Page 239 - รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาวิจัยแผนกลยุทธ์ด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2562
P. 239
รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report)
แผนกลยุทธ์ด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2562
2. รัฐวิสาหกิจยังขาดการก ากับดูแลการด าเนินงานที่มีประสิทธิภาพ ท าให้ผลการด าเนินงานด้อย
คุณภาพ และปัญหาด้านสิทธิมนุษยชนอาจจะเป็นประเด็นที่ถูกค านึงถึงน้อยที่สุด (ยกเว้นกรณีที่มีกลุ่มบุคคลที่
ดูแลสิทธิบางประเภท เช่น กลุ่มสหภาพแรงงานที่ดูแลสิทธิแรงงาน)
กสม. ควรที่จะเข้ามาตรวจสอบประเด็นปัญหาร้องเรียนที่มีความเกี่ยวข้องกับรัฐวิสาหกิจโดยตรง โดย
มุ่งเน้นให้เป็นกรณีที่ให้ความใส่ใจเป็นพิเศษ และควรที่จะพิจารณาไม่เพียงแต่การด าเนินการที่เกี่ยวข้อง แต่
ควรที่จะพิจารณาไปถึงกลไกการประเมินตรวจสอบรัฐวิสาหกิจว่ามีความเหมาะสมเพียงพอหรือไม่อีกด้วย
นอกจากนี้ กสม. ควรที่จะด าเนินการจัดท าข้อเสนอแนะให้กับหน่วยงานภาครัฐ ถึงแนวทางในการปฏิบัติที่ดี
หรือข้อควรระวังที่มักจะเกิดขึ้นที่น าไปสู่การละเมิดสิทธิมนุษยชนจากการด าเนินงานของรัฐวิสาหกิจ
3. ปัญหาด้านกฎหมายและกฎระเบียบ กฎหมายหลายฉบับยังไม่ได้มาตรฐานสากล มีปัญหาความ
ล่าช้าในการพิจารณาตรากฎหมายหรือปรับปรุงกฎหมาย และ/หรือ มีปัญหาการขาดการมีส่วนร่วมจากผู้มีส่วน
ได้ส่วนเสีย และ/หรือ ขาดการวิเคราะห์อย่างรอบด้าน และ/หรือ มุ่งที่จะควบคุมมากกว่าที่จะสนับสนุนการ
พัฒนาในระยะยาว ซึ่งทั้งหมดขั้นต้น ท าให้เกิดช่องโหว่ที่ภาคธุรกิจสามารถละเมิดสิทธิของประชาชนได้ จึงควร
ที่จะมีหน่วยงานที่เข้ามาดูแล ตรวจสอบ และให้ข้อเสนอแนะเพื่อให้ภาครัฐปรับปรุงกฎ ระเบียบ และแนวทาง
ปฏิบัติงานที่เป็นไปตามมาตรฐานสากล และสอดคล้องกับพันธกรณีที่ประเทศไทยได้ท าความตกลงเอาไว้กับ
ต่างประเทศ
กสม. ควรที่จะมีการจัดท าประมวลสรุปข้อร้องเรียนออกมาเป็นข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการ
ปรับปรุง เปลี่ยนแปลง หรือเพิ่มเติมกฎหมายที่เกี่ยวข้องและเข้าไปมีส่วนร่วมในกระบวนการจัดท ากฎหมายที่
ส าคัญๆ ของภาครัฐ
4. ปัญหาส าหรับระบบยุติธรรม ระบบยุติธรรมยังขาดประสิทธิภาพ และไม่สามารถอ านวยความ
ยุติธรรมได้อย่างเสมอภาค เป็นธรรม และปราศจากความโปร่งใส ปัญหาในด้านระบบยุติธรรม สามารถเกิดขึ้น
ได้ในหลายลักษณะ เช่น การมีโครงสร้างพื้นฐาน ทั้งกฎระเบียบ กฎหมาย หรือ สิ่งก่อสร้าง เช่น แหล่งพักพิง
ส าหรับเหยื่อผู้ที่ถูกละเมิดสิทธิ หรือ กลไกการช่วยเหลือผู้ถูกละเมิด เช่น ความช่วยเหลือด้านกฎหมาย ล่าม
หรือ เกิดจากการแทรกแซงจากกลุ่มการเมือง กลุ่มผู้มีอิทธิพล กลุ่มผลประโยชน์ ที่ท าให้กลไกความยุติธรรม
ขาดความโปร่งใส หรือการขาดกลไกการดูแลเป็นพิเศษ ส าหรับผู้ที่แจ้งเบาะแส ผู้พิทักษ์สิทธิมนุษยชน หรือ ผู้
ที่ถูกฟ้องเพื่อไม่ให้มีโอกาสเปิดเผยข้อมูล (Strategic lawsuit against public participation: SLAPP)
บทบาทที่ส าคัญของ กสม. ในการลดทอนปัญหาที่เกิดขึ้นจากระบบยุติธรรม จะประกอบไปด้วย การ
ให้การสนับสนุนการคุ้มครองสิทธิกับผู้ที่ถูกละเมิด กลุ่มเสี่ยงและประชาชนทั่วไป (เช่น การให้ค าปรึกษากับผู้
ร้องทุกข์ การให้ข้อมูลกับกลุ่มเสี่ยงที่จะถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนและประชาชนทั่วไป) ในขณะเดียวกัน กสม. ก็
ควรที่จะร่วมกับภาครัฐ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ต ารวจ อัยการและศาล เพื่อให้ความรู้ และแลกเปลี่ยนข้อมูลใน
ส่วนที่เกี่ยวข้องกับสิทธิมนุษยชน
สถานการณ์ที่ส าคัญ และบทบาทของ กสม. ที่ควรจะเป็นสามารถที่จะสรุปความเชื่อมโยงได้ ดัง
แผนภาพด้านล่าง
5-17