Page 37 - สรุปผลการสัมมนา เรื่อง ธุรกิจท่องเที่ยวและการโรงแรมกับการเคารพสิทธิมนุษยชน ตามหลักการชี้แนะของสหประชาชาติ ตามกรอบงานขององค์การสหประชาชาติ ในการคุ้มครอง เคารพ และเยียวยา : วันที่ 17 มิถุนายน 2559 ณ โรงแรมกะตะบีช รีสอร์ทแอนด์ สปา จังหวัดภูเก็ต
P. 37
36
นายศึกษิต สุวรรณดิฐกุล อุปนายกสมาคมโรงแรมไทยภาคใต้ อภิปรายว่า
โดยภาพรวมโรงแรมในจังหวัดภูเก็ต ประมาณ ๒,๐๘๕ โรงแรม โดยสมาคมโรงแรมไทย
ภาคใต้มีสมาชิกอยู่ประมาน ๑๖๒ โรงแรม ซึ่งเป็นโรงแรมที่จดทะเบียนอย่างถูกต้อง และถูกตรวจสอบจาก
ภาครัฐอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง แรงงานหรือสิ่งแวดล้อม โรงแรมเหล่านี้ก็จะมีการปฏิบัติตามกฎหมาย
อย่างเคร่งครัด แต่เหตุใดทางสหประชาชาติต้องมาออกกฎข้อบังคับเรื่องสิทธิมนุษยชนกับทางประเทศทาง
ตะวันออกนั้น มีความเห็นว่า มีสาเหตุมาจากบางประเทศยังไม่พัฒนาถึงขนาดมีการควบคุมในเรื่องเหล่านี้จึง
ต้องน าข้อก าหนดของสหประชาชาติมาช่วยแก้ไขปัญหา แต่ในประเทศไทยนั้น ในหลายๆเรื่องมีกฎหมาย
รองรับอยู่แล้ว เช่น กฎหมายแรงงานบังคับเรื่องแรงงานเด็ก ซึ่งในประเทศไทยไม่มีการจ้างแรงงานเด็กอายุต่ า
กว่า ๑๕ ปี ที่ตรงกับข้อก าหนดของสหประชาชาติอยู่แล้ว แต่เรื่องค่านิยมขนบธรรมเนียมของสังคมไทย
อย่างในกรณีลูกช่วยเหลือพ่อแม่ในการท างานของกิจการครอบครัวนั้น ทางสหประชาชาติอาจยังไม่เข้าใจใน
เรื่องเหล่านี้
เรื่องสิทธิมนุษยชนเป็นเรื่องที่เป็นสากล คือ แม้ว่าจะอยู่ที่ใดก็ต้องได้รับความคุ้มครองสิทธิ
แต่ในขณะเดียวกัน ในแต่ละท้องที่ก็มีค่านิยมหรือขนบธรรมเนียมที่ต้องให้ความเคารพแตกต่างกัน ซึ่งก็ไม่
สามารถบอกได้ว่าเรื่องใดถูกหรือผิด ในวันนี้จะขออภิปรายถึงสิทธิมนุษยชนที่เป็นกลางอันสามารถใช้ได้ทุก
ท้องที่
เรื่องการแบ่งประเภทลูกค้า แต่เดิมอาจมีข้อบังคับภายใน เพื่อเลือกลูกค้าไม่ว่าจะเป็นเรื่อง
สัญชาติหรือประเภทแขก เช่น ไม่รับเด็ก เป็นต้น แต่ปัจจุบันโรงแรมต้องยกเลิกข้อบังคับนี้ออกไปเพราะ
มีความเป็นสากลขึ้นมากแล้ว โดยเริ่มจากการเรียนรู้วัฒนธรรม การเรียนรู้ว่าแขกต้องอยู่ร่วมกัน แต่ก็อาจยัง
มีแขกบางประเภทที่ไม่เปิดรับเช่นกันแต่เป็นเรื่องที่โรงแรมต้องบริหารจัดการ เพราะหากองค์กรต่างๆ
ให้ความส าคัญเกี่ยวกับเรื่องสิทธิมนุษยชนก็ต้องเปิดกว้าง ซึ่งการสื่อสารให้พนักงานเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องสิทธิ
มนุษยชนเป็นเรื่องที่ดีเพื่อให้พนักงานมีความเข้าใจเปิดกว้างในการบริการ เพราะเมื่อมีปัญหาระหว่างลูกค้าบาง
ชาติก็จะได้สามารถสื่อสารให้ลูกค้าเข้าใจกันได้ และจะเป็นภาพลักษณ์ที่ดีต่อองค์กรด้วย
ในส่วนของธุรกิจโรงแรม เรื่องสิทธิมนุษยชนจริงๆแล้วเป็นเรื่องที่พนักงานและองค์กรธุรกิจ
ต่างๆ ได้ท าอยู่แล้ว เช่น ในกิจกรรม CSR เพียงแต่ไม่ได้มีการประกาศออกไปสู่สาธารณะเท่านั้น ซึ่งการสื่อสาร
เรื่องสิทธิมนุษยชนหากต้องการให้พนักงานตระหนักถึงเรื่องสิทธิมนุษยชน ทางองค์กรต้องสื่อสารให้พนักงาน
เข้าใจ เกิดการเคารพสิทธิมนุษยชนซึ่งกันและกันไม่ว่าจะเป็นภายในองค์กรหรือต่อภายนอกก็ตาม เช่น โรงแรม
ในเครือดีวาน่า (Divana) ได้จัดท าเป็น Divana’s magazine โดยที่พนักงานทุกส่วนสามารถน าเสนอเรื่องราว
ได้โดยมีเนื้อหาที่สื่อสารถึงเรื่องราวดีๆที่เกิดขึ้น ความเคารพสิทธิมนุษยชนซึ่งกันและกัน เรื่องลูกหลานของ
พนักงานหรือเรื่องของตัวพนักงานเองก็ให้ความส าคัญ หากมีกิจกรรมดีๆที่ให้ความส าคัญเกี่ยวกับเรื่องสิทธิ
มนุษยชนก็จะมีการสื่อสารในนิตยสารขององค์กรเพื่อปลูกฝังพนักงานไปในตัว
ตามหลักการ UNGP มีอยู่สามเสาหลัก ประกอบด้วย การคุ้มครอง การเคารพ และการ
เยียวยา ในส่วนการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน ตามที่นายภูริต มาศวงศ์ศา ประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว
จังหวัดภูเก็ตได้อภิปรายว่า รัฐมีบทบาทเป็นผู้สนับสนุนและชี้แนะโดยมีกฎหมายเป็นผู้บังคับ สิ่งที่ส าคัญคือการ
ปลูกฝังและกระตุ้นภาคธุรกิจ ซึ่งจริงๆแล้วกฎหมายบังคับขั้นพื้นฐาน แต่ทางปฏิบัติแต่ละองค์กรสามารถปฏิบัติ
ได้ดีกว่าที่กฎหมายบังคับด้วยซ้ าหากมีการชี้แนะให้ผู้ปฏิบัติมีความตระหนักได้ ซึ่งการเคารพสิทธิมนุษยชนของ
น ำเสนอเพื่อพิจำรณำในกำรประชุมคณะอนุกรรมกำรด้ำนสิทธิทำงเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม
ครั้งที่ 19/2559 วันจันทร์ที่ 4 กรกฎำคม 2559