Page 35 - สรุปผลการสัมมนา เรื่อง ธุรกิจท่องเที่ยวและการโรงแรมกับการเคารพสิทธิมนุษยชน ตามหลักการชี้แนะของสหประชาชาติ ตามกรอบงานขององค์การสหประชาชาติ ในการคุ้มครอง เคารพ และเยียวยา : วันที่ 17 มิถุนายน 2559 ณ โรงแรมกะตะบีช รีสอร์ทแอนด์ สปา จังหวัดภูเก็ต
P. 35

34



                                     พื้นฐานของธุรกิจโรงแรมเป็นธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับคน จึงต้องระวังมากเกี่ยวกับการบริหาร
               บุคลากร หากมีการออกกฎหรือให้เงินเดือนที่ไม่เหมาะสมก็เป็นสิ่งที่บั่นทอนพนักงาน และมีผลกระทบถึง

               การบริการลูกค้าเพราะพนักงานไม่สามารถระบายความเครียดกับผู้บริหารได้ สุดท้ายแล้วผลกระทบก็ตกกับ
               ผู้ประกอบการ
                                 หลักธรรมาภิบาลโดยทั่วไปเป็นเรื่องนามธรรม แต่ส าหรับภาคธุรกิจโรงแรมถือเป็นเรื่อง

               รูปธรรม โดยสามารถท าให้ธรรมาภิบาลเกิดขึ้นเหมือนการบริหารประเภทหนึ่ง ประกอบด้วย นโยบายที่ดี
               ยุทธศาสตร์ที่ดี และโครงสร้างที่ดี เนื่องจากธุรกิจโรงแรมขายความเชื่อถือและสิ่งที่นักท่องเที่ยวคาดว่าจะได้รับ

               การมีหลักธรรมาภิบาลของธุรกิจ จะส่งผลต่อความยั่งยืนขององค์กร เพราะเป็นการสร้างความน่าเชื่อถือ
               ระหว่างธุรกิจและบุคคลที่มีส่วนได้ส่วนเสียต่อธุรกิจ แบ่งได้เป็น ๑) บุคคลภายใน  ได้แก่ พนักงานต่างๆ โดยจะ

               ส่งผลให้พนักงานมีความเชื่อมั่นต่อองค์กรและเมื่อพนักงานเชื่อมั่นแล้วก็พร้อมท างานด้วยความสมัครใจ ปัญหา
               ขององค์กรก็จะลดลงตามไป ๒) บุคคลภายนอก  โดยมีผลต่อการสร้างภาพลักษณ์ เช่น ต่อลูกค้า

                                  ในส่วนกิจกรรมบรรษัทบริบาล (Corporate Social Responsibility-CSR)  ส าคัญต่อธุรกิจ
               อย่างมาก ยกตัวอย่าง กิจกรรมการกุศลทั่วไป โดยส่วนตัวยอมรับว่ากิจกรรมทางสังคมนั้นท าเพื่อหวังผล คือ
               ความเชื่อถือของพนักงานที่เกิดขึ้นและตกอยู่กับการบริการต่อลูกค้าของพนักงาน ซึ่งในการท ากิจกรรม

               เมื่อลูกค้าที่มาพักทราบก็เป็นการสื่อสารประชาสัมพันธ์ไปในตัว เปรียบเทียบได้ว่าหากมีโรงแรมที่เหมือนกัน
               ทุกประการอยู่สองโรงแรม หากโรงแรมหนึ่งมีการจัดการ CSR ที่ดีกว่าก็จะส่งผลให้ลูกค้าใช้บริการของโรงแรม

               ที่มีการจัดการ CSR ดีกว่าอย่างแน่นอน
                                     นายภูริต  มาศวงศ์ศา  ประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวจังหวัดภูเก็ต  อภิปรายว่า
                                      สหประชาชาติมีอิทธิพลต่อเอเชียอย่างสูง โดยเฉพาะประเทศไทย จุดเริ่มต้นอาจเกิดจาก

               ที่มีนักท่องเที่ยวโดยเฉพาะกลุ่มประเทศแถบสแกนดิเนเวีย เข้ามาท่องเที่ยวแล้วพบการใช้แรงงานเด็ก ซึ่งเห็น

               ว่า มีการละเมิดสิทธิมนุษยชน ในประเทศไทย จากเหตุดังกล่าว จึงท าให้เกิดสัญญาต่างๆ ที่บังคับไทยมาจนถึง
               ปัจจุบัน แต่แท้จริงแล้วได้มีการชี้แจงว่า เรื่องนี้เป็นเรื่องขนบธรรมเนียมไทยไม่ใช่การใช้แรงงานเด็ก เพราะเป็น
               เรื่องที่พ่อแม่สอนให้เด็กช่วยเหลือครอบครัวเพื่อให้เจริญเติบโตขึ้นไปอย่างมีความรับผิดชอบ เป็นการสะท้อน

               ว่าให้เห็นว่า ขนบธรรมเนียมที่แตกต่างกันในแต่ละสังคมก็มีสิทธิที่แตกต่างกันด้วย ซึ่งเรื่องขนบธรรมเนียมที่ดีก็
               ควรมีจุดยืนในการปฏิบัติต่อไปแต่อย่างไรก็ตามเมื่อมีข้อบังคับมาแล้ว ที่สิ่งที่ควรท าต่อไปก็คือ ประโยชน์

               ร่วมกันในการเคารพสิทธิมนุษยชนซึ่งกันและกัน เพื่อให้เราอยู่ร่วมกันได้ในระบบของโลกที่เปลี่ยนแปลง
               โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระบบธุรกิจ
                                  ในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและการโรงแรม ปัจจุบันเป็นตลาดของผู้ซื้อ กล่าวคือ ผู้ซื้อ

               สามารถเลือกตลาดหรือข้อก าหนดให้ผู้ค้าท าตามได้ ซึ่งผู้ซื้อส่วนใหญ่ของไทยคือกลุ่มประเทศสแกนดิเนเวีย
               โดยเป็นกลุ่ม  ประเทศที่มีสิทธิและเสียงส่วนใหญ่ในเวทีสหประชาชาติ จากเหตุนี้ ท าให้มีการน าข้อบังคับต่างๆ

               ที่ประเทศไทยเข้าร่วมเป็นภาคีมาบีบบังคับให้ผู้ค้าต้องท าตลาดตามใจผู้ซื้อ จึงเกิดเป็น Hotel Contract
               Rated ต่างๆ การที่ผู้ค้าต้องยอมรับก็เพื่อเหตุผลทางธุรกิจ เพราะตัวแทนธุรกิจจากกลุ่มประเทศดังกล่าวเป็น

               ผู้หาลูกค้าให้ จากการยินยอมดังกล่าว มีผลท าให้รัฐออกเป็นกฎหมายเพื่อให้ทุกองค์กรปฏิบัติไปทิศทาง
               เดียวกัน เช่น ตามกฎหมายแรงงาน กฎหมายรัฐธรรมนูญ เป็นต้น ซึ่งเป็นการตีกรอบเรื่องสิทธิมนุษยชน

                                   พิจารณาจากหลักการ UNGP สรุปได้ว่า
               น ำเสนอเพื่อพิจำรณำในกำรประชุมคณะอนุกรรมกำรด้ำนสิทธิทำงเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม
               ครั้งที่ 19/2559 วันจันทร์ที่ 4 กรกฎำคม 2559
   30   31   32   33   34   35   36   37   38   39   40