Page 39 - รวมพระราชบัญญัติ ระเบียบ และแนวปฏิบัติ ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (ฉบับพกพา)
P. 39
๓๓
หน้า ๕
เล่ม ๑๓๓ ตอนพิเศษ ๑๙๙ ง ราชกิจจานุเบกษา ๖ กันยายน ๒๕๕๙
“ผู้ถูกร้อง” หมายความว่า บุคคลหรือองค์กร ซึ่งถูกผู้ร้องกล่าวอ้างว่ากระทําละเมิดสิทธิมนุษยชน
และให้หมายความรวมถึงบุคคลหรือองค์กรที่คณะกรรมการเห็นสมควรให้มีการตรวจสอบการละเมิด
สิทธิมนุษยชน
“คู่กรณี” หมายความว่า ผู้ร้องและผู้ถูกร้อง ซึ่งประสงค์จะระงับข้อพิพาทด้วยการไกล่เกลี่ย
และให้รวมถึงบุคคลหรือองค์กรผู้มีสิทธิกระทําการแทนบุคคลหรือองค์กรนั้น ๆ ตามกฎหมาย
“ศูนย์ไกล่เกลี่ย” หมายความว่า ศูนย์ไกล่เกลี่ยประจําสํานักงาน
“หัวหน้าศูนย์ไกล่เกลี่ย” หมายความว่า เจ้าหน้าที่สํานักงานที่เลขาธิการมอบหมายให้รับผิดชอบงาน
ของศูนย์ไกล่เกลี่ย
“เจ้าหน้าที่ศูนย์ไกล่เกลี่ย” หมายความว่า เจ้าหน้าที่สํานักงานที่เลขาธิการมอบหมายให้ปฏิบัติงาน
ในศูนย์ไกล่เกลี่ย
ข้อ ๕ ให้ประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติรักษาการตามระเบียบนี้
ในกรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบียบนี้ ให้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
เป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาด
หมวด ๑
การดําเนินการให้มีการไกล่เกลี่ย
ข้อ ๖ ในระหว่างการพิจารณาตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนของคณะกรรมการ
หรือคณะอนุกรรมการ หากคณะกรรมการหรือคณะอนุกรรมการเห็นสมควรให้มีการไกล่เกลี่ย หรือเมื่อคู่กรณี
ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งประสงค์ให้มีการไกล่เกลี่ยและคู่กรณีทั้งสองฝ่ายตกลงให้มีการไกล่เกลี่ย ให้ดําเนินการ
ให้มีการไกล่เกลี่ยตามระเบียบนี้
ข้อ ๗ กรณีต่อไปนี้ ห้ามมิให้นําเอามาไกล่เกลี่ย
(๑) กรณีร้องเรียนเกี่ยวกับการล่วงละเมิดและการคุกคามทางเพศ
(๒) กรณีร้องเรียนเกี่ยวกับความผิดอาญาแผ่นดิน
(๓) กรณีร้องเรียนเกี่ยวกับการกระทํารุนแรงต่อเด็ก
(๔) กรณีอื่นตามประกาศที่คณะกรรมการกําหนด
ข้อ ๘ ในการจัดให้มีการไกล่เกลี่ย ศูนย์ไกล่เกลี่ยอาจให้คําแนะนําแก่คู่กรณี หรือผู้ที่เกี่ยวข้อง
ถึงกระบวนการและวิธีการไกล่เกลี่ย ตลอดจนข้อมูลอื่นใดอันจะเป็นประโยชน์แก่บุคคลหรือองค์กรดังกล่าว
ข้อ ๙ ในกรณีที่คู่กรณีทั้งสองฝ่ายประสงค์จะให้มีการไกล่เกลี่ย ให้แจ้งความประสงค์
เป็นหนังสือหรือแจ้งด้วยวาจาต่อคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ หรือศูนย์ไกล่เกลี่ย แล้วแต่กรณี
ข้อ ๑๐ ในกรณีที่คู่กรณีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งแจ้งความประสงค์ให้มีการไกล่เกลี่ยต่อคณะกรรมการ
คณะอนุกรรมการ หรือศูนย์ไกล่เกลี่ย ในระหว่างกระบวนการตรวจสอบ ให้สอบถามคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่ง