Page 55 - รายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี 2558 คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
P. 55
๓.๕ การประสานงานเครือข่ายด้านสิทธิมนุษยชน
กสม. ท�าหน้าที่ในการส่งเสริมและประสานความร่วมมือในการท�างานด้านสิทธิมนุษยชนกับหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน
ภาคประชาสังคม องค์กรพัฒนาเอกชน และประชาชนทั่วไป อันจะน�าไปสู่การก�าหนดกลไกการท�างานร่วมกันที่จะท�าให้เกิดการส่งเสริม
และคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในสังคมไทย ในปีงบประมาณ ๒๕๕๘ กสม. ได้ด�าเนินการด้านส่งเสริมและประสานความร่วมมือเครือข่าย
ด้านสิทธิมนุษยชน ดังนี้
๓.๕.๑ ผลการด�าเนินงานการสร้างเครือข่ายด้านสิทธิมนุษยชน
กสม. มีหน้าที่ในการสร้างและพัฒนาความร่วมมือกับเครือข่ายด้านสิทธิมนุษยชนร่วมกับองค์กรและภาคส่วนต่าง ๆ ทั้งภาครัฐ
ภาคเอกชน องค์กรพัฒนาเอกชน และภาคประชาสังคม โดยมุ่งเน้นการประสานการท�างานกับสถาบันอุดมศึกษาเป็นหลัก โดยได้ขยายการท�างาน
ทั้งในระดับนโยบายกับผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษา และขยายเครือข่ายการท�างานด้านสิทธิมนุษยชนไปยังกลุ่มอาจารย์และบุคลากรด้านการศึกษา
ผู้แทนนิสิตและนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาที่ได้จัดท�าบันทึกข้อตกลงความร่วมมือด้านสิทธิมนุษยชน ดังนี้
๑) การท�าบันทึกข้อตกลงความร่วมมือร่วมกับสถาบันอุดมศึกษา
ส�านักงาน กสม. ได้จัดท�าบันทึกข้อตกลงความร่วมมือด้านสิทธิมนุษยชนกับสถาบันการศึกษาในภูมิภาคต่าง ๆ โดยมีวัตถุประสงค์
เพื่อร่วมกันพัฒนาหลักสูตรหรือรายวิชาด้านสิทธิมนุษยชน สร้างความร่วมมือทางวิชาการ จัดกิจกรรมสร้างความตระหนักรู้ด้านสิทธิมนุษยชน
การพัฒนาศักยภาพด้านสิทธิมนุษยชนให้แก่กลุ่มอาจารย์และบุคลากรด้านการศึกษา นักศึกษา ประชาชนในพื้นที่และชุมชนโดยรอบสถาบัน
การศึกษา นอกจากนี้ ยังเป็นการสนับสนุนและส่งเสริมการท�างานด้านสิทธิมนุษยชนในสถาบันอุดมศึกษาอีกด้วย
ในปีงบประมาณ ๒๕๕๘ ส�านักงาน กสม. ได้จัดท�าบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับสถาบันอุดมศึกษา เพื่อขยายการท�างาน
ให้ครอบคลุมทุกภูมิภาคในภาคกลาง ๑๐ สถาบัน และภาคเหนือ ๙ สถาบัน รวม ๑๙ สถาบัน ซึ่งปัจจุบัน กสม. มีสถาบันอุดมศึกษาที่ได้จัดท�าบันทึก
ข้อตกลงความร่วมมือกับส�านักงาน กสม. รวมทั้งสิ้น ๕๐ แห่ง
รายงานผลการปฏิบัติงานประจ�าปี ๒๕๕๘ 54 คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ