Page 174 - รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย ประจำปี 2558
P. 174
รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย ปี ๒๕๕๘
ตารางจ�านวนคนพิการจ�าแนกตามพื้นที่ ณ วันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๘
ภูมิภาค จ�านวน (คน) ร้อยละ
กรุงเทพมหานคร ๗๑,๙๕๔ ๔.๑๔
ภาคกลางและภาคตะวันออก ๓๖๗,๔๐๘ ๒๑.๑๕
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ๖๘๗,๖๐๖ ๓๙.๕๘
ภาคใต้ ๑๙๙,๑๐๕ ๑๑.๔๖
ภาคเหนือ ๔๑๑,๓๙๖ ๒๓.๖๘
รวม ๑,๗๓๗,๔๖๙ ๑๐๐
จากตารางดังกล่าวจะเห็นได้ว่าคนพิการที่สามารถไปลงทะเบียน เพื่อรับบัตรประจ�าตัวคนพิการได้นั้น มีมากที่สุด คือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
รองลงมา คือ ภาคเหนือ เเละกรุงเทพมหานครมีจ�านวนคนพิการที่ไปลงทะเบียนเเละมีบัตรประจ�าตัวคนพิการน้อยที่สุด ทั้งนี้ จากจ�านวน
คนพิการที่ลงทะเบียนทั้งหมด แยกเป็นเพศชาย จ�านวน ๙๓๐,๓๔๗ คน คิดเป็นร้อยละ ๕๓.๕๕ เพศหญิง จ�านวน ๘๐๗,๑๒๒ คน คิดเป็น
ร้อยละ ๔๖.๔๕
>> การศึกษาของคนพิการ
กระทรวงศึกษาธิการได้จัดท�าแผนพัฒนาการศึกษาส�าหรับคนพิการ ระยะ ๕ ปี (พ.ศ. ๒๕๕๕ - ๒๕๕๙) ตามพระราชบัญญัติ บทที่ ๕ สถานการณ์สิทธิมนุษยชนของกลุ่มเปราะบาง
จัดการศึกษาส�าหรับคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๑ (เเก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. ๒๕๕๖) ซึ่งก�าหนดให้คนพิการมีสิทธิและโอกาสได้รับการบริการและ
ความช่วยเหลือทางการศึกษาเป็นพิเศษตั้งแต่แรกเกิดหรือพบความพิการ และจัดบริการทางการศึกษาให้กับเด็กพิการอย่างมีคุณภาพ
และมีประสิทธิภาพ เพื่อให้การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนาการจัดการศึกษาส�าหรับคนพิการของประเทศไทยเป็นไปอย่างต่อเนื่อง
และให้คนพิการได้รับโอกาสทางการศึกษาอย่างทั่วถึง เเต่อย่างไรก็ตาม จากข้อมูลพบว่ายังคงมีคนพิการที่อายุถึงเกณฑ์แต่ไม่ได้รับการศึกษา
จ�านวนมากถึง ๗๔๙,๖๒๘ คน ๒๒๗ ส่วนคนพิการที่ได้รับการศึกษาส่วนใหญ่นั้นจะได้รับการศึกษาในระดับประถมศึกษามากที่สุด
โดยคนพิการที่ได้รับการศึกษาในระดับสูงกว่าปริญญาตรีมีจ�านวนน้อยที่สุด และในช่วงเวลาตั้งแต่ปี ๒๕๕๕ – ๒๕๕๘ ที่ผ่านมานั้น
มีคนพิการที่ไม่ได้รับการศึกษาถึง ๓๒,๑๑๒ คน ๒๒๘
แผนภูมิระดับการศึกษาของคนพิการ
๑.,๐๐๐,๐๐๐
๘๐๒,๙๓๙
๘๐๐,๐๐๐
๖๐๐,๐๐๐
๔๐๐,๐๐๐
๒๐๐,๐๐๐
๑๐๖,๕๗๕
๒๐,๘๐๓ ๑๒,๙๖๙ ๑,๕๖๘
๐ ๑,๘๒๓
ประถมศึกษา มัธยมศึกษา ประกาศนียบัตร อนุปริญญา ปริญญาตรี สูงกว่าปริญญาตรี
ทั้งนี้ ในการเสนอรายงานว่าด้วยสิทธิของคนพิการต่อคณะกรรมการประจ�าอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิของคนพิการ เมื่อวันที่ ๓๐-๓๑ มีนาคม
๒๕๕๙ นั้น คณะกรรมการฯ ได้มีข้อสังเกต (Concluding Observation) ต่อการรับรองสิทธิในการศึกษาของคนพิการในประเทศไทยว่า
รัฐควรมีการฝึกอบรมแก่ครู และบุคลากรทางการศึกษา และควรจัดสร้างสิ่งอ�านวยความสะดวกที่เอื้อต่อการศึกษาของคนพิการให้
เหมาะสมกับคนพิการแต่ละประเภท รวมถึงให้รัฐสนับสนุนให้โรงเรียนและชุมชนด�าเนินการร่วมกันเพื่อส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิทางการ
ศึกษาของคนพิการให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
๒๒๗ รายงานข้อมูล สถานการณ์ด้านคนพิการในประเทศไทย กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ข้อมูลสิ้นสุด ณ วันที่ ๓๑
ธันวาคม ๒๕๕๘
๒๒๘ หนังสือ ส�านักปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ที่ พม ๐๒๑๐/๕๑๑๘ เรื่อง ขอข้อมูลประกอบการจัดท�ารายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนใน
ประเทศไทย ประจ�าปี ๒๕๕๘
144