Page 20 - รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย ประจำปี 2558
P. 20

รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย ปี ๒๕๕๘





             ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้พบว่ายังต้องเผชิญกับสถานการณ์ความรุนแรง และยังไม่สามารถเข้าถึงสวัสดิการขั้นพื้นฐาน
             ด้านสุขภาพได้อย่างเพียงพอ นอกจากนี้ ยังพบว่าแนวโน้มการเพิ่มขึ้นของกลุ่มเด็กข้ามชาติ ซึ่ง กสม. ได้มีข้อเสนอต่อรัฐบาล
             ทั้งในเรื่องการจัดท�ามาตรการและแนวทางการคุ้มครองเด็กในพื้นที่เสี่ยงและเด็กข้ามชาติ การส่งเสริมการเข้าถึงสวัสดิการด้านสุขภาพ

             การจัดท�าฐานข้อมูลเด็กข้ามชาติในทุกมิติ และการจัดท�าและบังคับใช้มาตรการในการจัดท�าหนังสือรับรองการเกิด
             สูติบัตร และเอกสารพิสูจน์ตนของเด็กข้ามชาติอย่างมีประสิทธิภาพ

             ๓.๒ กลุ่มผู้หญิงและความเสมอภาคระหว่างเพศ

             รัฐบาลได้ประกาศใช้พระราชบัญญัติความเท่าเทียมระหว่างเพศ พ.ศ. ๒๕๕๘ และจัดท�าแผนพัฒนาสตรีในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจ
             และสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๑ (๒๕๕๕ - ๒๕๕๙) แผนพัฒนาสถิติหญิงและชาย ฉบับที่ ๑ (๒๕๕๗ - ๒๕๕๘) และรายงานสถานการณ์

             สตรี ปี ๒๕๕๘ ซึ่งสะท้อนสถานการณ์ ๑๒ ด้าน ตามข้อก�าหนดในปฏิญญาและแผนปฏิบัติการปักกิ่งเพื่อความก้าวหน้าของสตรี
             ทั้งนี้ แม้ว่าสถานการณ์ความไม่เท่าเทียมระหว่างหญิงและชายในภาพรวมจะลดต�่าลงก็ตาม แต่ยังพบข้อห่วงใยหรือข้อสังเกต

             ที่แสดงถึงความเหลื่อมล�้าในมิติของหญิงชาย อาทิ จ�านวนประชากรผู้สูงวัยเพศหญิงมากกว่าเพศชาย (๕.๑ > ๔.๐ ล้านคน)
             จ�านวนผู้ด้อยโอกาสทางสังคมเพศหญิงมากกว่าเพศชาย (๖.๔๐ > ๔.๙ หมื่นคน) ผู้หญิงที่มีงานท�ามีจ�านวนน้อยกว่าผู้ชาย (๑๗.๕
             < ๒๐.๙ ล้านคน) ผู้หญิงที่เป็นแรงงานนอกระบบมีมากกว่าผู้ชาย (๑๐.๖ > ๕.๕ ล้านคน) สัดส่วนของประชากรวัยแรงงาน (ชาย

             = ๘๐.๗ และหญิง = ๖๔.๓) และสัดส่วนของผู้หญิงที่ด�ารงต�าแหน่งในรัฐสภา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในระหว่างปี ๒๕๕๗ - ๒๕๕๘
             ที่มีค่าสัดส่วนน้อยที่สุดในรอบ ๑๐ ปี นอกจากนี้ ยังพบสถานการณ์ความรุนแรงต่อผู้หญิงในจ�านวนที่สูงขึ้นกว่าปี ๒๕๕๗

             กสม. จึงเสนอให้รัฐก�าหนดมาตรการที่เหมาะสม และมาตรการพิเศษชั่วคราวเพื่อเสริมสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของผู้หญิง

             และลดช่องว่างของความเหลี่อมล�้า เช่น การกระตุ้นให้พรรคการเมืองใช้ระบบสัดส่วน การฝึกอบรมและสร้างความตระหนัก
             เกี่ยวกับความส�าคัญของผู้หญิงในการตัดสินใจทุกระดับ การก�าหนดนโยบาย กลไก และมาตรการในการแก้ไขปัญหาที่มี
             ประสิทธิภาพ สนับสนุน และช่วยเหลือผู้หญิงที่ถูกละเมิดให้เข้าถึงความเป็นธรรม เป็นต้น


             ๓.๓ กลุ่มคนพิการ
             รัฐบาลได้ออกกฎหมายและมาตรการต่าง  ๆ  เพื่อส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิของคนพิการ  ทั้งพระราชบัญญัติ

             การจัดการศึกษาส�าหรับคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๑ เเละที่เเก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. ๒๕๕๖ พระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนา
             คุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๐ เเละที่แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. ๒๕๕๖ รวมทั้งกฎกระทรวง เพื่อก�าหนดจ�านวนคนพิการที่นายจ้าง
             หรือสถานประกอบการและหน่วยงานของรัฐจะต้องรับเข้าท�างาน รวมถึงจ�านวนเงินที่นายจ้างหรือสถานประกอบการ

             จะต้องน�าส่งเข้ากองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๔ เเละแผนพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ
             แห่งชาติ ฉบับที่ ๔ (๒๕๕๕ - ๒๕๕๙) นอกจากนี้ รัฐยังได้ถอนถ้อยแถลงในอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิของคนพิการที่ตีความ
             เกี่ยวกับสิทธิในการจดทะเบียนการเกิด สิทธิในการมีชื่อ และสิทธิในการได้รับสัญชาติของเด็กพิการ ตามที่ได้ให้ค�ามั่นไว้

             ในการเสนอรายงานทบทวนสถานการณ์สิทธิมนุษยชนของประเทศ (UPR) รอบที่ ๑ ขณะเดียวกัน การส่งเสริมและพัฒนา
             คุณภาพชีวิตคนพิการยังมีข้อจ�ากัดในการปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ได้แก่ (๑) ด้านสิทธิทางการศึกษา โดยการถูกปฏิเสธการเข้ารับ
             การศึกษา และการขาดความพร้อมของบุคลากรทางการศึกษาและสถาบันการศึกษา (๒) ด้านสิทธิในการใช้ชีวิตอย่างอิสระ

             ในพื้นที่สาธารณะ หรือการใช้ชีวิตในสังคมทั่วไป รวมถึงสิทธิในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร โดยการขาดการจัดสรรสิ่งอ�านวย
             ความสะดวกที่เหมาะสมและตรงตามความต้องการของคนพิการแต่ละประเภท (๓) ด้านสิทธิในการประกอบอาชีพ นายจ้าง









                                                                                                            XIX
   15   16   17   18   19   20   21   22   23   24   25