Page 17 - รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย ประจำปี 2558
P. 17
รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย ปี ๒๕๕๘
ของชาติหรือความสงบเรียบร้อยของสาธารณะ หรือด้วยเหตุแห่งสาธารณสุขและศีลธรรมจะต้องด�าเนินการอย่างระมัดระวัง
และเป็นไปตามวัตถุประสงค์อันชอบธรรม การด�าเนินการจะต้องเป็นไปตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด มีสัดส่วนที่เหมาะสม
มีความจ�าเพาะของกรณี มีความเชื่อมโยงโดยตรง และส่งผลชัดเจนจากการใช้สิทธินั้น ๆ และต้องไม่เป็นการจ�ากัดสิทธิในการ
น�าเสนอหรือเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารเพื่อประโยชน์ของสาธารณะอย่างชอบธรรม
๑.๕ สถานการณ์ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้
ในปี ๒๕๕๘ เหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้มีจ�านวนลดลงเมื่อเทียบกับในรอบ ๑๒ ปีที่ผ่านมา แต่ยังพบว่า
สถานการณ์ความไม่สงบที่เกิดขึ้นในพื้นที่ส่งผลกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพในชีวิตและร่างกายของประชาชน ประเด็น
สิทธิในกระบวนการยุติธรรม สิทธิเด็กและสิทธิสตรียังเป็นประเด็นที่มีสถานการณ์น่าห่วงกังวลที่อาจสุ่มเสี่ยงต่อการละเมิด
สิทธิมนุษยชน เช่น การควบคุมตัวผู้ต้องสงสัยในคดีความมั่นคงไปซักถาม การตรวจค้นสถานที่ที่ต้องสงสัยว่าเป็นที่ซ่อนตัว
ของผู้ต้องสงสัยในคดีความมั่นคง และการตรวจตัวอย่างสารพันธุกรรม (DNA) ในกลุ่มเด็กที่ต้องสงสัยว่าเกี่ยวพันกับผู้ต้องสงสัย
ในคดีความมั่นคง เป็นต้น
๒. สถานการณ์สิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม
สถานการณ์สิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ส่วนใหญ่เป็นผลเนื่องจากนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจ
ที่เน้นการขยายตัวตามระบบเศรษฐกิจแบบเสรีนิยม การด�าเนินโครงการพัฒนาขนาดใหญ่ที่ขาดกระบวนการ
มีส่วนร่วมของประชาชน และขาดการค�านึงถึงผลกระทบด้านต่าง ๆ จนส่งผลให้เกิดความเหลื่อมล�้า
ทางเศรษฐกิจและสังคม การรวมตัวและเคลื่อนไหวของกลุ่มบุคคล หรือชุมชนที่ได้รับผลกระทบ
เพื่อปกป้องสิทธิของกลุ่มหรือชุมชน รวมถึงการฟ้องร้องด�าเนินคดีต่อหน่วยงานของรัฐ และผู้ประกอบการ
ทั้งนี้ กสม. มีข้อสังเกตใน ๗ ประเด็นหลัก ได้แก่
๒.๑ การบริหารจัดการพลังงาน
รัฐมีนโยบายผลักดันให้ชุมชนหรือเอกชนสร้างโรงไฟฟ้าชีวมวล เพื่อผลิตพลังงานทดแทน เนื่องจากมีต้นทุนด้านวัตถุดิบต�่ากว่า
พลังงานอื่น ๆ ในขณะที่ยังมีความกังวลต่อการบริหารจัดการมลภาวะที่เกิดขึ้น จนเป็นเหตุให้ชุมชนในพื้นที่คัดค้านโครงการดังกล่าว
เนื่องจากความไม่เหมาะสมของพื้นที่ก่อสร้างสถานที่ตั้งใกล้ชุมชน และความไม่ชัดเจนในการดูแลมลพิษที่เกิดขึ้น นอกจากนี้
ยังมีการฟ้องร้องคดีต่อศาลโดยให้เพิกถอนมติที่ประชุมคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ วันที่ ๑๐ มิถุนายน ๒๕๕๘ และ
ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ฉบับที่ ๗ ซึ่งก�าหนดให้โครงการโรงไฟฟ้าขยะมูลฝอยในทุกขนาดก�าลังผลิต
น�าประมวลหลักการปฏิบัติ (CoP) มาใช้ โดยยกเว้นการจัดท�ารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งเเวดล้อม (EIA)
๒.๒ เหมืองแร่
กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ได้ออกประกาศนโยบายการส�ารวจและท�าเหมืองแร่ทองค�าในพื้นที่ ๑๒ จังหวัด
ท�าให้เกิดการคัดค้านจากประชาชนในพื้นที่อย่างมาก เนื่องจากที่ผ่านมาประเทศไทยประสบปัญหาจากนโยบายการท�าเหมืองแร่
มาอย่างต่อเนื่อง และมีแนวโน้มจะทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น ซึ่ง กสม. ได้รับเรื่องร้องเรียน ๕ ประเด็นหลัก คือ (๑) การขาด
การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจเชิงนโยบายของประชาชนและชุมชน (๒) การพิจารณาอนุญาตของหน่วยงานรัฐ (๓) การได้รับ
ผลกระทบจากกิจการที่ด�าเนินอยู่ (๔) การฟื้นฟูพื้นที่ และเยียวยาสิทธิในพื้นที่ และ (๕) การข่มขู่และคุกคามอันเป็นผลจาก
การคัดค้านการท�าเหมืองแร่ นอกจากนี้ ยังมีปัญหากฎหมายแร่ที่ล้าสมัยและขาดความเหมาะสมกับบริบททางเศรษฐกิจ สังคม
และสิ่งแวดล้อม และไม่อาจป้องกันและแก้ไขปัญหาข้อพิพาทที่เกิดขึ้นหรืออาจจะเกิดขึ้นได้
XVI