Page 36 - สรุปผลการสัมมนา เรื่อง ธุรกิจท่องเที่ยวและการโรงแรมกับการเคารพสิทธิมนุษยชน ตามหลักการชี้แนะของสหประชาชาติ ตามกรอบงานขององค์การสหประชาชาติ ในการคุ้มครอง เคารพ และเยียวยา : วันที่ 17 มิถุนายน 2559 ณ โรงแรมกะตะบีช รีสอร์ทแอนด์ สปา จังหวัดภูเก็ต
P. 36

35



                                   ๑. การจัดการของรัฐ  โดยรัฐมีบทบาทเป็นผู้สนับสนุนและสร้างให้เกิดทางการเคารพสิทธิ
               มนุษยชนไม่ใช่รัฐเป็นผู้บังคับ แต่กฎหมายเท่านั้นเป็นผู้บังคับโดยรัฐเป็นผู้เอื้อให้เกิดช่องทางเข้าสู่การบังคับตาม

               กฎหมาย ซึ่งหลักเกณฑ์ที่ส าคัญที่สุดของหลักการ UNGP คือการใช้กฎหมายอย่างยุติธรรมและเสมอภาค
               ปัญหาในปัจจุบัน คือ เราถูกละเลยจากการใช้กฎหมายโดยคนของรัฐเพื่อเอื้ออ านวยให้เกิดสิทธิมนุษยชนใน
               ภาคธุรกิจ โดยคนของรัฐ ได้แก่ ผู้สร้างนโยบายด้านกฎหมาย ผู้ก ากับนโยบายด้านกฎหมาย ผู้ปฏิบัติตามโน

               บายตามกฎหมาย
                                   ๒. ข้อแนะน า เรื่องการปฏิบัติการขององค์กรธุรกิจในการเคารพสิทธิมนุษยชนตามนโยบาย

               ของรัฐตามข้อ ๑. นั้น การปฏิบัติงานขององค์กรธุรกิจที่เคารพสิทธิมนุษยชนไม่ใช่การเคารพสิทธิมนุษยชน
               เฉพาะพนักงานภายในองค์กร แต่ต้องรวมถึงการเคารพต่อด้านอื่นๆ เช่น สิ่งแวดล้อมด้วย ซึ่งหลักพื้นฐานใน

               การปฏิบัติของภาคธุรกิจ คือ ต้องมีจริยธรรมทางธุรกิจ ซึ่งประกอบด้วย 1) การผลิตสินค้าที่มีคุณภาพโดยไม่
               โกง 2) ไม่ใช้วัตถุดิบที่มาจากการละเมิดสิทธิมนุษยชน โดยถูกต้องตามกฎหมายและสามารถบอกได้ว่าการ

               ด าเนินการตลอดสายในภาคธุรกิจไม่มีการละเมิดสิทธิมนุษยชน
                                   ๓. ตามหลักการ UNGP ในเรื่องความจ าเป็นที่จะต้องมีมาตรการสอดคล้องกับการเยียวยา
               โดยหลักแล้วมีกฎหมายที่มีการบังคับให้หน่วยงานต่างๆต้องท าอยู่แล้ว แต่สิ่งที่จะเกิดขึ้นนอกเหนือจาก

               กฎหมาย คือ จากจริยธรรมธุรกิจ ดังนี้
                                          ๑) เรื่อง CSR  ซึ่งเป็นเรื่องที่องค์กรส่วนใหญ่ปฏิบัติกันอยู่แล้ว

                                          ๒) การธรรมาภิบาล ไม่ว่าจะเป็นหลักอาชีวอนามัยและความปลอดภัย (Occupation
               Health Safety-OHS) หรือการเคารพสิทธิมนุษยชนในรูปแบบการบริหารงานบุคคล (HR) เช่น ให้มีการ
               ปฏิบัติงานที่มีความปลอดภัยในสถานที่ท างาน การได้รับสิทธิการได้รับการรักษาพยาบาล เป็นต้น

                                          ๓) การเยียวยาบุคลากรโดยตรง เนื่องจากธุรกิจอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและโรงแรม

               เป็นธุรกิจที่ค่อนข้างผิดเวลา จากงานวิจัยในธุรกิจโรงแรมร้อยละ ๕๐ ของการท างานคือเรื่อง ทักษะ
               ประสบการณ์และความชอบ อีกร้อยละ ๕๐ คือเรื่องความพึงพอใจ เมื่อใดที่เกิดความไม่พอใจเกินกว่าร้อยละ
               ๕๐ ก็จะมีการลาออกเปลี่ยนงานเกิดขึ้น ซึ่งท าให้พนักงานในธุรกิจโรงแรมมีการลาออกและเปลี่ยนงานกันบ่อย

               จึงต้องมี การรองรับการออกจากงาน เงินทดแทน เป็นต้น ซึ่งมีกฎหมายรองรับอยู่แล้ว
                                     ในส่วนข้อตกลงในทวิภาคีต่างๆในปัจจุบัน มีการโยงเรื่องแรงงานกับเรื่องสิทธิมนุษยชนเข้า

               มาเกี่ยวข้องกับการค้าระหว่างประเทศด้วย และมีการบังคับใช้ภาคธุรกิจโดยผ่านช่องทางกฎหมายแรงงาน
               ซึ่งจากข้อตกลงของประชาคมอาเซียน ชาวต่างชาติสามารถเข้ามาเป็นแรงงานในประเทศได้โดยมีข้อก าหนด
               เรื่อง ใบรับรอง (Certificated) แต่ปัญหาคือประเทศไทยยังก าหนดข้อบังคับไม่ทัน รวมทั้งมีผลต่อการเรื่องสิทธิ

               มนุษยชนที่ก าหนดให้มีการปฏิบัติอย่างเท่าเทียมกัน ซึ่งข้อก าหนดของสหประชาชาติมักเอื้อแก่ต่างชาติจนท า
               ให้แรงงานต่างชาติเหลื่อมล้ ากับแรงงานไทย แล้วจะแก้ปัญหาให้แรงงานไทยอย่างไร

                                   สุดท้ายนี้ สรุปว่า จากหลักการ UNGP นั้น แม้ว่ารัฐจะมีการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนอยู่
               แล้วแต่สิ่งที่ยังขาด คือ รัฐต้องใช้กฎหมายอย่างยุติธรรมและเสมอภาค และต้องอยู่ในฐานะเป็นผู้สนับสนุนและ

               ชี้แนะให้เกิดการเคารพสิทธิมนุษยชนของภาคธุรกิจ เช่น การออกข้อบังคับกฎหมายในน าหลัก OHS มาใช้กับ
               เรื่องสาธารณสุขในระบบธุรกิจโรงแรม เช่น F&B Room ฯลฯ


               น ำเสนอเพื่อพิจำรณำในกำรประชุมคณะอนุกรรมกำรด้ำนสิทธิทำงเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม
               ครั้งที่ 19/2559 วันจันทร์ที่ 4 กรกฎำคม 2559
   31   32   33   34   35   36   37   38   39   40   41