Page 48 - รวมพระราชบัญญัติ ระเบียบ และแนวปฏิบัติ ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (ฉบับพกพา)
P. 48
๔๒
หน้า ๒๓
เล่ม ๑๓๓ ตอนที่ ๘๓ ก ราชกิจจานุเบกษา ๒๓ กันยายน ๒๕๕๙
ในกรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบียบนี้ ให้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
เป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาด
หมวด ๑
ผู้ชํานาญการประจําคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
ข้อ ๖ ให้ประธานกรรมการ กรรมการ หรือสํานักงาน พิจารณาเสนอรายชื่อบุคคล
ที่เห็นสมควรแต่งตั้งให้เป็นผู้ชํานาญการต่อคณะกรรมการเพื่อพิจารณาแต่งตั้งต่อไป
การแต่งตั้งผู้ชํานาญการ ให้ประธานกรรมการเป็นผู้ออกคําสั่งโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการ
ทั้งนี้ ไม่เกินจํานวนอัตราที่กําหนดในบัญชีท้ายระเบียบนี้
ให้สํานักงานเป็นผู้ตรวจสอบคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของผู้ที่จะแต่งตั้งให้เป็นผู้ชํานาญการ
เพื่อให้เป็นไปตามที่กําหนดในระเบียบนี้
ข้อ ๗ ผู้ชํานาญการต้องมีคุณสมบัติทั่วไปและไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้
(๑) มีสัญชาติไทย
(๒) มีอายุไม่ต่ํากว่าสี่สิบปี
(๓) ไม่เป็นบุคคลล้มละลายซึ่งศาลยังไม่สั่งให้พ้นคดี หรือมีหนี้สินล้นพ้นตัว
(๔) ไม่เป็นบุคคลที่เคยต้องคําพิพากษาให้จําคุกตั้งแต่สองปีขึ้นไป โดยได้พ้นโทษมายังไม่ถึงห้าปี
ในวันได้รับการแต่งตั้ง เว้นแต่ในความผิดอันได้กระทําโดยประมาท
(๕) ไม่เคยถูกไล่ออก ปลดออก หรือให้ออกจากราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ
หรือราชการส่วนท้องถิ่น เพราะกระทําผิดวินัยอย่างร้ายแรง
(๖) ไม่เคยถูกถอดถอนจากตําแหน่ง
(๗) ไม่เคยต้องคําพิพากษาหรือคําสั่งของศาลให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดิน เพราะมีทรัพย์สิน
เพิ่มขึ้นผิดปกติ หรือร่ํารวยผิดปกติ
(๘) ไม่เคยถูกคณะกรรมการวินิจฉัยว่าเป็นผู้ละเมิดสิทธิมนุษยชนหรือมีการปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม
(๙) ไม่ติดยาเสพติดให้โทษ
ข้อ ๘ ผู้ชํานาญการต้องมีคุณสมบัติเฉพาะ ดังต่อไปนี้
(๑) เป็นผู้สําเร็จการศึกษาไม่ต่ํากว่าปริญญาตรีในสาขาที่เกี่ยวข้อง หรือเป็นผู้มีความรู้
ความเข้าใจ โดยมีผลงาน ประสบการณ์ หรือดําเนินงานในองค์กรด้านสิทธิมนุษยชนในระดับประเทศ
หรือระหว่างประเทศอันเป็นที่ประจักษ์ หรือเป็นผู้ที่มีคุณสมบัติเฉพาะและประสบการณ์ตามที่
คณะกรรมการกําหนด แล้วแต่กรณี
(๒) เป็นผู้ที่สามารถศึกษา ตรวจสอบ วิเคราะห์สถานการณ์ และปรากฏการณ์ทางสังคม
ในมุมมองสิทธิมนุษยชน รวมทั้งสามารถให้คําปรึกษาและข้อเสนอแนะ เพื่อส่งเสริมและคุ้มครอง
สิทธิมนุษยชน ตามภารกิจของคณะกรรมการได้อย่างมีประสิทธิภาพ