Page 43 - รวมพระราชบัญญัติ ระเบียบ และแนวปฏิบัติ ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (ฉบับพกพา)
P. 43

๓๗



                                                         หน้า   ๙

               เล่ม   ๑๓๓   ตอนพิเศษ   ๑๙๙   ง       ราชกิจจานุเบกษา                   ๖   กันยายน   ๒๕๕๙



                       ข้อ  ๒๗  ถ้าปรากฏว่าคู่กรณียินยอมตกลงแก้ไขปัญหาและผู้ไกล่เกลี่ยเห็นว่าข้อตกลงนั้น
               อยู่ในกรอบของการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน  ให้ผู้ไกล่เกลี่ยจัดทําข้อตกลงระหว่างคู่กรณีเป็นหนังสือไว้
               หรืออาจให้เจ้าหน้าที่ศูนย์ไกล่เกลี่ยหรือเจ้าหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้จัดทําให้ก็ได้
                       ข้อ  ๒๘  ข้อตกลงระหว่างคู่กรณีตามข้อ  ๒๗  อย่างน้อยต้องประกอบด้วย

                       (๑)  สถานที่ดําเนินการไกล่เกลี่ย
                       (๒)  วัน  เดือน  ปี  ที่ดําเนินการไกล่เกลี่ย

                       (๓)  ชื่อและที่อยู่ของคู่กรณี
                       (๔)  รายละเอียดข้อตกลง
                       (๕)  ลายมือชื่อหรือลายพิมพ์นิ้วมือของคู่กรณี  และพยานอย่างน้อยสองคน

                       (๖)  ลายมือชื่อหรือลายพิมพ์นิ้วมือของผู้ดําเนินการไกล่เกลี่ย
                       (๗)  การรักษาความลับในการไกล่เกลี่ย

                       ก่อนการลงลายมือชื่อตามวรรคหนึ่ง  ผู้ไกล่เกลี่ยต้องอ่านข้อตกลงให้คู่กรณีฟัง  และให้คู่กรณี
               มีเวลาตามสมควรในการพิจารณารายละเอียดในบันทึกข้อตกลงด้วย
                       ข้อตกลงระหว่างคู่กรณีตามวรรคหนึ่งให้จัดทําเป็นสามฉบับ  เพื่อมอบให้กับคู่กรณีฝ่ายละหนึ่งฉบับ

               และเก็บไว้ในสํานวนไกล่เกลี่ยหนึ่งฉบับ
                       ข้อ  ๒๙  หากคู่กรณีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ลงลายมือชื่อหรือลายพิมพ์นิ้วมือในข้อตกลง  ให้ผู้ไกล่เกลี่ย

               ยุติการไกล่เกลี่ยและรายงานผลการไกล่เกลี่ยต่อคณะกรรมการเพื่อพิจารณาตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน
               ตามอํานาจหน้าที่ต่อไป
                       ข้อ  ๓๐  ผู้ไกล่เกลี่ยต้องปฏิบัติตามระเบียบ  ข้อบังคับ  ประกาศหรือหลักเกณฑ์ใด ๆ  เกี่ยวกับ

               การไกล่เกลี่ย  รวมทั้งควบคุมให้การไกล่เกลี่ยอยู่ในกรอบของการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและเป็นไปด้วย
               ความเรียบร้อยโดยคํานึงถึงความสุจริต  เป็นธรรม  และประโยชน์สูงสุดของคู่กรณีเป็นสําคัญ

                                                        ส่วนที่  ๕

                                             การสิ้นสุดแห่งกระบวนการไกล่เกลี่ย


                       ข้อ  ๓๑  ในกรณีดังต่อไปนี้ให้ถือว่ากระบวนการไกล่เกลี่ยสิ้นสุดลง
                       (๑)  คู่กรณีตกลงระงับการไกล่เกลี่ยด้วยการถอนคําร้อง  หรือคณะกรรมการได้จัดทําข้อตกลง
               ระหว่างคู่กรณีเป็นหนังสือ

                       (๒)  คู่กรณีตกลงระงับข้อพิพาทเป็นผลสําเร็จบางประเด็นและไม่ติดใจให้ไกล่เกลี่ยในประเด็น
               ที่เหลืออยู่

                       (๓)  คู่กรณีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ประสงค์ให้ทําการไกล่เกลี่ยอีกต่อไป
                       (๔)  คู่กรณีไม่สามารถตกลงกันได้ภายในระยะเวลาที่กําหนด  หรือมีเหตุอื่นที่ทําให้กระบวนการ
               ไกล่เกลี่ยไม่สามารถดําเนินการต่อไปได้  เช่น  คู่กรณีไม่สมัครใจมาร่วมประชุมไกล่เกลี่ย
   38   39   40   41   42   43   44   45   46   47   48