Page 38 - รวมพระราชบัญญัติ ระเบียบ และแนวปฏิบัติ ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (ฉบับพกพา)
P. 38

๓๒



                                                         หน้า   ๔

               เล่ม   ๑๓๓   ตอนพิเศษ   ๑๙๙   ง       ราชกิจจานุเบกษา                   ๖   กันยายน   ๒๕๕๙



                                 ระเบียบคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
                                            ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการไกล่เกลี่ย
                                                       พ.ศ.  ๒๕๕๙


                       โดยที่เป็นการสมควรกําหนดระเบียบคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติว่าด้วยหลักเกณฑ์
               และวิธีการไกล่เกลี่ย  เพื่อให้เป็นไปตามหลักการที่บัญญัติไว้ในมาตรา  ๒๗  แห่งพระราชบัญญัติ

               คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ  พ.ศ.  ๒๕๔๒
                       อาศัยอํานาจตามความในมาตรา  ๔  และมาตรา  ๒๗  แห่งพระราชบัญญัติคณะกรรมการ

               สิทธิมนุษยชนแห่งชาติ  พ.ศ.  ๒๕๔๒  ประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติโดยความเห็นชอบของ
               คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติจึงออกระเบียบไว้  ดังต่อไปนี้
                       ข้อ  ๑  ระเบียบนี้เรียกว่า  “ระเบียบคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติว่าด้วยหลักเกณฑ์

               และวิธีการไกล่เกลี่ย  พ.ศ.  ๒๕๕๙”
                       ข้อ  ๒  ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
                       ข้อ  ๓  ในกรณีที่มีระเบียบ  ประกาศ  ข้อบังคับ  หรือคําสั่งอื่นใดที่ขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้

               ให้ปฏิบัติตามระเบียบนี้
                       ข้อ  ๔  ในระเบียบนี้

                       “คณะกรรมการ”  หมายความว่า  คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
                       “ประธานกรรมการ”  หมายความว่า  ประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ

                       “กรรมการ”  หมายความว่า  กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
                       “คณะอนุกรรมการ”  หมายความว่า  คณะอนุกรรมการด้านการไกล่เกลี่ย  และหรือคณะอนุกรรมการ
               ตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่คณะกรรมการแต่งตั้ง

                       “สํานักงาน”  หมายความว่า  สํานักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
                       “การไกล่เกลี่ย”  หมายความว่า  กระบวนการระงับข้อพิพาทอันเกิดจากปัญหาการละเมิด

               สิทธิมนุษยชน  ที่คณะกรรมการหรือผู้ที่คณะกรรมการมอบหมาย  ทําหน้าที่คนกลางในการช่วยเหลือ
               เสนอแนะหรือแก้ไขข้อพิพาทภายในกรอบของการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน  และจัดทําข้อตกลงที่เป็นธรรม
               ซึ่งเป็นที่ยอมรับระหว่างคู่กรณี

                       “ผู้ไกล่เกลี่ย”  หมายความว่า  บุคคลหรือคณะบุคคลที่คณะกรรมการมอบหมายให้ดําเนินการ
               ไกล่เกลี่ย  เช่น  คณะอนุกรรมการ  สํานักงาน  หรือบุคคลที่คณะกรรมการเห็นสมควร

                       “คําร้อง”  หมายความว่า  เรื่องที่มีการเสนอต่อคณะกรรมการเพื่อขอให้ตรวจสอบการละเมิด
               สิทธิมนุษยชนหรือเรื่องที่คณะกรรมการเห็นสมควรให้มีการตรวจสอบ
                       “ผู้ร้อง”  หมายความว่า  บุคคลหรือองค์กรที่กล่าวอ้างว่าถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน  ซึ่งยื่นคําร้อง

               ขอให้ตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน  และให้หมายความรวมถึงผู้ทําการแทนที่ได้รับมอบหมาย
   33   34   35   36   37   38   39   40   41   42   43