Page 27 - รวมพระราชบัญญัติ ระเบียบ และแนวปฏิบัติ ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (ฉบับพกพา)
P. 27
๒๑
๗
ด าเนินการจากหน่วยงานหรือบุคคลดังกล่าวภายในระยะเวลาที่จ าเป็นและตามสมควรแก่กรณี
ให้เจ้าหน้าที่ส านักงานรายงานเหตุข้างต้นต่อส านักงานเพื่อเสนอคณะกรรมการพิจารณาต่อไป
หมวด ๓
การพิจารณาตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน
ส่วนที่ ๑
การพิจารณารับค าร้องไว้ตรวจสอบ
ข้อ ๒๕ เมื่อคณะกรรมการได้พิจารณาตามข้อ ๑๙ แล้วเห็นว่า ค าร้องที่เสนอเป็นเรื่องที่มีมูล
และอยู่ในอ านาจหน้าที่ และมีมติให้รับค าร้องไว้พิจารณาตรวจสอบ ให้ส านักงานมอบหมายเจ้าหน้าที่
เป็นเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบส านวนเพื่อด าเนินการสืบสวน สอบสวน หรือตรวจสอบข้อเท็จจริง และจัดท า
ส านวนเสนอต่อคณะกรรมการหรือคณะอนุกรรมการ แล้วแต่กรณี ต่อไป
ข้อ ๒๖ คณะกรรมการอาจพิจารณาเห็นสมควรให้มีการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน
อันเนื่องมาจากกรณี ดังต่อไปนี้
(๑) กรณีมีเหตุอันควรเชื่อว่าอาจมีการละเมิดสิทธิมนุษยชนและมีผลกระทบต่อส่วนรวม
(๒) ผู้ร้องเป็นผู้ท าการแทนองค์การเอกชนด้านสิทธิมนุษยชนที่มิได้เป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย
(๓) กรณีไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ก าหนดไว้ในหมวด ๒ หรือกรณีอื่นใด
แต่คณะกรรมการเห็นสมควรให้มีการตรวจสอบ
ข้อ ๒๗ ถ้าค าร้องที่รับไว้พิจารณาตรวจสอบตามข้อ ๒๕ จ านวนมากกว่าหนึ่งค าร้องขึ้นไป
มีข้อกล่าวหาหรือประเด็นร้องเรียนอย่างเดียวกันหรือเกี่ยวเนื่องใกล้ชิดกันหรือมีคู่กรณีเดียวกันหรือ
ร่วมกัน ถ้าคณะกรรมการเห็นว่าจะเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา จะมีมติให้รวมพิจารณาและวินิจฉัย
รวมกันไปก็ได้
ในกรณีที่คณะกรรมการมีมติให้ด าเนินการตามวรรคหนึ่ง ให้แจ้งมติดังกล่าวให้คู่กรณีทราบเป็น
หนังสือภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้มีการรับรองมติดังกล่าวนั้น
ข้อ ๒๘ ในกรณีที่คณะกรรมการเห็นว่าค าร้องที่รับไว้ไม่อยู่ในอ านาจหน้าที่ หรือควรได้รับการ
พิจารณาแก้ไขโดยองค์กรอื่นซึ่งมีอ านาจหน้าที่ ตามหลักเกณฑ์ที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๒๕ วรรคสอง
หรือวรรคสาม ให้ส านักงานด าเนินการตามมติคณะกรรมการต่อไป