Page 22 - รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย ประจำปี 2558
P. 22
รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย ปี ๒๕๕๘
๓.๕ กลุ่มชาติพันธุ์ ชนเผ่าเเละชนพื้นเมือง
การด�าเนินงานที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มชาติพันธุ์ ชนเผ่า และชนพื้นเมือง ยังไม่มีการก�าหนดหน่วยงานที่ประสานงานหรือรับผิดชอบ
อย่างชัดเจน ขาดการจัดท�าแผนแม่บท การด�าเนินการติดตามการปฏิบัติตามแผนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการ
มีกฎระเบียบที่แตกต่างหลากหลาย และไม่เป็นปัจจุบัน การขาดการมีส่วนร่วมของฝ่ายต่าง ๆ และขาดบุคลากรที่มี
ประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน ซึ่งท�าให้ไม่มีการจัดท�าระบบข้อมูลที่สมบูรณ์ และปรับปรุงให้ทันสมัยอยู่ตลอดเวลา นอกจากนี้
ยังพบสถานการณ์ที่เป็นความเสี่ยงหลัก ๆ ของกลุ่มดังกล่าว เช่น การขาดความมั่นคงหรือความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับที่ดิน
ที่ท�ากิน และที่อยู่อาศัย เนื่องจากปัญหากรรมสิทธิ์การถือครองที่ดินหรือการใช้ประโยชน์บนพื้นที่ การขาดระบบข้อมูล
ที่ชัดเจนและความขัดแย้งเชิงนโยบายระหว่างการพัฒนาและการอนุรักษ์ธรรมชาติ การขาดความมั่นคงในสิทธิและสถานะ
บุคคลทางกฎหมาย เนื่องจากความแตกต่างหลากหลายของกลุ่มชาติพันธุ์จ�านวนมาก การตั้งถิ่นฐานกระจายตามภูมิภาคต่าง ๆ
ซึ่งในหลายพื้นที่มีความทับซ้อนระหว่างพรมแดนของประเทศ บางกลุ่มยังมีวิถีชีวิตเคลื่อนย้าย ท�าให้การส�ารวจและก�าหนด
สถานะบุคคลทางกฎหมายท�าได้ล่าช้า ขาดความสมบูรณ์และมีความคลุมเครือในการลงบันทึกข้อมูล มีการเรียกร้อง
ผลประโยชน์จากการยื่นเรื่องขอสถานะบุคคล นอกจากนี้ ยังมีข้อจ�ากัดในทางปฏิบัติในกรณีของบุคคลที่มีสถานะบุคคล
ทางกฎหมายแล้วแต่ยังไม่สามารถเข้าถึงบริการพื้นฐานของรัฐ ทั้งด้านการศึกษา การบริการด้านสุขภาพ รวมถึงเสรีภาพ
ในการเดินทาง ตลอดจนการขาดความมั่นคงในการด�ารงชีวิต เนื่องจากสภาพความยากจน
ทั้งนี้ ได้ประเมินสถานการณ์ด้านกลุ่มชาติพันธุ์ ชนเผ่า เเละชนพื้นเมือง โดยมีข้อเสนอหลัก ๆ ได้แก่ (๑) การพัฒนาและเพิ่ม
ประสิทธิภาพของกลไกในการพิสูจน์สถานะบุคคลทางกฎหมาย โดยสร้างความร่วมมือกับภาคประชาสังคมในการส�ารวจ
และแก้ไขปัญหาความล่าช้าในการลงรายการสัญชาติ หรือการพิสูจน์สถานะบุคคลทางกฎหมาย โดยด�าเนินการควบคู่ไป
กับการส่งเสริมความรู้ ความเข้าใจ ส�าหรับผู้ปฏิบัติงานด้านการทะเบียนราษฎร รวมถึงการก�าหนดแนวทางในการแก้ไข
ปัญหาสถานะบุคคลของบุคคลในบางกลุ่มที่ได้รับการส�ารวจ และจัดท�าทะเบียนตามยุทธศาสตร์การจัดการปัญหาสถานะ
และสิทธิของบุคคล พ.ศ. ๒๕๔๘ (๒) การพัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพของกลไกในการพิสูจน์สิทธิในที่ดินที่ท�ากินและที่อยู่อาศัย
ซึ่งมีข้อพิพาท โดยสร้างความร่วมมือกับภาคประชาสังคมในการส�ารวจและแก้ไขปัญหา (๓) การก�าหนดกรอบและเกณฑ์
ที่ชัดเจนในการพิจารณาเรื่องผลกระทบต่อความมั่นคงของรัฐ และพิจารณาทบทวนให้ผู้ที่เป็นคนไทยโดยการแปลงสัญชาติซึ่งอาศัย
อยู่ในประเทศไทยมานานแล้วให้สามารถมีส่วนร่วมในการปกครองส่วนท้องถิ่นได้ในบางกรณี (๔) การสนับสนุนกลุ่มเด็กที่มี
ปัญหาสถานะในการเข้าเรียนในสถานศึกษา โดยการจัดสรรงบประมาณและการพัฒนาต่าง ๆ ให้เพียงพอและเหมาะสม รวมถึง
การส่งเสริมให้เกิดการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบพหุวัฒนธรรม/ภาษา และ (๕) การพิจารณาและให้ความส�าคัญ
กับการก�าหนดอัตลักษณ์ตัวตนของกลุ่มชาติพันธุ์ ชนเผ่า และชนพื้นเมือง โดยพิจารณารับรอง (ร่าง) พระราชบัญญัติ
สภาชาติพันธุ์ และชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย พ.ศ. ....
XXI