Page 266 - รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาวิจัยแผนกลยุทธ์ด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2562
P. 266
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
แผนกลยุทธ์ด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2562
กลยุทธ์ที่ 21: การเพิ่มกลุ่มงานด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนโดยมีเจ้าหน้าที่ที่มีความเชี่ยวชาญและ
ประสบการณ์ในด้านสิทธิมนุษยชนและการประกอบธุรกิจซึ่งมาจากหลากหลายสาขา
เนื่องจากประเด็นสิทธิมนุษยชนเกี่ยวข้องกับมิติที่หลากหลาย
กลยุทธ์ที่ 22: การจัดท าคู่มือด้านสิทธิมนุษยชนและการประกอบธุรกิจให้กับเจ้าหน้าที่
กลยุทธ์ที่ 23: พัฒนาโครงสร้างการบริหารจัดการบุคลากรขององค์กรให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
กลยุทธ์ที่ 24: กสม. ควรจะส่งเสริมให้มีคลังข้อมูลที่รวบรวมหลักปฏิบัติที่เป็นเลิศ โดยมีทั้งข้อมูลเชิง
นโยบาย กฏหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องกับสิทธิมนุษยชน กรณีศึกษาของบริษัทต่างๆ
การด าเนินการตามนโยบาย การสื่อสารกับสาธารณะ การบริหารความสัมพันธ์ภายในห่วง
โซ่อุปทานการผลิต การจ าแนกและประเมินความเสี่ยงด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชน การ
จัดท า auditing system และการออกรายงานประจ าปี นอกจากนี้ กสม. ควรที่จะส่งเสริม
ให้ภาคเอกชนจัดท า KPI ของตนเองขึ้น
กลยุทธ์ที่ 25: การพัฒนากลไกการบริหารที่ต้องมีการติดตาม การประสานงานกับผู้ร้องเรียนถึง
สถานะการด าเนินการการตรวจสอบเรื่องร้องเรียนอย่างเหมาะสม และการประเมินผลการ
ปฏิบัติตามแผนกลยุทธ์ฯ ทั้งจากภายในและภายนอกเพื่อที่จะเป็นประโยชน์ในการ
ขับเคลื่อนแผนที่เป็นรูปธรรมต่อไป (เช่น การจัดท ารายงานประจ าปีที่มีการสรุปการ
ด าเนินงานในประเด็นของธุรกิจและสิทธิมนุษยชนอย่างชัดเจน)
5.4.2 รูปแบบการด าเนินการของแผนกลยุทธ์ภายใต้ 3 แผนหลัก
บทบาทของ กสม. แบ่งออกเป็น 3 แผนหลัก ได้แก่ แผนปลูกฝัง แผนคุ้มครองและเยียวยา และ
แผนพัฒนาองค์กร ในส่วนนี้จะเป็นการจัดกลุ่มแผนกลยุทธ์ให้สอดคล้องกับรูปแบบการด าเนินการ 3 แผนหลัก ซึ่ง
มีรายละเอียดดังนี้
แผนปลูกฝัง
แผนปลูกฝังมีวัตถุประสงค์หลักในการให้ข้อมูลองค์ความรู้ ค าปรึกษา รวมทั้งแลกเปลี่ยนข้อมูลกับภาค
ส่วนต่างๆ เพื่อ 1) สร้างความตระหนักรู้ให้กับกลุ่มที่เสี่ยงจะถูกละเมิดและประชาชนทั่วไป 2) สร้างความใส่ใจต่อ
ประเด็นด้านสิทธิมนุษยชน รวมทั้งสนับสนุนแนวทางการปฏิบัติที่ดีให้กับภาคธุรกิจ 3) เสริมสร้างศักยภาพให้กับ
ผู้น าชุมชน ภาคประชาสังคม องค์กรพัฒนาเอกชน 4) สนับสนุนการท าวิจัยและพัฒนา และการถอดบทเรียน องค์
ความรู้ มาตรฐานสากล แนวทางการปฏิบัติที่ดี ร่วมกับภาควิชาการและหน่วยงานต่างประเทศ 5) สนับสนุนการ
ท างานของภาครัฐ ตั้งแต่การวางนโยบาย การพัฒนาระบบคุ้มครองสิทธิ ไปจนถึงการหนุนเสริมกระบวนการ
เยียวยาในระบบยุติธรรม ทั้งนี้ เพื่อที่จะตอบสนองต่อวัตถุประสงค์หลักดังกล่าว แผนปลูกฝังจะต้องประกอบไป
ด้วยวัตถุประสงค์ย่อยที่ส าคัญ 3 ส่วน ได้แก่ หนึ่ง การพัฒนาฐานข้อมูลเพื่อสนับสนุนการสังเคราะห์บทเรียนเพื่อให้
ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย และให้บทเรียนในเรื่องแนวทางการปฏิบัติที่ดี หรือแนวทางที่ไม่ควรปฏิบัติให้กับภาค
ธุรกิจและประชาชนทั่วไป สอง การสร้างองค์ความรู้ใหม่ซึ่งมีเนื้อหาที่ตอบโจทย์การพัฒนากลไกการป้องกัน เคารพ
และเยียวยาเพื่อดูแลจัดการปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนโดยภาคธุรกิจ และ สาม การสนับสนุนการเชื่อมโยงกับ
5-39