน่วยงานภาครัฐ (เช่น การให้
ความรู้ในกระบวนการเยียวยาของศาลและภาครัฐอื่นๆที่เกี่ยวข้อง การผลักดันแก้ไขปัญหา
ข้ามพรมแดน และการผลักดันเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาเพิ่มเติม)
กลยุทธ์ที่ 5: การสนับสนุนการเชื่อมโยงแผนต่างๆของประเทศให้มีประเด็นสิทธิมนุษยชนให้เด่นชัดมาก
ขึ้น
กลยุทธ์ที่ 7: การสนับสนุนการสร้างความตระหนักรู้ด้านสิทธิมนุษยชนกับการประกอบธุรกิจ (CSR เป็น
จุดเริ่มที่ดีแต่ยังไม่เพียงพอ) รวมไปถึงความส าคัญของการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานการ
ผลิตที่เคารพสิทธิมนุษยชน
กลยุทธ์ที่ 8: การผลักดันการเผยแพร่คู่มือ HRDD ในภาคปฏิบัติ
กลยุทธ์ที่ 9: การให้ค าแนะน าทางเทคนิคว่าด้วยการจัดท ารายงานประจ าปี รวมทั้งการส่งเสริมให้บริษัท
จัดตั้งกลไกในการขับเคลื่อนภายในองค์กรเพื่อด าเนินงานตามนโยบายของบริษัท เช่น การ
จัดตั้งคณะกรรมการสนับสนุนมาตรฐานแรงงาน ทั้งนี้ การประกอบธุรกิจที่ได้มาตรฐานจะ
สะท้อน KPI ของบริษัท และภาพลักษณ์ของประเทศ
กลยุทธ์ที่ 10: การจัดท าฐานข้อมูลการละเมิดสิทธิมนุษยชนโดยภาคเอกชน เพื่อน าไปสู่การถอดบทเรียน
ว่าประเด็นร่วม (common issue) ของธุรกิจแต่ละสาขา และจัดท าข้อเสนอแนะกับ
ภาคเอกชนถึงแนวทางการปฏิบัติที่ดี
กลยุทธ์ที่ 13: การร่วมมือกับองค์กร หรือสถาบันตรวจสอบที่ได้รับการยอมรับในสังคมเพื่อสนับสนุน
กลไกเกี่ยวกับปัญหาการประกอบธุรกิจและสิทธิมนุษยชน รวมถึงการให้แรงจูงใจที่
เหมาะสม
กลยุทธ์ที่ 14: การสร้างความตระหนักรู้แก่กลุ่มที่เสี่ยงต่อการถูกละเมิด และสาธารณชนทั่วไป
กลยุทธ์ที่ 15: การถอดบทเรียนและจัดท ากรณีศึกษาเพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนสามารถเข้าถึง
ข้อเท็จจริง
กลยุทธ์ที่ 17: การขยายช่องทางการติดต่อเพื่อให้เกิดการเข้าถึง กสม. ได้สะดวกมากขึ้น
กลยุทธ์ที่ 18: การพัฒนาความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายทั้งในและต่างประเทศ เพื่อแก้ไขปัญหาด้วยความ
เป็นกลาง มุ่งเสนอจุดยืนบนพื้นฐานของสิทธิมนุษยชนอย่างเคร่งครัด ซึ่งแบ่งได้ดังนี้
ก. กสม. ควรปลูกฝังให้ความรู้กับผู้น าชุมชน ภาคประชาสังคม องค์กรพัฒนาเอกชน และ
การร่วมเสริมสร้างศักยภาพกระบวนการตรวจสอบการละเมิดสิทธิให้กับภาคีเครือข่าย
5-40