Page 16 - รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย ประจำปี 2558
P. 16
รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย ปี ๒๕๕๘
๑.๑ สิทธิในกระบวนการยุติธรรม
รัฐได้พยายามตราและปรับแก้กฎหมายหลายฉบับเพื่อให้ประชาชนเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม และได้รับความช่วยเหลือ
จากรัฐ เช่น พระราชบัญญัติกองทุนยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๕๘ พระราชบัญญัติค่าตอบแทนผู้เสียหาย และค่าทดแทนและค่าใช้จ่าย
แก่จ�าเลยในคดีอาญา พ.ศ. ๒๕๔๔ ร่างพระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พ.ศ. .... ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และประมวล
กฎหมายอาญา เป็นต้น ในขณะที่ยังมีผู้ร้องเรียนกล่าวอ้างว่า ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนในกระบวนการยุติธรรมโดยเจ้าหน้าที่
ของรัฐ อาทิ สิทธิของผู้ต้องหา สิทธิของผู้เสียหาย สิทธิในการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม และสิทธิของผู้ต้องขัง นอกจากนี้
ยังมีความกังวลเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิมนุษยชนจากการใช้อ�านาจของเจ้าหน้าที่ทหารในการควบคุมตัวจากเหตุการณ์ต่าง ๆ
เช่น เหตุการณ์การเดินทางไปอุทยานราชภักดิ์ของนายสิรวิชญ์ เสรีธิวัฒน์ หรือ จ่านิว สมาชิกขบวนการประชาธิปไตยใหม่
และเหตุการณ์การท�ากิจกรรมเพื่อร�าลึกครบรอบ ๑ ปี ของการเข้าควบคุมอ�านาจของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)
บริเวณหน้าหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร เป็นต้น
๑.๒ การซ้อมทรมาน และการสูญหายโดยถูกบังคับ
การซ้อมทรมานบางกรณีมีการกล่าวอ้างว่า เป็นการกระท�าโดยเจ้าหน้าที่รัฐ ทั้งการปิดล้อม การตรวจค้น การจับกุม การเชิญตัว
การควบคุมตัวและการสอบสวนซักถาม รวมถึงการปฏิบัติต่อผู้ต้องขัง ในส่วนของการสูญหายโดยถูกบังคับ แม้ว่าจะมีมติ
คณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๔ พฤษภาคม ๒๕๕๙ เห็นชอบให้ด�าเนินการให้สัตยาบันอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครอง
บุคคลทุกคนจากการหายสาบสูญโดยถูกบังคับ (CED) รวมทั้งร่างพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมานและ
การบังคับบุคคลให้สูญหาย พ.ศ. .... แต่พบว่ายังไม่มีความคืบหน้าอย่างชัดเจนในการติดตามบุคคลที่ถูกบังคับให้สูญหาย ดังนั้น
รัฐบาลควรเร่งพิจารณาร่างกฎหมายฉบับดังกล่าวพร้อมทั้งปรับหรือแก้ไขกฎหมายต่าง ๆ ที่มีอยู่ ตลอดจนการบังคับใช้กฎหมาย
ให้สอดคล้องกับอนุสัญญาดังกล่าว รวมทั้งควรให้ความรู้ในเรื่องกฎหมายดังกล่าวแก่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานอย่างถูกต้องและต่อเนื่อง
๑.๓ กรณีโทษประหารชีวิต
สังคมไทยยังมีความคิดเห็นที่แตกต่างกันในเรื่องโทษประหารชีวิต โดยมี ๒ แนวทางว่าควรยกเลิกโทษประหารชีวิต หรือยังคง
โทษประหารชีวิตต่อไป ซึ่งขณะนี้ยังไม่มีค�าตอบ ในปี ๒๕๕๘ ประเทศไทยมีนักโทษที่ได้รับโทษเด็ดขาดประหาร จ�านวน ๘๖ คน
แต่ในทางปฏิบัติ ตั้งแต่ปี ๒๕๕๓ เป็นต้นมา ประเทศไทยยังไม่มีการประหารชีวิตนักโทษแต่อย่างใด กสม. จึงมีข้อเสนอแนะ
เชิงนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมายเรื่องโทษประหารชีวิตและหลักสิทธิมนุษยชนต่อรัฐบาล โดยเน้นย�้าการสร้างความ
เข้าใจ การปรับทัศนคติ และการพัฒนามาตรการทดแทน หรือมาตรการทางเลือก เพื่อหลีกเลี่ยงและยุติการลงโทษโดยการประหารชีวิต
๑.๔ เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น
การแสดงความเห็นและการแสดงออกทางด้านการเมืองผ่านสื่อต่าง ๆ รวมถึงการชุมนุมทางการเมืองหลายครั้งที่น�าไปสู่
ความรุนแรงในสังคมและกระทบต่อสิทธิของประชาชนในด้านอื่น ๆ จนเป็นเหตุให้มีการบังคับใช้กฎหมายที่จ�ากัดสิทธิและเสรีภาพ
ในการแสดงความคิดเห็น ซึ่งในหลายกรณีเป็นการใช้กฎหมายเพื่อป้องปรามก่อนการกระท�าผิดและระงับเหตุ ส่งผลกระทบ
ต่อการแสดงออกของบุคคลและชุมชนที่ออกมาชุมนุมเนื่องจากได้รับความเดือดร้อนจากนโยบาย มาตรการ และโครงการ
ต่าง ๆ ทั้งของรัฐและเอกชน กสม. ได้มีข้อเสนอแนะเกี่ยวกับร่างพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. .... โดยเน้นย�้า
ความส�าคัญของเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น ซึ่งท�าให้การพัฒนากลไกการติดตาม ตรวจสอบ และการสร้างความโปร่งใส
ซึ่งเป็นการประกันว่าสิทธิต่าง ๆ เกิดขึ้นได้จริง และมีความเห็นว่ารัฐไม่ควรน�ากฎหมายพิเศษด้านความมั่นคงมาใช้ควบคู่กับกฎหมาย
ชุมนุมสาธารณะ หรือกฎหมายควบคุมหรือจ�ากัดสิทธิ แต่ควรเป็นการอ�านวยความสะดวก และก�ากับขั้นตอนการแสดงออก
ของความคิดเห็นให้มีความเหมาะสม ทั้งนี้ หากมีความจ�าเป็นต้องด�าเนินการใด ๆ ที่เป็นการรอนสิทธิด้วยเหตุแห่งความมั่นคง
XV