Page 23 - รวมพระราชบัญญัติ ระเบียบ และแนวปฏิบัติ ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (ฉบับพกพา)
P. 23
๑๗
๓
ข้อ ๗ การใดที่ระเบียบนี้ก าหนดให้คณะกรรมการต้องปฏิบัติในการพิจารณาตรวจสอบการ
ละเมิดสิทธิมนุษยชน ให้น ามาใช้กับคณะอนุกรรมการด้วยโดยอนุโลม
ข้อ ๘ การตรวจดูหรือขอข้อมูล ข้อเท็จจริง บรรดาเอกสารหรือพยานหลักฐานที่ได้มาในการ
ปฏิบัติตามระเบียบนี้ ให้ส านักงานพิจารณาด าเนินการตามกฎหมายว่าด้วยข้อมูลข่าวสารของราชการ
และระเบียบว่าด้วยการนั้น
หมวด ๒
การยื่นค าร้อง การตรวจค าร้อง
และการประสานการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
ส่วนที่ ๑
การยื่นค าร้อง
๔
ข้อ ๙ บุคคลหรือกลุ่มบุคคลใดที่ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนหรือได้รับการปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม
รวมทั้งองค์การเอกชนด้านสิทธิมนุษยชนที่พบเห็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา
๒๓ และมาตรา ๒๔ บุคคลหรือกลุ่มบุคคลนั้นเป็นผู้มีสิทธิยื่นค าร้องต่อคณะกรรมการ ตามหลักเกณฑ์
และวิธีการที่ก าหนดไว้ในหมวดนี้
เพื่อให้การแก้ไขปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนเป็นไปโดยรวดเร็วและเหมาะสมแก่กรณี
เมื่อคณะกรรมการเห็นสมควรอาจก าหนดให้มีการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนในกรณีใดโดยไม่มี
การยื่นค าร้องตามวรรคหนึ่งก็ได้
ข้อ ๑๐ ค าร้องที่ท าเป็นหนังสือต้องมีรายการตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๒๓ ได้แก่
(๑) ชื่อและที่อยู่ของผู้ร้อง
(๒) ข้อเท็จจริงและพฤติการณ์อันเป็นเหตุแห่งการกระท าหรือการละเลยการกระท าอันเป็น
การละเมิดสิทธิมนุษยชน
(๓) ลายมือชื่อหรือลายพิมพ์นิ้วมือของผู้ร้อง
ค าร้องตามวรรคหนึ่งต้องจัดท าเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ กรณีค าร้องเป็นภาษาอื่นให้
ผู้ร้องจัดแปลเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษด้วย เว้นแต่คณะกรรมการจะมีมติเป็นอย่างอื่น
๔
ข้อ ๙ วรรคหนึ่ง แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการ
ในการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๙