Page 18 - รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย ประจำปี 2558
P. 18

รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย ปี ๒๕๕๘




              ๒.๓ การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติที่ดินและป่าไม้
              มีชุมชนจ�านวนมากที่ได้รับผลกระทบจากค�าสั่ง คสช. ที่ ๖๔/๒๕๕๗ และที่ ๖๖/๒๕๕๗ อันเนื่องมาจากการที่เจ้าหน้าที่รัฐเข้าไป
              ด�าเนินการขับไล่รื้อท�าลายทรัพย์สินของประชาชน ที่พักอาศัยหรือท�ากินในพื้นที่ป่า ซึ่งยังไม่มีความชัดเจนของการถือครอง

              กรรมสิทธิ์ หรือยังเป็นข้อพิพาทของการถือครอง และใช้ประโยชน์ในพื้นที่ เนื่องจากมีหลักฐานที่เปลี่ยนแปลงไปตามนโยบาย
              ของรัฐบาลในแต่ละช่วงแตกต่างกันออกไป ทั้งนี้ กสม. ได้ตรวจสอบกรณีร้องเรียนในลักษณะดังกล่าว และมีข้อเสนอแนะ
              เชิงนโยบายไปยังคณะรัฐมนตรี โดยเน้นย�้าความส�าคัญของการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิชุมชน พร้อมกับสนับสนุน
              การมีส่วนร่วมของประชาชนและชุมชนในพื้นที่ในการแก้ไขปัญหา โดยจะต้องไม่ส่งผลกระทบต่อประชาชนผู้ยากไร้ ผู้ที่มีรายได้

              น้อยและผู้ไร้ที่ดินที่ท�ากิน ซึ่งได้อยู่อาศัยหรือท�ากินในพื้นที่ก่อนที่ค�าสั่ง หรือกฎหมายนั้น ๆ จะมีผลบังคับใช้ รวมถึงการตรวจ
              สอบหลักฐานและแก้ไขปัญหาข้อพิพาทต่าง ๆ อย่างเหมาะสม

              ๒.๔ การพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ

              นโยบายการจัดตั้งเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษในพื้นที่ชายแดนเชื่อมต่อกับประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน ตามประกาศ
              คณะกรรมการนโยบายพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ ที่ ๑/๒๕๕๘ ลงวันที่ ๑๙ มกราคม ๒๕๕๘ และที่ ๒/๒๕๕๘ ลงวันที่ ๒๔ เมษายน
              ๒๕๕๘ ใน ๑๐ พื้นที่ ควบคู่กับค�าสั่งหัวหน้า คสช. ที่ ๑๗/๒๕๕๘ เรื่อง การจัดหาที่ดินเพื่อใช้ประโยชน์ในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ
              เป็นผลให้เกิดการเพิกถอนสภาพที่ดินต่าง ๆ ให้ตกเป็นที่ราชพัสดุ และไม่อยู่ภายใต้บังคับข้อก�าหนดเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์
              ตามกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวม ซึ่งส่งผลกระทบต่อประชาชนจ�านวนมาก กสม. ได้ด�าเนินการตรวจสอบลักษณะ

              การใช้ที่ดินและทรัพยากรสาธารณประโยชน์ในพื้นที่ตามแผนการลงทุน และเวนคืนที่ดินเพื่อจัดหาพื้นที่ และการจ่ายค่าชดเชย
              ที่ไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง

              ๒.๕ สิทธิทางการศึกษา
              ในด้านความเหลื่อมล�้าและโอกาสในการเข้าถึงการศึกษา พบว่า เด็กและเยาวชนในประเทศไทยมีโอกาสได้รับการศึกษา

              เพิ่มมากขึ้น แต่ยังมีบางส่วนที่ไม่สามารถเข้าถึงการศึกษาขั้นพื้นฐานได้ ในขณะที่มีประชากรที่เข้าเรียนระดับอุดมศึกษาลดน้อย
              ลงกว่าครึ่งของประชากรที่เข้ารับการศึกษาทั้งหมด และมีการออกจากระบบการศึกษากลางคันในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
              เพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในช่วงที่มีการเลื่อนชั้นจากระดับมัธยมศึกษาตอนต้นไปยังระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย

              ในขณะที่มีจ�านวนผู้เรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพจนส�าเร็จการศึกษาจ�านวนลดน้อยลง ส่วนในด้านคุณภาพการศึกษาตาม
              ตัวชี้วัดที่มีต่อการศึกษาขั้นพื้นฐานใน ๓ ด้าน พบว่าด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (O-NET PISA) ยังอยู่ในค่าเฉลี่ยที่ค่อนข้างต�่า
              หรือไม่น่าพอใจมากนัก ด้านความสามารถในการคิดของผู้เรียน (GAT) มีคะแนนที่ต�่ากว่าปีที่ผ่านมา และด้านความสามารถ
              ในการอ่าน เขียนและค�านวณของประชากรอายุ ๖ ปีขึ้นไป พบว่า ในกลุ่มเด็กและเยาวชน อายุ ๑๕ - ๒๔ ปี เป็นผู้ที่มีทักษะ
              ทั้ง ๓ ด้านครบ คิดเป็นร้อยละ ๙๑.๑ ของประชากรในกลุ่มเด็กและเยาวชนทั้งหมด ในขณะที่ยังพบข้อจ�ากัดของระบบการบริหาร

              จัดการการศึกษาที่ไม่กระจายอ�านาจ การบริหารจัดการในท้องถิ่นยังมีปัญหาเรื่องคุณภาพและการเข้าถึงการศึกษา โดยระบบ
              การศึกษาที่ถูกก�าหนดจากส่วนกลาง การไม่ตอบสนองต่อความต้องการและบริบททางวัฒนธรรมที่แตกต่างหลากหลาย

              ๒.๖ สิทธิด้านสุขภาพ

              ประเทศไทยก�าลังเข้าสู่สังคมของประชากรสูงวัยเพิ่มมากยิ่งขึ้น ท�าให้มีความเสี่ยงในการบริหารจัดการระบบประกันสุขภาพของ
              ประเทศที่มีอยู่ ทั้งหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ การประกันสังคม และสวัสดิการข้าราชการ ซึ่งท�าให้รัฐบาลพยายามน�าแนวทาง
              การท�าประกันสุขภาพโดยอาจให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ อีกทั้งรัฐบาลยังพยายามด�าเนินมาตรการต่าง ๆ
              ที่เป็นการยกระดับคุณภาพการให้บริการด้านสาธารณสุขและสุขภาพของประชาชน  โดยการเสริมสร้างความเข้มแข็ง









                                                                                                            XVII
   13   14   15   16   17   18   19   20   21   22   23