Page 238 - รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาวิจัยแผนกลยุทธ์ด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2562
P. 238

รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
               แผนกลยุทธ์ด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2562


                       2.   การจัดสรรทรัพยากรธรรมชาติยังไม่เป็นธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การจัดสรร
               ทรัพยากรธรรมชาติเพื่อการด ารงชีวิต การประกอบอาชีพ (ดิน ป่าไม้ น้ า ทรัพยากรชายฝั่งทะเล และแร่) ซึ่ง
               เกิดขึ้นจากความไม่เสมอภาคในสิทธิและอ านาจการจัดการทรัพยากร จึงน าไปสู่ข้อพิพาทในระดับพื้นที่ระหว่าง

               ภาครัฐ เอกชนและชุมชน โดยในบางกรณีได้น าไปสู่การใช้ความรุนแรงในการจัดการปัญหา

                       การดูแลจัดการในประเด็นข้อพิพาทด้านสิ่งแวดล้อม ต้องอาศัยบทบาทของ กสม. ที่ส าคัญ 4 ด้าน
               ได้แก่ หนึ่ง การให้ข้อมูลกับภาครัฐถึงประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้นในมุมมองของผู้ร้องเรียน สอง การตรวจสอบและ
               เฝ้าระวังปัญหาเฉพาะเรื่องที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม เช่น โครงการขนาดใหญ่ การแย่งชิงทรัพยากร การ
               ท าลายสิ่งแวดล้อม สาม การให้ความรู้ถึงแนวทางการปฏิบัติที่ดี เช่น ข้อร้องเรียนที่เกิดขึ้นเป็นประจ าในส่วน

               ของการท า EIA และ EHIA เพื่อเป็นแนวทางให้ภาคเอกชนเตรียมด าเนินการอย่างเหมาะสม และ สี่ กสม. ควร
               ที่จะให้ข้อเสนอเชิงนโยบาย หรือปรับปรุงกฎหมาย กฎระเบียบในการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนสิทธิมนุษยชนที่
               เกี่ยวข้องกับภาคธุรกิจ (เช่น การให้มีกฎหมาย Anti SLAPP การให้มีการคุ้มครองผู้พิทักษ์สิทธิมนุษยชนหรือ
               ผู้ให้ข้อมูล (whistle blower) และการสนับสนุนให้ท า RIA)


                       มิติทางด้านธรรมาภิบาล
                       1.   ประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่มีปัญหาความอ่อนแอทางด้านธรรมาภิบาล โดยผลการ

               ประเมินดัชนีภาพลักษณ์คอร์รัปชั่น (Corruption Perception Index: CPI) ได้คะแนนอยู่ที่ร้อยละ 38 (เต็ม
               100) และถูกจัดอยู่ในอันดับที่ 76 จากอันดับทั้งหมด 168 ประเทศทั่วโลก

                       ปัญหาด้านธรรมาภิบาลส่งผลต่อปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนใน 3 ระดับ โดยในระดับแรกจะเป็น
               ปัญหาประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการจัดการปัญหา ซึ่งการขาดธรรมาภิบาลสะท้อนถึงปัญหาการขาดการ
               บูรณาการของภาครัฐ ภาคเอกชนและภาคประชาชนเพื่อแก้ไขปัญหา ในระดับที่สอง จะเป็นปัญหากลไกการ

               ตรวจสอบภายในของภาครัฐ ที่อยู่ภายใต้ระบบอุปถัมภ์ และถูกแทรกแซงได้โดยผู้มีอิทธิพล หรือกลุ่มธุรกิจ การ
               ขาดกลไกการตรวจสอบการด าเนินงานที่เข้มแข็ง ท าให้การด าเนินงานของภาครัฐในขั้นตอนแรกขาดแรง
               กระตุ้นในการพัฒนาประสิทธิภาพการด าเนินงาน ในระดับที่สาม เจ้าหน้าที่ภาครัฐบางส่วน เข้ามามีส่วนร่วมรู้

               เห็นในการกระท าความผิด เรียกได้ว่า เป็นหนึ่งในต้นตอของปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนเสียเอง ปัญหาทั้ง
               สามระดับจึงท าให้การดูแลการจัดการปัญหาด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนโดยภาครัฐยังมีช่องว่างในการพัฒนา
               อีกมาก

                       การต่อสู้กับปัญหาธรรมาภิบาล ต้องอาศัยบทบาทของ กสม. ที่ส าคัญ คือ หนึ่ง การตรวจสอบผลการ
               ด าเนินงานของภาครัฐว่าเป็นไปตามหลักการแห่งสหประชาชาติด้านธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน : การปฏิบัติตาม

               กรอบการคุ้มครอง เคารพ เยียวยา (Guiding  Principles  on  Business  and  Human  Rights  :
               Implementing the United Nations ‘Protect, Respect and Remedy' Framework – UNGP) หรือไม่
               อย่างไร สอง การตรวจสอบกลไกการตรวจสอบของภาครัฐ (Check  and  Balances)  ว่ามีการด าเนินการที่
               เข้มข้น ไม่ล าเอียงและด าเนินการในลักษณะที่ควรจะเป็นหรือไม่ และสาม กสม. ควรที่จะสนับสนุนการสร้าง

               ภาคีเชิงบวก ที่หนุนเสริมพลังการต่อต้านการละเมิดสิทธิมนุษยชน เพื่อลดทอนปัญหาของระบบอุปภัมถ์และ
               การแทรกแซงของผู้มีอิทธิพล










                                                           5-16
   233   234   235   236   237   238   239   240   241   242   243