Page 19 - รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย ประจำปี 2558
P. 19

รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย ปี ๒๕๕๘





        ในการบริการอย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ พร้อมกับการประกันสิทธิในการเข้าถึงบริการด้านสุขภาพเป็นสิทธิของทุกคน
        ในประเทศไทย นอกจากนี้ ได้มีมติคณะรัฐมนตรี วันที่ ๒๐ เมษายน ๒๕๕๘ เพื่อคืนสิทธิขั้นพื้นฐานด้านสาธารณสุขให้กับชนกลุ่มน้อย
        และบุตรที่อพยพเข้ามาในประเทศไทย และกลุ่มบุคคลที่มีปัญหาด้านสถานะและสิทธิบุคคล ทั้งนี้ กสม. ยังพบว่ามีความเหลื่อมล�้า

        ของระบบประกันสุขภาพทั้ง ๓ ระบบ และมีประชากรในพื้นที่ห่างไกลและในบางกลุ่มที่ยังไม่สามารถเข้าถึงระบบการรักษา
        พยาบาลได้ เช่น คนพิการ แรงงานข้ามชาติและผู้ติดตาม เป็นต้น

        ๒.๗ สิทธิในการท�างาน

        รัฐบาลพยายามด�าเนินการมาตรการต่าง ๆ เพื่อส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิในการท�างาน อาทิ การประกันค่าแรงขั้นต�่า
        ความปลอดภัยในการท�างาน และการประกันการเข้าถึงบริการด้านสุขภาพ รวมถึงการแก้ไขและขจัดปัญหาการค้ามนุษย์  โดยการ
        เพิ่มประสิทธิภาพของมาตรการตรวจแรงงานทั้งระบบ เพื่อให้แรงงานได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายและมีหลักประกัน
        ทางสังคมมากยิ่งขึ้น แต่ยังมีแรงงานบางกลุ่มที่ยังเข้าไม่ถึงความคุ้มครองแรงงาน เช่น ลูกจ้างท�างานบ้าน ลูกจ้างที่ไปท�างาน
        ในต่างประเทศ เป็นต้น ในเรื่องค่าแรงงานขั้นต�่าได้มีการเรียกร้องให้ปรับขึ้นค่าแรงขั้นต�่าซึ่งปัจจุบันได้ปรับค่าแรงเพิ่มขึ้นแล้ว

        แต่อัตราดังกล่าวยังต�่ากว่าบางประเทศในกลุ่มอาเซียน ในเรื่องสิทธิในการรวมตัวและเสรีภาพในการสมาคม ด้านแรงงาน
        รัฐบาลได้แสดงท่าทีอย่างชัดเจนในการเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ฉบับที่ ๘๗ และ ๙๘
        เพื่อให้แรงงานได้รับเสรีภาพในการสมาคมและการคุ้มครองสิทธิในการรวมตัวกัน และสิทธิในการรวมตัวและการร่วมเจรจาต่อรอง



        ๓. สถานการณ์สิทธิของกลุ่มเปราะบาง



        สถานการณ์ของกลุ่มเปราะบางในประเทศไทยยังมีความเสี่ยงต่อการถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน  ทั้งในลักษณะ
        มิติการละเมิดซ�้าซ้อนและการเชื่อมโยง โดยเหตุแห่งการมีสถานะในกลุ่มต่าง ๆ ที่เกี่ยวโยงกัน แม้ว่ารัฐบาล

        ได้ให้ความส�าคัญและพยายามคุ้มครองสิทธิของกลุ่มเปราะบางทั้งในด้านการก�าหนดนโยบาย การตรากฎหมาย
        และการด�าเนินงานตามมาตรการเพื่อสร้างความก้าวหน้าในด้านต่าง ๆ แล้ว แต่ในทางปฏิบัติ ยังพบว่ามีปัญหา
        การแปลงนโยบายและกฎหมายไปสู่การปฏิบัติ และขาดการบูรณาการและเชื่อมโยงการด�าเนินงานด้านโยบาย

        และกฎหมายของหน่วยงานต่าง  ๆ  ท�าให้เกิดผลกระทบต่อบุคคลและชุมชนในพื้นที่  ทั้งนี้  กสม. มีข้อสังเกต
        ต่อกลุ่มเปราะบาง ๕ กลุ่ม ได้แก่

        ๓.๑ กลุ่มเด็ก

        รัฐบาลมีมาตรการในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิเด็กเพิ่มมากขึ้น อาทิ การจัดท�าระบบประกันการเลี้ยงดูที่มีคุณภาพ
        และการดูแลเด็กแรกเกิดให้เข้ารับบริการสาธารณสุขผ่านโครงการอุดหนุนเด็กแรกเกิด ๔๐๐ บาท/เดือน เป็นเวลา ๑๒ เดือน การดูแล

        คุ้มครองและเยียวยาเด็กที่ได้รับความรุนแรง โดยจัดท�ามาตรการเชิงรุกและจัดสรรงบประมาณสนับสนุนป้องกันความเสี่ยง
        การจัดตั้งศูนย์ให้ความช่วยเหลือ และการแก้ไขประมวลกฎหมายอาญา ในส่วนที่เกี่ยวกับการกระท�าทางเพศ และสื่อลามกอนาจาร
        รวมถึงการแก้ไขปัญหาการใช้แรงงานเด็ก โดยการก�าหนดอายุขั้นต�่าของแรงงานในภาคเกษตร และแรงงานประมง

        และมีการตรวจสอบแรงงานเชิงรุกแบบสหวิชาชีพ  รวมทั้งการติดตามแผนระดับชาติเพื่อขจัดการใช้แรงงานเด็ก
        ในรูปแบบที่เลวร้าย ฉบับที่ ๑   (๒๕๕๒ - ๒๕๕๙) และฉบับที่ ๒ (๒๕๕๘ - ๒๕๖๓) อย่างไรก็ตาม พบว่ามีเด็กอายุ ๕ - ๑๗ ปี

        จ�านวนหนึ่งที่ยังท�างานในลักษณะเสี่ยงอันตรายและถูกกระท�าความรุนแรงและมีจ�านวนที่เพิ่มจากปีก่อน ในส่วนของกลุ่มเด็ก








         XVIII
   14   15   16   17   18   19   20   21   22   23   24