Page 21 - รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย ประจำปี 2558
P. 21
รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย ปี ๒๕๕๘
และผู้ประกอบการส่วนใหญ่ยังไม่มีความพร้อมในการรองรับการปฏิบัติงานของคนพิการ จึงเลือกการจ่ายเงินชดเชยเข้ากองทุนฯ
มากกว่าการจ้างคนพิการเข้าท�างาน ในขณะที่คนพิการยังขาดทักษะ ความรู้ ความสามารถเฉพาะทาง (๔) ด้านสิทธิทางสุขภาพ
พบว่า ระบบประกันสุขภาพของรัฐทั้ง ๓ ระบบ ก�าหนดสิทธิประโยชน์ครอบคลุมประเภทความพิการไม่เท่าเทียมกัน
กสม. จึงเสนอให้รัฐจัดท�ามาตรการเชิงรุกในแนวทางสิทธิมนุษยชนพร้อมติดตามการด�าเนินงานอย่างจริงจังและต่อเนื่อง
ทั้งการจัดท�าบัตรประจ�าตัวและระบบฐานข้อมูลคนพิการที่สมบูรณ์โดยไม่เลือกปฏิบัติ การเตรียมความพร้อมของสถานศึกษา
ทั้งด้านบุคลากร และอุปกรณ์สนับสนุน การพัฒนาระบบการจ้างงานหรือสร้างอาชีพให้คนพิการในชุมชน หรือภูมิล�าเนา
ของคนพิการ การพัฒนาและตรวจสอบการจัดท�าโครงสร้างพื้นฐานที่เน้นอารยสถาปัตย์ รวมถึงการส่งเสริมการมีส่วนร่วม
ของคนพิการในทุกระดับ
๓.๔ กลุ่มผู้สูงอายุ
รัฐบาลได้ส่งเสริมสิทธิของผู้สูงอายุตามพระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. ๒๕๔๖ โดยเฉพาะทางด้านเศรษฐกิจ สังคม
และสภาวะแวดล้อมที่เหมาะสมในการด�ารงชีวิตที่ดี แต่ยังมีไม่มากพอ ท�าให้ผู้สูงอายุส่วนใหญ่เสียโอกาสในการเข้าถึงสิทธิ
ขาดกลไกรัฐและภาคประชาสังคมที่สนับสนุนการด�าเนินการส่งเสริมสิทธิของผู้สูงอายุ และยังคงมีช่องว่างทางกฎหมายที่จ�ากัดสิทธิ
ของผู้สูงอายุในด้านทางเลือกและการเข้าถึงการท�างานได้ตามความสามารถ หรือได้รับการส่งเสริมและพัฒนาจากรัฐ นอกจากนี้
ยังไม่มีความชัดเจนในการปฏิรูประบบรองรับการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุในประเทศไทย โดยเฉพาะในส่วนของเศรษฐกิจ
การด�าเนินงานของหน่วยงานต่าง ๆ ยังมิให้ความส�าคัญ และไม่มีนโยบายและแผนการปฏิบัติงานที่ชัดเจนและเพียงพอ
ขาดการบูรณาการในการปฏิบัติงาน ปัญหาการขาดความมั่นคงทางรายได้ ซึ่งแม้ว่ารัฐบาลได้มีนโยบายเบี้ยยังชีพถ้วนหน้าให้กับ
บุคคลสัญชาติไทยทุกคนที่มีอายุ ๖๐ ปี โดยจะต้องแสดงสิทธิในการขึ้นทะเบียนในอัตราแบบขั้นบันได (๖๐๐ - ๑,๐๐๐ บาท
ต่อเดือน) แต่ยังเป็นจ�านวนเงินที่ยังไม่เพียงพอกับค่าครองชีพ ณ ปัจจุบัน และมีมูลค่าเพียง ๑ ใน ๓ ของค่าเส้นความยากจน
ของประเทศและอาจจะไม่ยั่งยืน เนื่องจากไม่มีกฎหมายรองรับ อีกทั้งบางคนยังมีทัศนคติที่มองผู้สูงอายุเป็นภาระของสังคม
มากกว่าที่จะเห็นความส�าคัญในเชิงการสั่งสมภูมิปัญญา ความรู้ ทั้งที่ประชากรผู้สูงอายุร้อยละ ๘๕ มีความสามารถที่จะ
เป็นทรัพยากรในการพัฒนาประเทศ แต่ยังขาดการส่งเสริม การเปลี่ยนแปลงและแก้ไขทัศนคติในเรื่องดังกล่าว ดังนั้น
รัฐบาลและสังคมไทยจะต้องมีความตื่นตัวและมีมาตรการที่หลากหลายเพื่อรองรับการเป็นสังคมของผู้สูงอายุในประเทศไทย
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การส่งเสริมสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และสภาวะแวดล้อมของผู้สูงอายุ รวมถึงความยั่งยืนของการ
ด�าเนินมาตรการสร้างความมั่นคงทางรายได้ให้กับผู้สูงอายุ (นโยบายเบี้ยยังชีพ) ที่ยังไม่เพียงพอ ไม่สามารถตอบสนอง
ต่อภาระค่าใช้จ่ายจริงที่จ�าเป็นต่อการด�าเนินชีวิตและขาดความยั่งยืนในการบังคับใช้ เนื่องจากเป็นการด�าเนินการตามนโยบาย
ดังนั้น กสม. จึงเสนอให้รัฐบาลพิจารณา (๑) ออกกฎหมายหรือก�าหนดมาตรการส่งเสริมคุณภาพชีวิตและอาชีพของผู้สูงอายุ
ให้ครอบคลุมสิทธิของผู้สูงอายุ และการมีส่วนร่วมในการบริหารกองทุนผู้สูงอายุ โดยก�าหนดในแผนงานผู้สูงอายุแห่งชาติ
ฉบับที่ ๒ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๒ และเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน พร้อมจัดท�านโยบายเสริมสร้าง
กลไกและทรัพยากรในการส่งเสริมสิทธิผู้สูงอายุ ตามพระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. ๒๕๔๖ ให้น�าไปสู่การปฏิบัติผ่านกลไกรัฐ
และภาคประชาสังคม (๒) ออกกฎหมายรองรับการก�าหนดบ�านาญขั้นพื้นฐานแก่บุคคลสัญชาติไทยทุกคนที่มีอายุ ๖๐ ปีขึ้นไป
(๓) สร้างมาตรการส่งเสริมและปรับเปลี่ยนทัศนคติของสังคมต่อผู้สูงอายุ โดยเน้นกระบวนการมีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศ
และ (๔) การสนับสนุนการท�างานของคณะท�างานและกลไกระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาอนุสัญญาแห่งสหประชาชาติ
ว่าด้วยสิทธิของผู้สูงอายุ
XX