Page 15 - รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย ประจำปี 2558
P. 15
รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย ปี ๒๕๕๘
บทสรุปผู้บริหาร
การจัดท�ารายงานประจ�าปีเพื่อประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนภายในประเทศเสนอต่อรัฐสภา และคณะรัฐมนตรี
และเปิดเผยต่อสาธารณชนเป็นอ�านาจหน้าที่หนึ่งของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)
ที่ได้บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๒๕๗ (๘) และพระราชบัญญัติ
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๕ (๖) โดยรายงานการประเมินสถานการณ์
สิทธิมนุษยชนภายในประเทศจะเป็นการรายงานให้ทราบถึงสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศว่าในปีนั้น ๆ
มีสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนที่เป็นสถานการณ์ที่ส�าคัญประเด็นใดบ้างที่มีผลกระทบต่อสิทธิของประชาชน
ที่มีการรับรองไว้ในรัฐธรรมนูญ กฎหมายภายในอื่น ๆ พันธกรณีด้านสิทธิมนุษยชนที่ประเทศไทยเป็นภาคี
มาตรฐานระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง และค�ามั่นสัญญาต่าง ๆ ที่รัฐบาลไทยได้ให้ไว้ต่อประชาคมระหว่าง
ประเทศ ทั้งในด้านที่เป็นความก้าวหน้าและความถดถอย โดยในการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนฯ กสม.
ใช้เกณฑ์หรือมาตรฐานหลัก ๒ ประการ ได้แก่ (๑) หลักการตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช
๒๕๕๐ และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ รวมทั้งกฎหมายภายในอื่น ๆ
และ (๒) สิทธิที่ได้รับการรับรองจากสนธิสัญญาระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชน ที่ประเทศไทยเป็นภาคี
รวม ๗ ฉบับ รวมทั้งมาตรฐานระหว่างประเทศ และค�ามั่นสัญญาต่าง ๆ ที่รัฐบาลไทยได้ให้ไว้ต่อประชาคมระหว่าง
ประเทศ ทั้งนี้ รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนภายในประเทศ ประจ�าปี ๒๕๕๘ มีสาระส�าคัญ
โดยสรุปแบ่งออกเป็น ๓ ส่วนหลัก ดังนี้
๑. สถานการณ์สิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองรเมือง
กสม. ประเมินสถานการณ์ในภาพรวมว่า สถานการณ์ส่วนใหญ่ยังสืบเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงการเมือง
การปกครอง โดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เมื่อวันที่ ๒๒ พฤษภาคม ๒๕๕๗ ซึ่งแม้ว่ารัฐบาล
ภายใต้การน�าของ คสช. จะพยายามสร้างความปรองดองควบคู่ไปกับการฟื้นฟูสถานการณ์ทางการเมือง
โดยการก�าหนดมาตรการและแผนงานในการพัฒนาประเทศ การจัดท�าร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
พ.ศ. . .... แต่ด้วยข้อจ�ากัด และความยุ่งยาก ซับซ้อนของสภาพปัญหา กสม. ยังพบข้อเท็จจริงที่สะท้อนความรุนแรง
ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องในประเด็นต่าง ๆ โดย กสม. มีข้อสังเกตต่อ ๕ ประเด็นหลัก ได้แก่
XIV