Page 22 - รวมพระราชบัญญัติ ระเบียบ และแนวปฏิบัติ ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (ฉบับพกพา)
P. 22
๑๖
๒
๒
“ผู้ร้อง” หมายความว่า บุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่อ้างว่าถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนซึ่งยื่นค าร้อง
ขอให้ตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน และให้หมายความรวมถึงผู้ท าการแทนที่ได้รับมอบหมาย
หรือองค์กรที่ยื่นค าร้องแทน
๓
“ผู้ถูกร้อง” หมายความว่า บุคคลหรือองค์กรซึ่งถูกผู้ร้องกล่าวหาว่ากระท าละเมิด
สิทธิมนุษยชน และให้หมายความรวมถึงบุคคลหรืองค์กรที่คณะกรรมการเห็นสมควรให้มีการตรวจสอบการ
ละเมิดสิทธิมนุษยชนตามระเบียบนี้
“เจ้าหน้าที่รับค าร้อง” หมายความว่า เจ้าหน้าที่ส านักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน
แห่งชาติ ผู้ซึ่งได้รับมอบหมายให้ท าหน้าที่รับค าร้อง ด าเนินการตรวจสอบ และกลั่นกรองค าร้องเบื้องต้น
ว่าเป็นค าร้องที่อยู่ในอ านาจหน้าที่ของคณะกรรมการหรือไม่
“เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบส านวน” หมายความว่า เจ้าหน้าที่ส านักงานคณะกรรมการ
สิทธิมนุษยชนแห่งชาติที่ได้รับมอบหมายให้ด าเนินการสืบสวน สอบสวน หรือตรวจสอบค าร้อง และ
จัดท าส านวนเสนอต่อคณะอนุกรรมการหรือคณะกรรมการ แล้วแต่กรณี
“พนักงานเจ้าหน้าที่” หมายความว่า บุคคลซึ่งคณะกรรมการแต่งตั้งขึ้นเพื่อช่วยเหลือการ
ปฏิบัติงานในการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน
“องค์การเอกชนด้านสิทธิมนุษยชน” หมายความว่า องค์การสิทธิมนุษยชนที่มีคุณสมบัติตาม
กฎหมายว่าด้วยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติและระเบียบว่าด้วยการนั้น
“การติดตามผล” หมายความว่า การติดตามผลการด าเนินการตามมาตรการการแก้ไขปัญหาการ
ละเมิดสิทธิมนุษยชนของคณะกรรมการ
มาตราที่อ้างถึงในระเบียบนี้ ให้หมายถึงมาตราของพระราชบัญญัติคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน
แห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒
ข้อ ๕ ให้ประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติรักษาการตามระเบียบนี้
ในกรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบียบนี้ ให้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
เป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาด
หมวด ๑
บททั่วไป
ข้อ ๖ ระยะเวลาตามที่ก าหนดไว้ในระเบียบนี้ คณะกรรมการหรือคณะอนุกรรมการ แล้วแต่
กรณี อาจย่นหรือขยายได้ตามที่เห็นสมควร ทั้งนี้ ให้ค านึงถึงความจ าเป็นเร่งด่วนและประโยชน์แห่งการ
คุ้มครองสิทธิมนุษยชนเป็นส าคัญ
๒
ข้อ ๔ บทนิยามค าว่า “ผู้ร้อง” แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติว่าด้วยหลักเกณฑ์
และวิธีการในการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๙
๓
ข้อ ๔ บทนิยามค าว่า “ผู้ถูกร้อง” แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติว่าด้วยหลักเกณฑ์
และวิธีการในการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๙