Page 237 - รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาวิจัยแผนกลยุทธ์ด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2562
P. 237

รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
               แผนกลยุทธ์ด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2562


               ค                                            ว                                            ร
               ฉกฉวยโอกาสที่ธุรกิจให้การตื่นตัวกับประเด็นด้านสิทธิมนุษยชน โดยการสนับสนุนการสร้างเสริมความ
               ตระหนักรู้ และการสร้างความร่วมมือกับภาคเอกชนเพื่อเป็นเกราะในการป้องกันการสร้างปัญหา

                       3.   ปัญหาการก่อการร้ายและอาชญากรรมข้ามชาติ มีแนวโน้มขยายตัวและควบคุมได้ยาก มีการ

               เชื่อมโยงในภูมิภาคและพัฒนาการสื่อสารด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย โดยมีรูปแบบและวิธีการที่ซับซ้อนมากขึ้น
               โดยประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่ตกเป็นเป้าหมายของกลุ่มอาชญากร ที่เข้ามาอาศัยช่องว่างทางด้าน
               กฎหมายในการสร้างอิทธิพล และแทรกซึมอยู่ในระบบตลาด ก่อให้เกิดผลกระทบในแง่ลบต่อธุรกิจท้องถิ่น ใน
               ขณะเดียวกัน กลุ่มอาชญากรก็ได้มีการค้ามนุษย์ โดยลักลอบน าแรงงานเข้าเมือง มีการใช้แรงงานเด็ก การค้า

               ประเวณี โดยประเทศไทยถูกจัดให้เป็นทั้งประเทศต้นทาง ประเทศทางผ่านและประเทศปลายทางของขบวน
               การค้ามนุษย์ และถูกจัดอันดับให้อยู่ในอันดับขั้น Tier 2 Watch List จากกระทรวงต่างประเทศของสหรัฐฯ
               (ซึ่งหากตกอยู่ในอันดับขั้น Tier 3 จะมีสิทธิที่จะถูกมาตรการกีดกันทางการค้าได้)

                       กสม. ควรที่จะให้การสนับสนุนการด าเนินการภาครัฐในการจัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้นในลักษณะของ

               อาชญากรรมข้ามชาติ โดยส่วนหนึ่งสามารถกระท าได้ผ่านการสนับสนุนความร่วมมือ การแลกเปลี่ยนความรู้
               มาตรฐานสากล รวมไปถึงการท าวิจัยร่วมกับภาคส่วนต่างประเทศ และควรที่จะสนับสนุนการเจรจาระหว่างรัฐ
               ในการจัดการปัญหา

                       4.   บทบาทของพลเมือง ชุมชน ภาคประชาสังคม สื่อ เข้ามามีบทบาทมากยิ่งขึ้นในการดูแล
               ตรวจสอบ และจัดการปัญหา ท าให้กระบวนการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนมีความเข้มแข็งมากยิ่งขึ้น และเป็น

               โอกาสที่ภาครัฐจะผลักดันการสร้างภาคีในการดูแลจัดการประเด็นปัญหาด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชน
                       บทบาทสนับสนุนที่ส าคัญของ กสม. จะประกอบไปด้วย การสร้างความร่วมมือกับภาคส่วนต่างๆ

               ข้างต้น โดยการขยายช่องทางการเข้าถึง กสม. ให้เปิดกว้างและมีความสะดวกมากยิ่งขึ้น และควรสนับสนุน
               กลไกการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน เช่น การให้ค าปรึกษากับผู้ร้องทุกข์ การปรับปรุงกลไกการปกป้องผู้พิทักษ์
               สิทธิมนุษยชน รวมไปถึงการสนับสนุนการช่วยเหลือให้เข้าถึงกระบวนการยุติธรรม กระบวนการเยียวยาของ

               ศาล และการพัฒนากลไกการไกล่เกลี่ยนอกศาลในกระบวนการแก้ไขข้อพิพาท

                       5.   ผู้บริโภคให้ความส าคัญกับประเด็นทางด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมมากยิ่งขึ้น โดยผู้บริโภค
               บางส่วนเริ่มให้ความส าคัญกับธุรกิจที่ด าเนินธุรกิจในลักษณะที่เป็นมิตรกับสังคมและสิ่งแวดล้อม ท าให้ภาค
               ธุรกิจต้องหันมาดูแลรักษาภาพลักษณ์ในการด าเนินธุรกิจ ให้มีความเป็นมิตรกับสังคมและสิ่งแวดล้อม

                       กระแสการให้ความส าคัญกับประเด็นทางด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมจะเป็นโอกาสส าคัญที่ กสม. ควร
               ที่จะเร่งปลูกฝัง ให้ความรู้และสร้างความตระหนักรู้ในประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนกับการประกอบธุรกิจให้กับ

               ภาคเอกชน

                       มิติทางด้านสิ่งแวดล้อม

                       1.   ในปัจจุบัน ประเทศไทยมีฐานทรัพยากรธรรมชาติที่เริ่มเสื่อมโทรมลง ในขณะที่ความต้องการ
               ใช้ทรัพยากรมีมากยิ่งขึ้น ท าให้โอกาสที่จะน าไปสู่ความขัดแย้งในการเข้าถึงทรัพยากรมีมากยิ่งขึ้น

                       บทบาทที่ส าคัญของ กสม. คือ การรวบรวมและประมวลผลเรื่องร้องเรียนที่เกี่ยวข้อง และให้การ
               สนับสนุน แลกเปลี่ยนข้อมูลดังกล่าวกับหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องในการดูแลจัดการปัญหา





                                                           5-15
   232   233   234   235   236   237   238   239   240   241   242