Page 38 - สรุปผลการสัมมนา เรื่อง ธุรกิจท่องเที่ยวและการโรงแรมกับการเคารพสิทธิมนุษยชน ตามหลักการชี้แนะของสหประชาชาติ ตามกรอบงานขององค์การสหประชาชาติ ในการคุ้มครอง เคารพ และเยียวยา : วันที่ 17 มิถุนายน 2559 ณ โรงแรมกะตะบีช รีสอร์ทแอนด์ สปา จังหวัดภูเก็ต
P. 38
37
องค์กรธุรกิจต่างๆ เห็นว่าควรที่น าหลักการ UNGP มาสื่อสารให้กับพนักงานในทางที่เห็นว่าเหมาะสม เพราะ
หลักการ UNGP เป็นหลักการที่ก าหนดกว้างๆ โดยที่ไม่ได้ก าหนดว่าเรื่องใดถูกหรือผิด แต่เป็นการเน้นให้
พนักงานใช้วิจารณญาณในการเคารพสิทธิมนุษยชนของผู้อื่น โดยการด าเนินการต่อไป ธุรกิจโรงแรมสามารถ
ท าเป็นคู่มือให้พนักงานรู้ถึงสิทธิมนุษยชนของตัวเองและท าคู่มือให้พนักงานตระหนักถึงการเคารพสิทธิ
มนุษยชน
ในเรื่องหลักการเยียวยาเป็นเรื่องหนึ่งที่มีความส าคัญ ซึ่งอาจมีบางกรณีที่ไม่ถูกต้องตามหลัก
สิทธิมนุษยชนแต่ไม่สามารถเข้าสู่กระบวนการทางศาลได้ ทางองค์กรก็ต้องเป็นผู้เยียวยาให้แก่พนักงานโดยมี
การก าหนดนโยบายหรือแผนการการเยียวยา
สุดท้ายนี้ ในฐานะผู้บริหารของธุรกิจโรงแรมในเครือดีวาน่า ขอเป็นส่วนหนึ่งใน
การประชาสัมพันธ์หลักการ UNGP เพื่อสร้างประโยชน์ให้กับอุตสาหกรรมโรงแรมต่อไป
ช่วงสอบถามแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้เข้าร่วมสัมมนาฯ
ผศ. โอม หุวะนันท์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม สาขา
เศรษฐกิจ มีความเห็นว่า
หลักการ UNGP ซึ่งประกอบด้วยหลักการส าคัญ คือ การคุ้มครอง การเคารพสิทธิมนุษยชน
และการเยียวยา เริ่มแรกค าว่าสิทธิมนุษยชนในภาคธุรกิจยังไม่เป็นรูปธรรม แต่หลักการ UNGP ที่แม้ไม่มีสภาพ
บังคับ ก็เปรียบเสมือนไฟฉายส่องทางของสหประชาชาติที่ท าให้ภาคเอกชนตระหนักถึงการเคารพ
สิทธิมนุษยชน ปลูกฝังให้มีความเห็นใจซึ่งความสมัครใจน่าจะเป็น keyword ที่จะท าให้ทางบริษัทเห็น
ความส าคัญเรื่องนี้ และให้ภาครัฐเข้ามาด าเนินการป้องกันดูแลให้ภาคธุรกิจเคารพสิทธิมนุษยชน เช่น การดูแล
พนักงานตามหลักสิทธิมนุษยชน
จากการรับฟังภาคธุรกิจการโรงแรมจังหวัดภูเก็ตในช่วงเช้า พบข้อมูลว่า โรงแรมระดับสูงนั้น
ไม่มีปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชน แต่ในโรงแรมระดับล่าง ๑-๒ ดาว นั้นยังเข้าไม่ถึงเรื่องสิทธิมนุษยชน
เพราะฉะนั้น เราจะมีกลยุทธ์หรือแผนการอย่างไรในการให้การแนะน า ช่วยเหลือ สนับสนุน การด าเนินธุรกิจ
ให้ค านึงถึงสิทธิมนุษยชนแก่โรงแรมเหล่านั้น เห็นด้วยกับนายภูริต มาศวงศ์ศา ประธานสภาอุตสาหกรรม
ท่องเที่ยวจังหวัดภูเก็ต ที่อภิปรายถึงการให้ความส าคัญกับเอกลักษณ์ขนบธรรมเนียมประเพณี ซึ่งจะท าอย่างไร
ให้สหประชาชาติเข้าใจและเข้าถึงพื้นฐานการแสดงออกถึงขนบธรรมเนียมของประเทศหรือฝ่ายตะวันออก
๑๐) สรุปและกล่าวปิดการสัมมนา
นางประกายรัตน์ ต้นธีรวงศ์ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติและประธานอนุกรรมการ
ด้านสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม กล่าวปิดการประชุม
ขอขอบคุณภาคธุรกิจการท่องเที่ยวและการโรงแรม วิทยากร และผู้เข้าร่วมทุกท่าน ในวันนี้
กสม.เข้ามาด าเนินการในบทบาทด้านการส่งเสริมซึ่งเป็นงานเชิงรุกไม่ใช่งานด้านการตรวจสอบ บทบาทของ
กสม.อีกด้าน คือการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน ซึ่ง กสม.ด าเนินการโดยท าหน้าที่คล้ายตุลาการแต่ไม่มีอ านาจ
ชี้ขาดได้และในฐานะเป็นหน่วยงานเฝ้าระวัง ซึ่งในขณะเดียวกันก็ด าเนินการส่งเสริมสิทธิมนุษยชนไปด้วย
น ำเสนอเพื่อพิจำรณำในกำรประชุมคณะอนุกรรมกำรด้ำนสิทธิทำงเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม
ครั้งที่ 19/2559 วันจันทร์ที่ 4 กรกฎำคม 2559