Page 262 - รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาวิจัยแผนกลยุทธ์ด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2562
P. 262

รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
               แผนกลยุทธ์ด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2562


                       4.2   กลุ่มสื่อ

                       กลุ่มสื่อ ท าหน้าที่เป็นสื่อกลางในการให้ความรู้กับกลุ่มอื่นๆ โดยสื่อสามารถท าหน้าที่ให้ข้อมูลที่เป็นกลาง
               กับประชาชน กระตุ้นเตือนให้ภาคธุรกิจทราบถึงประเด็นปัญหา รวมทั้งสามารถตั้งค าถามให้กับภาครัฐเพื่อให้เข้าใจ
               ถึงประเด็นปัญหาและทิศทางของภาครัฐที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ บทบาทของสื่อในสมัยใหม่จะท าหน้าที่เป็น

               หนึ่งในผู้ตรวจสอบประเด็นปัญหา โดยอาจจะท าหน้าที่ตรวจสอบประเด็นปัญหาที่ได้รับการร้องเรียน หรือในบาง
               กรณีอาจจะเป็นผู้ที่เข้าไปค้นพบประเด็นปัญหาใหม่ๆ ก็เป็นได้

                       4.3   ภาควิชาการ

                       ภาควิชาการท าหน้าที่ในการรวบรวมข้อมูลและศึกษาวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ หรือตรวจสอบประเมิน
               ข้อขัดแย้งโดยอาศัยหลักวิชาการเป็นส าคัญ ภาควิชาการมีจุดแข็งอยู่ที่ความเป็นอิสระทางวิชาการที่ไม่ขึ้นกับกลุ่ม
               ใดๆ ซึ่งจะช่วยลดข้อขัดแย้งที่เกิดขึ้นได้ดีในระดับหนึ่ง

                       4.4   หน่วยงานระหว่างประเทศ


                       หน่วยงานระหว่างประเทศ มีบทบาทที่ส าคัญ คือการพัฒนามาตรฐานใหม่ๆ ที่เป็นหลักสากลเพื่อตอบรับ
               ต่อสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นอันเนื่องมาจากพลวัตการด าเนินธุรกิจที่มีความหลากหลายและมี
               ความซับซ้อนมากขึ้นอยู่เสมอ บทบาทอีกประการหนึ่งที่ส าคัญของหน่วยงานระหว่างประเทศ คือการสร้างความ
               ร่วมมือเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูล บทเรียน กรณีศึกษาทั้งที่ประสบความส าเร็จและไม่ประสบความส าเร็จ นอกจากนี้
               หน่วยงานต่างประเทศยังสามารถท าหน้าที่ให้การสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาเพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ๆ ในการ

               ตอบโจทย์ปัญหาด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชน

                       5.  คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติและส านักงานฯ (กสม.)


                       ในส่วนของ กสม. บทบาทที่ส าคัญของ กสม. สามารถจ าแนกออกได้เป็น 3 บทบาทหลักที่ส าคัญ ได้แก่
               1. บทบาทการปลูกฝัง ซึ่งหมายถึง การสนับสนุนการสร้างความรู้ความเข้าใจ การแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกลุ่ม

               โครงสร้างข้างต้น เพื่อพัฒนาสภาพแวดล้อมให้มีความเข้มแข็งมากยิ่งขึ้น 2. บทบาทการคุ้มครองและเยียวยา
               ครอบคลุมการเป็นหน่วยงานที่รับเรื่องร้องเรียน การตรวจสอบและให้ข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุงแก้ไข ไปจนถึงการ
               สนับสนุนกลไกการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน ทั้งการคุ้มครองผู้ที่ให้เบาะแส ไปจนถึงการช่วยเหลือผู้ที่ถูกละเมิดให้

               เข้าถึงกระบวนการยุติธรรม 3. บทบาทในการพัฒนาองค์กร คือ การพัฒนาศักยภาพขององค์กรให้เป็นองค์กร
               เรียนรู้ที่มีบุคลากรที่เพียงพอ มีศักยภาพ มิทิศทางการด าเนินงานที่ชัดเจน และมีภาพลักษณ์ที่เป็นกลาง มุ่งเสนอ
               จุดยืนบนพื้นฐานของสิทธิมนุษยชนอย่างเคร่งครัด














                                                             5-35
   257   258   259   260   261   262   263   264   265   266   267