Page 268 - รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาวิจัยแผนกลยุทธ์ด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2562
P. 268
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
แผนกลยุทธ์ด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2562
ข. กสม. ควรพัฒนาเครื่องมือในการสื่อสารความรู้และร่วมมือกับสื่อในการให้ความรู้
ทางด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชน รวมทั้ง สนับสนุนบทบาทของสื่อในการตรวจสอบ
เชิงลึก
ค. กสม. ควรสนับสนุนในด้านฐานข้อมูลเพื่อน าไปสู่การท าวิจัยและพัฒนาร่วมกับภาค
วิชาการ (เช่น การแปลคู่มือมาตรฐานต่างๆ การวิเคราะห์วิจัยเชิงลึก)
ง. กสม. ควรร่วมแลกเปลี่ยนข้อมูล ความรู้ มาตรฐานสากล บทเรียน แนวทางการปฏิบัติ
ที่ดี รวมไปถึงการท าวิจัยและพัฒนาในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงานต่างประเทศ
แผนคุ้มครองและเยียวยา
แผนคุ้มครองและเยียวยามีวัตถุประสงค์หลักที่ส าคัญอยู่ 2 ประการ คือ หนึ่ง การพัฒนาระบบคุ้มครองมิ
ให้เกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชน ท าให้ปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจบรรเทาลง และ สอง การ
พัฒนาระบบเยียวยาเพื่อช่วยเหลือให้ผู้ที่ถูกละเมิดได้รับความเป็นธรรม และเพิ่มช่องทางและโอกาสในการแก้ไข
ปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ภายใต้เงื่อนไขที่การละเมิดสิทธิมนุษยชนเป็นเหตุ
สุดวิสัยมากกว่าจะมาจากเจตนาเพื่อหาผลประโยชน์ของภาคธุรกิจ การพัฒนาระบบคุ้มครองให้เกิดประสิทธิภาพ
มากยิ่งขึ้น จะต้องอาศัยการด าเนินการที่ส าคัญ 4 ประการ คือ 1. การเปิดให้ภาคส่วนต่างๆ สามารถเข้าถึง กสม.
ได้ง่ายมากยิ่งขึ้น 2. การเฝ้าระวังประเด็นที่ส าคัญที่คาดว่าจะมีการละเมิดสิทธิมนุษยชน 3. การถอดบทเรียนเพื่อ
สนับสนุนให้ธุรกิจสามารถวางแผนการด าเนินธุรกิจที่เคารพต่อสิทธิมนุษยชนได้ดียิ่งขึ้น และ 4. การสนับสนุนกลไก
การคุ้มครองสิทธิมนุษยชน ในส่วนของการพัฒนากลไกการเยียวยา การด าเนินการที่ส าคัญจะประกอบไปด้วย การ
ขยายช่องทางเพื่อสนับสนุนการเข้าถึง กสม. ให้กับผู้ร้องทุกข์ การสนับสนุนกลไกการเยียวยาสิทธิที่ใช้กันอยู่ใน
ปัจจุบัน และการผลักดันกลไกการไกล่เกลี่ยนอกศาลเพื่อเป็นเครื่องมือหนึ่งในการแก้ไขข้อพิพาท
แผนคุ้มครองและเยียวยาจะมีกลยุทธ์ที่เกี่ยวข้องทั้งสิ้น 8 กลยุทธ์ ดังนี้
กลยุทธ์ที่ 2: การประมวลข้อสรุปจากเรื่องร้องเรียนออกมาเป็นข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย
กลยุทธ์ที่ 3: การตรวจสอบประเด็นปัญหาสิทธิมนุษยชนเฉพาะเรื่องจากภาครัฐหรือรัฐวิสาหกิจ (เช่น
โครงการขนาดใหญ่ แย่งชิงฐานทรัพยากร การท าลายสิ่งแวดล้อม) การตรวจสอบผลการ
ด าเนินงานของภาครัฐ (เช่น ภาครัฐมีกลไกการคุ้มครองและเยียวยาในทางปฏิบัติเป็น
อย่างไร) และกลไกการตรวจสอบของภาครัฐ
กลยุทธ์ที่ 6: การให้ข้อเสนอเชิงนโยบาย หรือปรับปรุงกฎหมาย กฎระเบียบในการคุ้มครองสิทธิ
มนุษยชนสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวข้องกับภาคธุรกิจ (เช่น การให้มีกฎหมาย Anti SLAPP การ
ให้มีการคุ้มครองผู้พิทักษ์สิทธิมนุษยชนหรือผู้ให้ข้อมูล (whistle blower) และการ
สนับสนุนให้ท า RIA)
กลยุทธ์ที่ 10: การจัดท าฐานข้อมูลการละเมิดสิทธิมนุษยชนโดยภาคเอกชน เพื่อน าไปสู่การถอดบทเรียน
ว่าประเด็นร่วม (common issue) ของธุรกิจแต่ละสาขา และจัดท าข้อเสนอแนะกับ
ภาคเอกชนถึงแนวทางการปฏิบัติที่ดี
5-41