Page 96 - รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย ประจำปี 2558
P. 96

รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย ปี ๒๕๕๘






              การซ้อมทรมาน ควรให้มีการตรวจร่างกายผู้ที่ถูกควบคุมตัว โดยแพทย์ที่มาจากหน่วยงานภายนอก หรือหากเกิดการเสียชีวิตในระหว่าง
              การควบคุมของเจ้าหน้าที่ ควรเร่งให้มีการชันสูตรพลิกศพโดยทันที ณ ที่เกิดเหตุให้เป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ หากญาติไม่ประสงค์
              ให้มีการชันสูตรพลิกศพควรใช้ทางเลือกอื่น เช่น ใช้เครื่องตรวจวินิจฉัยโรคเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT SCAN) เป็นต้น ๙๗






















              ๔.๒ สถานการณ์ด้านสิทธิเด็ก
              จากสถิติเด็กที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบตั้งแต่ปี ๒๕๔๗ – ปัจจุบัน แม้ว่าจ�านวนเด็กที่เสียชีวิต หรือได้รับบาดเจ็บ
              ในปี ๒๕๕๘ จะมีจ�านวนลดลง แต่เมื่อพิจารณาผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบที่เด็กในพื้นที่ได้รับแล้ว เป็นผลกระทบที่สะสม
              มาเป็นระยะเวลานาน รัฐจ�าเป็นที่จะต้องมีมาตรการหรือแนวทางในการฟื้นฟูเยียวยาเด็กในกลุ่มนี้อย่างเป็นรูปธรรมและเข้าถึงเด็ก
              ที่ได้รับผลกระทบให้มากที่สุด ส�าหรับกรณีการตรวจเก็บ DNA ของเด็กนั้น แม้การกระท�าดังกล่าวจะได้รับความยินยอมจากผู้ซึ่งเป็น
              มารดา อย่างไรก็ดี เจ้าหน้าที่ควรค�านึงถึงความจ�าเป็นและการคุ้มครองสิทธิและประโยชน์สูงสุดของเด็กเป็นส�าคัญ โดยก่อนที่จะด�าเนินการ  บทที่ ๓ สถานการณ์สิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง
              เก็บตัวอย่าง DNA เจ้าหน้าที่ควรแสดงตน ต�าแหน่งหน้าที่และต้นสังกัด พร้อมชี้แจงวัตถุประสงค์ในการตรวจเก็บ DNA ให้กับบุคคล
              ที่เกี่ยวข้องได้รับทราบ รวมถึงในขั้นตอนของการตรวจเก็บควรให้แพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญเป็นผู้ด�าเนินการ โดยต้องก�าชับให้เจ้าหน้าที่
              ที่ต้องกระท�าต่อเนื้อตัวและร่างกายของเด็ก ด�าเนินการให้เป็นไปตามที่กฎหมายก�าหนด ตลอดจนทั้งต้องเก็บรักษาข้อมูลที่เป็นความลับ
                                                                          ๙๘
              ส่วนบุคคล เพื่อลดความหวาดระแวงและสร้างความเชื่อมั่นทางกระบวนการยุติธรรม
              ๔.๓  สถานการณ์ด้านสิทธิสตรี

              จากกรณีผลกระทบจากการก่อเหตุรุนแรงในสถานที่ซึ่งเป็นพื้นที่สาธารณะ ส่งผลให้สตรีที่จ�าเป็นต้องใช้พื้นที่สาธารณะในการ
              ด�าเนินชีวิตประจ�าวันได้รับผลกระทบต่อชีวิต ร่างกาย และทรัพย์สินนั้น ผู้ใช้ก�าลังอาวุธทุกฝ่ายควรต้องยุติการก่อเหตุรุนแรงในพื้นที่
                     ๙๙
              สาธารณะ  เพื่อไม่ให้สตรีและกลุ่มประชากรที่มีความเปราะบางได้รับผลกระทบที่น�าไปสู่การเสียชีวิต บาดเจ็บ พิการ และควรหาทางออก
              โดยวิธีทางการเมืองในวิถีทางสันติ หลีกเลี่ยงการใช้ก�าลังอาวุธ เพื่อสร้างพื้นที่ปลอดภัยส�าหรับสตรีและทุกคนในชายแดนใต้
              ส�าหรับมิติการเข้าถึงความยุติธรรมของสตรีมุสลิมในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้นั้น ผู้น�าศาสนาและผู้น�าชุมชนควรร่วมกันสร้างกติกา
              ในพื้นที่เพื่อป้องกันความรุนแรงต่อสตรีในทุกรูปแบบ และควรค�านึงถึงการมีส่วนร่วมในกระบวนการตัดสินใจของสตรีในรูปแบบต่าง ๆ
              อาทิ การจัดตั้งคณะอนุกรรมการประจ�ามัสยิดเพื่อดูแลแก้ไขปัญหาความรุนแรงและการเข้าถึงความยุติธรรมของสตรีท้องถิ่น โดยมี
              สตรีเข้าร่วมเป็นอนุกรรมการหรือให้มีที่ปรึกษากรรมการมัสยิดเป็นสตรี ตลอดจนการมีส่วนร่วมของสตรีในกรรมการกลางอิสลาม
              แห่งประเทศไทย เพื่อร่วมกันวางกฎเกณฑ์ ข้อก�าหนดในเรื่องต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อการคุ้มครองสตรี เช่น การแต่งงาน ความสัมพันธ์และ
              สิทธิหน้าที่ระหว่างสามี-ภรรยา  บทลงโทษจากการใช้ความรุนแรงต่อสตรีจากคนในครอบครัว  สิทธิในการหย่าร้างและการจัดการทรัพย์สิน/
              มรดกภายหลังการหย่าร้าง เป็นต้น นอกจากนี้ รัฐโดยส�านักจุฬาราชมนตรีควรจัดให้มีการให้ความรู้แก่ผู้น�าศาสนาทั่วประเทศในเรื่อง
              การใช้หลักการเชิงบวกของศาสนาอิสลามเพื่อเสริมสร้างความเสมอภาคทางเพศและการเข้าถึงความยุติธรรมของสตรี
                                                                                                  ๑๐๐

              ๙๗  คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ, “รายงานผลการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่ ๑๐๒/๒๕๕๙”, ลงวันที่ ๒๙ กรกฎาคม ๒๕๕๙
              ๙๘   คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ, “รายงานผลการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่ ๑๑๑/๒๕๕๙”, ลงวันที่ ๑๖ สิงหาคม ๒๕๕๙
              ๙๙   คณะท�างานวาระผู้หญิงชายแดนใต้ เนื่องในโอกาส วันยุติความรุนแรงต่อสตรีสากล, “แถลงการณ์ ฉบับที่ ๒  เรื่อง  ข้อเสนอว่าด้วยพื้นที่สาธารณะที่ปลอดภัยส�าหรับผู้หญิง”, www.
              deepsouthwatch.org/dsj/7810 (สืบค้นเมื่อวันที่ ๖ มิถุนายน ๒๕๕๙)
              ๑๐๐   คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ, “เอกสารประกอบการสัมมนา เรื่อง แนวปฏิบัติเพื่อส่งเสริมการเข้าถึงความยุติธรรมของผู้หญิงมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้”
                                                                                                           66
   91   92   93   94   95   96   97   98   99   100   101