Page 236 - รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาวิจัยแผนกลยุทธ์ด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2562
P. 236

รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
               แผนกลยุทธ์ด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2562


                       ผลกระทบของการเข้าสู่สังคมสูงวัยจะเกิดขึ้นในหลายนัยยะต่อประเด็นทางด้านสิทธิมนุษยชน โดยใน
               นัยยะที่หนึ่ง จะท าให้เกิดปัญหาแรงงานขาดแคลน โดยเฉพาะอย่างยิ่งแรงงานที่มีก าลังวังชา (ในบางสาขา เช่น
               ภาคก่อสร้าง) และแรงงานที่มีทักษะ (ในบางสาขา เช่น สาขาการแพทย์) ซึ่งอาจจะกระทบสิทธิแรงงานที่ต้อง

               ท างานมากขึ้นกว่าเดิม (ทั้งการขยายอายุเวลาเกษียณ และการท างานล่วงเวลา) นัยยะที่สอง เป็นผลที่ตามมา
               จากแรงงานขาดแคลน จะท าให้เกิดการน าเข้าแรงงานต่างด้าวมากขึ้น เพื่อทดแทนแรงงานในประเทศที่มี
               จ านวนลดลง การดูแลจัดการสิทธิแรงงานส าหรับคนต่างด้าวจึงจะมีบทบาทที่ส าคัญมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่าง
               ยิ่ง เมื่อมีความต้องการแรงงานเพิ่มมากขึ้น ในขณะที่กฎระเบียบภาครัฐยังมีพัฒนาการที่ตามไม่ทัน จนท าให้

               เกิดปัญหาการค้ามนุษย์ขึ้น นัยยะที่สามจะเป็นผลกระทบของการมีจ านวนผู้สูงอายุที่มากขึ้น ที่น าไปสู่ความ
               ต้องการการบริการทางการแพทย์ที่มากยิ่งขึ้น ในประเด็นนี้พบว่า ภาคธุรกิจในต่างประเทศที่ได้เข้าสู่สังคมสูง
               วัยก่อนหน้าประเทศไทย มักจะมีพฤติกรรมที่เอารัดเอาเปรียบผู้บริโภค อาทิ เช่น การผูกขาดยา หรือเวชภัณฑ์

               ที่จ าเป็น การร่วมมือกันผูกขาดบริการทางการแพทย์ท าให้ต้นทุนการใช้บริการภาครัฐเพิ่มสูงขึ้น การตรวจตรา
               เพื่อให้กลไกการป้องกันการผูกขาดจึงเป็นประเด็นที่ส าคัญที่ควรจะค านึงถึงเพื่อให้ผู้สูงอายุได้เข้าถึงการรักษา
               ทางการแพทย์ในราคาที่เป็นธรรม

                       บทบาทของ กสม. ในการตอบสนองต่อสถานการณ์ข้างต้น สามารถจ าแนกออกได้เป็น 3 บทบาท คือ
               หนึ่ง การให้ค าแนะน าแก่ภาครัฐในการออกแบบนโยบายที่เกี่ยวข้องให้มีความเหมาะสมและเคารพในสิทธิที่

               ประชาชนพึงได้รับ เช่น ประเด็นอายุการท างาน หลักประกันสุขภาพ สอง กสม. ควรที่จะมีส่วนร่วมในการ
               ตรวจสอบการด าเนินงานของภาครัฐ และควรที่จะพิจารณาให้ความสนใจกับปัญหาโดยเฉพาะเรื่องแรงงานต่าง
               ด้าวเป็นพิเศษ สาม กสม. ควรที่จะสร้างความตระหนักรู้ให้กับกลุ่มที่เสี่ยงต่อการถูกละเมิด และควรที่จะให้การ
               สนับสนุนภาครัฐในการดูแลจัดการปัญหาที่เกี่ยวข้อง

                       2.   การผลักดันวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน ค.ศ. 2030  เป็นหนึ่งในทิศทางหลักในการพัฒนาทางด้าน

               สังคมและสิ่งแวดล้อมของโลกหลัง ค.ศ. 2015       โดยเป้าหมายของการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable
               Development Goals: SDGs) จะประกอบไปด้วย 17 เป้าหมายและ 169 เป้าประสงค์

                       ส าหรับประเทศไทย ภาครัฐมีความมุ่งหมายที่จะต้องด าเนินการตามเป้าหมายดังกล่าว ท าให้ภาครัฐ
               ต้องหันมาให้ความส าคัญกับการผลักดันการพัฒนาอย่างยั่งยืนให้เกิดขึ้นอย่างจริงจังมากขึ้น ซึ่งจะส่งผลท าให้
               การคุ้มครองสิทธิมนุษยชนได้รับการส่งเสริมมากยิ่งขึ้นตามไปด้วย นอกจากนี้ การด าเนินการของภาครัฐยังมี

               แนวโน้มที่จะต้องอาศัยการผลักดันการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเด็นทางด้านสิทธิ
               ชุมชน ซึ่งเป็นอีกหนึ่งปัจจัยด้านบวกต่อการดูแลจัดการปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนโดยภาคธุรกิจ และโดย
               ภาครัฐเอง (ทั้งภาครัฐและรัฐวิสาหกิจ)

                       ในขณะเดียวกัน กลุ่มธุรกิจเองก็มีความตื่นตัวที่จะให้ความส าคัญกับประเด็นทางด้านสังคมมากยิ่งขึ้น
               ไม่ว่าจะเป็นไปเพื่อรักษาภาพลักษณ์ให้กับผู้บริโภคที่ให้ความส าคัญกับประเด็นทางด้านสิทธิมนุษยชน  หรือ

               เกิดจากความใส่ใจของภาคธุรกิจเอง เพื่อให้เกิดความยั่งยืนในการด าเนินธุรกิจ ซึ่งจะมีผลท าให้การผลักดัน
               ความร่วมมือกับภาคธุรกิจจะมีความเป็นไปได้มากยิ่งขึ้น

                       บทบาทที่จ าเป็นของ กสม. เพื่อตอบสนองต่อปัจจัยเอื้อจากภายนอกนี้ ได้แก่ การสนับสนุนการบูรณา
               การเชื่อมโยงแผนต่างๆ ของประเทศให้มีประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนที่ชัดเจนและครอบคลุมมากยิ่งขึ้น รวมทั้ง

               กสม. ควรท าหน้าที่ในการให้ความร่วมมือ สนับสนุนการด าเนินงานของภาครัฐที่เกี่ยวข้อง และควรท าหน้าที่ใน
               การประเมินผลการด าเนินการของภาครัฐให้มีความเหมาะสมตามทิศทางที่ควรจะเป็นอีกด้วย นอกจากนี้ กสม.



                                                           5-14
   231   232   233   234   235   236   237   238   239   240   241