Page 59 - รายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี 2558 คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
P. 59
๒) การศึกษาวิจัย เรื่อง “ทางเลือกเชิงนโยบายการแก้ไขปัญหาผู้ลี้ภัยในค่ายพักพิงชั่วคราว”
ผู้ศึกษาวิจัย : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (ดร.มาลี สิทธิเกรียงไกร)
สาระส�าคัญ เป็นการศึกษาการด�าเนินชีวิตของผู้ลี้ภัยภายใต้สถานการณ์เศรษฐกิจ สังคม และ
การเมืองในปัจจุบัน โดยประเมินความต้องการในการเตรียมความพร้อมเพื่อการส่งคืนผู้ลี้ภัยและครอบครัวกลับสู่
ถิ่นฐาน เพื่อวิเคราะห์แนวทางการส่งกลับประเทศต้นทางและทางเลือกอื่น ๆ ของผู้ลี้ภัยโดยสมัครใจ ความมั่นคง และ
ความปลอดภัยในชีวิต ภายใต้บริบทด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง โดยได้คัดเลือกพื้นที่พักพิงชั่วคราว ๓ แห่ง ได้แก่ จังหวัดตาก
(พื้นที่พักพิงชั่วคราวบ้านแม่หละ และบ้านนุโพ) จังหวัดราชบุรี (พื้นที่พักพิงชั่วคราวบ้านถ�้าหิน) และจังหวัดแม่ฮ่องสอน (พื้นที่พักพิงชั่วคราว
บ้านใหม่ในสอย) และเก็บข้อมูลด้วยวิธีการทางมานุษยวิทยา
ผลจากการศึกษาวิจัย พบว่า (๑) สถานการณ์
ชายแดนและค่ายผู้ลี้ภัยการอพยพหนีภัยสงครามของผู้คนจากประเทศ
พม่า/เมียนมาร์ในบริเวณชายแดนไทยจ�านวนมาก ซึ่งรัฐบาลไทย
ได้จัดตั้งพื้นที่พักพิงชั่วคราวขึ้นบริเวณชายแดนหลายจุด โดยปัจจุบัน
เหลือค่ายผู้ลี้ภัย ๙ แห่ง ภายใต้การดูแลของกระทรวงมหาดไทย และ
เนื่องจากประเทศไทยมิได้เข้าเป็นภาคีอนุสัญญาว่าด้วยสถานภาพ
ผู้ลี้ภัย ค.ศ.๑๙๕๑ ประเทศไทยจึงไม่ยอมรับว่ามี “ผู้ลี้ภัย” อยู่ใน
ประเทศตนเอง คนเหล่านี้จึงได้รับการนิยามว่าเป็น “ผู้หนีภัยจาก
การสู้รบ” การให้ความช่วยเหลือดูแลคนเหล่านี้ จึงเป็นไปตามหลัก
มนุษยธรรม นอกจากนี้ ยังมีองค์กรสากล เช่น ส�านักงานข้าหลวงใหญ่
ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (Office of the United
Nations High Commissioner for Human Rights: OHCHR)
เป็นหน่วยงานที่เข้ามาดูแลให้ความช่วยเหลือ รวมทั้งคัดกรอง
ผู้ลี้ภัยจ�านวนหนึ่งให้เดินทางไปประเทศที่สาม (๒) การจ�าแนก
ประชากรในค่ายผู้ลี้ภัย พบปัญหาในการส�ารวจจ�านวนประชากร
เนื่องจากผู้ลี้ภัยเป็นกลุ่มประชากรที่มีความเคลื่อนไหวตลอดเวลา
UNHCR ได้แบ่งผู้ลี้ภัยออกเป็น ๓ กลุ่มคือ ผู้ลี้ภัยจากการสู้รบที่ได้รับ
การขึ้นทะเบียน (Registered) ผู้ลี้ภัยที่ได้รับการขึ้นทะเบียนประเภท
Pre-Screening และผู้ลี้ภัยที่ไม่ได้รับการขึ้นทะเบียนกับ UNHCR ซึ่ง
เป็นกลุ่มที่มาพักอาศัยในค่ายผู้ลี้ภัยในช่วงหลัง พ.ศ. ๒๕๔๘ ซึ่งไม่ใช่
ผู้อพยพเข้ามาในฝั่งประเทศไทยอันเนื่องมาจากการสู้รบโดยตรง
รายงานผลการปฏิบัติงานประจ�าปี ๒๕๕๘ 58 คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ