Page 63 - รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย ประจำปี 2558
P. 63
รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย ปี ๒๕๕๘
๙. การคุ้มครองผู้โยกย้ายถิ่นฐานและผู้แสวงหาที่พักพิง
ข้อ ๗๔ การด�าเนินมาตรการเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาการจับกุมคุมขังตามอ�าเภอใจ การใช้ความรุนแรง
การละเมิดและการแสวงประโยชน์จากผู้โยกย้ายถิ่นฐาน (บราซิล)
ข้อ ๗๖ การเน้นความพยายามอย่างต่อเนื่องเพื่อประกันการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของผู้โยกย้ายถิ่นฐาน
และแรงงานต่างชาติทุกคนอย่างเต็มที่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การส่งเสริมความปลอดภัยและสวัสดิการส�าหรับกลุ่มคนดังกล่าว
(เมียนมา)
ข้อ ๗๗ การด�าเนินความพยายามอย่างต่อเนื่องเพื่อส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิของผู้โยกย้ายถิ่นฐาน (บังกลาเทศ)
ข้อ ๗๙ การเสริมสร้างความเข้มแข็งของกรอบกฎหมายด้านสิทธิมนุษยชนและบังคับใช้กฎหมายดังกล่าวเพื่อ
คุ้มครองผู้โยกย้ายถิ่นฐาน ผู้แสวงหาที่พักพิง และผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ (เเคนาดา)
ข้อ ๘๑ การประกันให้ผู้ย้ายถิ่นฐานที่พบในทะเลได้รับมาตรการคุ้มครองอย่างเต็มที่ ตามที่ควรจะได้รับภายใต้
กฎหมายระหว่างประเทศ (นิวซีเเลนด์)
ข้อ ๘๒ การประกันการเคารพหลักการไม่ผลักดันกลับ ในกรณีของผู้แสวงหาที่พักพิง และผู้ลี้ภัย/การหลีกเลี่ยงการ
ปิดพื้นที่พักพิงบริเวณชายแดนตะวันตกก่อนเวลาอันสมควร ในขณะที่เงื่อนไขส�าหรับการกลับโดยสมัครใจ ปลอดภัยและสมศักดิ์ศรี
ยังไม่พร้อม/ การดูแลความต้องการด้านความคุ้มครองของกลุ่มเปราะบางต่าง ๆ อาทิ กลุ่มชาวโรฮินจา โดยให้สอดคล้องกับกฎหมาย
ระหว่างประเทศ (เเคนาดา)
ข้อ ๘๕ การด�าเนินการอย่างต่อเนื่อง เพื่อเสริมสร้างความร่วมมือกับส�านักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ
รวมถึงประเทศผู้บริจาค และองค์กรเอกชน เพื่อให้การช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมที่จ�าเป็น และคุ้มครองสิทธิขั้นพื้นฐานให้แก่ผู้หนีภัย
ที่ประเทศไทยให้ที่พักพิง
๑๓. กระบวนการยุติธรรม
ข้อ ๑๑๓ การด�าเนินมาตรการที่มีประสิทธิภาพ เพื่อปรับปรุงการเข้าถึงการให้ค�าปรึกษาด้านกฎหมาย บริการด้าน
สุขภาพและการศึกษาของนักโทษ
๑๔. กระบวนการปรองดอง
ข้อ ๑๒๐ การสร้างความปรองดองระหว่างภาคส่วนต่าง ๆ ในสังคม บนพื้นฐานของหลักการประชาธิปไตย นิติธรรม
และขันติธรรม เพื่อน�าไปสู่เสถียรภาพทางการเมืองและสังคม และการพัฒนาทางเศรษฐกิจ (เวียดนาม)
ข้อ ๑๒๓ การให้ความส�าคัญอย่างต่อเนื่องกับกระบวนการปรองดองซึ่งมีความจ�าเป็น เพื่อสนับสนุนผลลัพธ์
เชิงบวกด้านสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวกับเสรีภาพของบุคคล รวมถึงเสรีภาพในการแสดงออก และเสรีภาพจากการถูกแก้แค้น และลงโทษ
นอกกระบวนการยุติธรรม (นิวซีเเลนด์)
การเข้าเป็นภาคีกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (ICCPR) ประเทศไทยได้ท�าถ้อยแถลง
ตีความไว้ ๔ ประเด็น ได้แก่ ข้อบทที่ ๒ วรรค ๑ สิทธิในการก�าหนดเจตจ�านงของตนเอง ข้อบทที่ ๖ วรรค ๕ การห้ามประหารชีวิต
ผู้ที่อายุต�่ากว่า ๑๘ ปี ข้อบทที่ ๙ วรรค ๓ การน�าตัวผู้ต้องหาเข้าสู่การพิจารณาคดีโดยพลัน และข้อบทที่ ๒๐ วรรค ๑ การห้ามโฆษณา
ชวนเชื่อเพื่อท�าสงคราม โดยต่อมา เมื่อวันที่ ๒๐ พฤษภาคม ๒๕๕๕ คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้ประเทศไทยถอนถ้อยแถลงตีความใน
ข้อบทที่ ๖ วรรค ๕ และข้อบทที่ ๙ วรรค ๓ เนื่องจากได้ปรับแก้กฎหมายภายในประเทศให้สอดคล้องกับข้อบทดังกล่าวแล้ว และในวันที่
๖ กรกฎาคม ๒๕๕๕ ประเทศไทยได้ยื่นตราสารขอถอนค�าแถลงตีความในข้อบทดังกล่าวต่อเลขาธิการองค์การสหประชาชาติ ดังนั้น จึงคง
เหลือถ้อยแถลงตีความอีก ๒ ประเด็น กล่าวคือ ข้อบทที่ ๒ วรรค ๑ และข้อบทที่ ๒๐ วรรค ๑
33