Page 62 - รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย ประจำปี 2558
P. 62
รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย ปี ๒๕๕๘
๓.๑.๓ ข้อเสนอแนะจากกระบวนการ Universal Periodic Review (UPR) ที่ประเทศไทยรับมาปฏิบัติ
๑. การเข้าเป็นภาคีกฎหมายระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชน
ข้อ ๓ การศึกษาความเป็นไปได้ในการให้สัตยาบันอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองบุคคลทุกคนจากการหายสาบสูญ
โดยถูกบังคับ/พิธีสารเลือกรับฉบับที่ ๒ ของกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง/พิธีสารเลือกรับของ
อนุสัญญาต่อต้านการทรมานฯ/พิธีสารเลือกรับฉบับที่ ๑ ของกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง/
พิธีสารเลือกรับของกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม/อนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองสิทธิของ
แรงงานโยกย้ายถิ่นฐานและสมาชิกครอบครัว/และพิธีสารเลือกรับของอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิคนพิการ (อาร์เจนตินา)
ข้อ ๔ การให้สัตยาบันหรือภาคยานุวัติตามความเหมาะสมต่ออนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองบุคคลทุกคนจากการ
หายสาบสูญโดยถูกบังคับ (อุรุกวัย)
ข้อ ๕ การลงนามและให้สัตยาบันต่ออนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองบุคคลทุกคนจากการหายสาบสูญโดยถูกบังคับ (สเปน)
ข้อ ๖ การให้สัตยาบันต่ออนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองบุคคลทุกคนจากการหายสาบสูญโดยถูกบังคับ (ออสเตรีย)
ข้อ ๗ การให้สัตยาบันต่ออนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองบุคคลทุกคนจากการหายสาบสูญโดยถูกบังคับ และสอบสวน
ข้อกล่าวหาทั้งหมดเกี่ยวกับการหายสาบสูญโดยถูกบังคับ (ฝรั่งเศส)
ข้อ ๘ การลงนามและให้สัตยาบันต่ออนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองทุกคนจากการหายสาบสูญโดยถูกบังคับในทันที
(นิการากัว)
ข้อ ๙ การลงนามและให้สัตยาบันต่ออนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองบุคคลทุกคนจากการหายสาบสูญโดยถูกบังคับ
โดยเร็ว (ญี่ปุ่น)
๖. การส่งเสริมและคุ้มครองเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและการแสดงออก บทที่ ๓ สถานการณ์สิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง
ข้อ ๓๒ การพิจารณาค�าขอเยือนของผู้ถืออาณัติอื่น ๆ ด้วยดี รวมถึงผู้เสนอรายงานพิเศษว่าด้วยการส่งเสริม
และคุ้มครองสิทธิด้านเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและการแสดงออก (นอร์เวย์)
ข้อ ๓๓ การเชิญผู้เสนอรายงานพิเศษว่าด้วยการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิด้านเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น
และการแสดงออกเยือนประเทศ (สวิตเซอร์แลนด์)
ข้อ ๓๔ การเชิญผู้เสนอรายงานพิเศษว่าด้วยเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นเยือนประเทศไทย ซึ่งอาจสามารถ
ส่งเสริมข้อบทของพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระท�าผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์และการบังคับใช้พระราชบัญญัติดังกล่าวให้สอดคล้อง
กับมาตรฐานระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชน (ฮังการี)
ข้อ ๓๕ การประกันให้กฎหมายของไทยสอดคล้องกับกฎหมายระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชนในส่วนที่
เกี่ยวกับเสรีภาพในการแสดงออก (นิวซีแลนด์)
ข้อ ๓๖ การประกันให้ด�าเนินคดีเกี่ยวกับการละเมิดกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ และพระราชบัญญัติ
ว่าด้วยการกระท�าผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. ๒๕๕๐ เป็นไปอย่างเปิดเผยและโปร่งใส (นอร์เวย์)
ข้อ ๓๗ การเพิ่มความพยายามในการประกันให้ทุกคนที่ถูกกล่าวหาว่าละเมิดกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ
และพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระท�าผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. ๒๕๕๐ ได้รับค�าปรึกษาด้านกฎหมายที่เพียงพอ (นอร์เวย์)
32