Page 235 - รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาวิจัยแผนกลยุทธ์ด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2562
P. 235

รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
               แผนกลยุทธ์ด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2562


               ท างานด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนทั้งในเชิงปริมาณ (จ านวนเจ้าหน้าที่) และในเชิงคุณภาพ (ความหลากหลาย
               ในองค์ความรู้)

                       5. ภาครัฐมีการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ที่มีความจ าเป็นต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจใน
               อนาคต ซึ่งการลงทุนดังกล่าว อาจจะกระทบต่อสิทธิชุมชนได้ เช่น โครงการเศรษฐกิจพิเศษชายแดนที่อาจจะ

               ต้องมีการเวนคืนที่ดินของชุมชน โครงการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินที่อาจจะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในชุมชน
               ละแวกใกล้เคียง หรือ การสร้างโครงสร้างพื้นฐาน อาจจะน าไปสู่การท าลายระบบนิเวศที่ส าคัญ อาทิ เช่น ป่า
               ชายเลน แนวปะการัง แหล่งหญ้าทะเล เป็นต้น

                       กสม. ควรที่จะมีการก าหนดแผนงานตรวจสอบประเด็นปัญหาด้านสิทธิมนุษยชนแบบพุ่งเป้าเฉพาะ
               เรื่อง เช่น โครงการขนาดใหญ่ โดยให้ความสนใจกับประเด็นดังกล่าวเป็นพิเศษ

                       6. ประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่เป็นศูนย์กลางของห่วงโซ่อุปทานของสินค้าและบริการใน

               ระดับโลก โดยธุรกิจของไทยมีทั้งที่เป็นธุรกิจต้นน้ า กลางน้ า ไปจนถึงปลายน้ า ด้วยเหตุนี้เอง ภาครัฐจึงควรที่
               จะให้ความส าคัญในเรื่องของการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนให้ครอบคลุมตลอดทั้งห่วงโซ่อุปทานการผลิต

                       บทบาทสนับสนุนที่ส าคัญของ กสม. ส าหรับสถานการณ์นี้คือ การผลักดันการเผยแพร่คู่มือ HRDD ใน
               ภาคปฏิบัติให้กับภาคเอกชน รวมทั้งการให้ค าแนะน าทางเทคนิคว่าด้วยการจัดท ารายงานประจ าปีในประเด็นที่

               เกี่ยวข้องกับเรื่องสิทธิมนุษยชน
                       7. เศรษฐกิจไทยในปัจจุบันถูกขับเคลื่อนด้วยระบบทุนนิยมโดยให้น้ าหนักกับการผลักดันการ

               ขยายตัวทางเศรษฐกิจเป็นส าคัญ ความมุ่งเน้นดังกล่าวอาจจะส่งผลกระทบต่อความเป็นพหุสังคมของไทย ท า
               ให้เกิดการปะทะกันระหว่างสิทธิทางวัฒนธรรมกับการพัฒนาเศรษฐกิจ

                       กสม. ควรที่จะร่วมมือกับภาควิชาการในการวิเคราะห์วิจัยเชิงลึก เพื่อสร้างองค์ความรู้ด้านสิทธิทาง
               วัฒนธรรมที่จะเป็นปัจจัยสนับสนุนการน าข้อมูลผลวิจัยไปใช้ในการตัดสินปัญหาอย่างเหมาะสมตามหลัก
               วิชาการ


                       8.  ไทยเป็นส่วนหนึ่งของประชาคมอาเซียน จึงเป็นโอกาสที่ดีที่จะแสวงหาความร่วมมือกับประเทศ
               สมาชิกในการดูแลจัดการปัญหาด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชน

                       กสม. ควรที่จะมีบทบาทที่ส าคัญใน 2 ด้าน คือ การเฝ้าระวังประเด็นแบบเฉพาะเรื่องทั้งในส่วนของ
               ธุรกิจอาเซียนที่เข้ามาลงทุนในไทยแล้วมีปัญหาการร้องเรียนในประเด็นละเมิดสิทธิมนุษยชน และธุรกิจไทยที่
               ไปลงทุนในประเทศอาเซียนแล้วมีปัญหาการร้องเรียนในประเด็นละเมิดสิทธิมนุษยชน นอกจากนี้ กสม. ควรที่

               จะมีการประสานงานกับประเทศสมาชิกเพื่อร่วมแลกเปลี่ยนบทเรียนที่ประสบความส าเร็จและล้มเหลวในการ
               ดูแลจัดการปัญหาสิทธิมนุษยชน

                       มิติทางด้านสังคม


                       1.   การเข้าสู่สังคมสูงวัย หมายถึง การที่สังคมจะมีจ านวนผู้สูงอายุที่เพิ่มมากขึ้น ซึ่งส่วนหนึ่งเกิดขึ้น
               จากพัฒนาการทางการแพทย์ที่ท าให้ผู้สูงอายุมีอายุขัยที่ยืนยาวมากยิ่งขึ้น ในขณะที่จ านวนเด็กเกิดใหม่จะมี
               จ านวนที่ลดลง ซึ่งส่งผลท าให้องค์ประกอบของแรงงานมีอายุขัยที่เปลี่ยนแปลงไป








                                                           5-13
   230   231   232   233   234   235   236   237   238   239   240