Page 30 - รวมพระราชบัญญัติ ระเบียบ และแนวปฏิบัติ ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (ฉบับพกพา)
P. 30
๒๔
๑๐
ส่วนที่ ๔
ทนายความหรือที่ปรึกษาของคู่กรณี
ข้อ ๓๖ ในกรณีที่คู่กรณีต้องมาปรากฏตัวต่อหน้าคณะกรรมการในการพิจารณาตรวจสอบ
การละเมิดสิทธิมนุษยชน คู่กรณีมีสิทธิน าทนายความหรือที่ปรึกษาของตนเข้ามาในกระบวนการ
พิจารณาตรวจสอบได้ แต่ห้ามมิให้ทนายความหรือที่ปรึกษาตอบค าถามแทนคู่กรณีหรือพยานฝ่ายตน
เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการ
กรณีผู้ร้อง ผู้ถูกร้อง หรือพยาน เป็นเด็กหรือเยาวชน คณะกรรมการอาจจัดให้มีนักจิตวิทยา
หรือนักสังคมสงเคราะห์เข้าร่วมในการตรวจสอบด้วยตามสมควรแก่กรณี
ในระหว่างการตรวจสอบหากคณะกรรมการเห็นว่าทนายความหรือที่ปรึกษาของคู่กรณี
มีพฤติการณ์หรือความประพฤติไม่เหมาะสม คณะกรรมการอาจไม่อนุญาตให้ทนายความหรือที่ปรึกษา
เข้าร่วมในกระบวนการตรวจสอบครั้งนั้นได้ โดยให้มีการตรวจสอบในวันนั้นต่อไป แต่คู่กรณีอาจน า
ทนายความหรือที่ปรึกษาเข้าร่วมการตรวจสอบครั้งต่อไปได้
ข้อ ๓๗ ในการให้ถ้อยค าของคู่กรณีหรือพยานฝ่ายหนึ่ง คู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่ง รวมทั้งทนายความ
หรือที่ปรึกษาของฝ่ายดังกล่าวจะเข้ารับฟังไม่ได้ เว้นแต่คณะกรรมการจะก าหนดเป็นอย่างอื่น
ส่วนที่ ๕
การไกล่เกลี่ย
ข้อ ๓๘ การด าเนินการไกล่เกลี่ยตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๒๗ คณะกรรมการอาจด าเนินการ
หรือมอบหมายให้คณะอนุกรรมการ ส านักงาน หรือบุคคล ที่คณะกรรมการเห็นสมควรด าเนินการแทน
ได้
เมื่อได้ด าเนินการตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้จัดท าข้อตกลงระหว่างคู่กรณีเป็นหนังสือไว้และ
ให้คณะกรรมการพิจารณายุติเรื่อง
ข้อ ๓๙ ข้อตกลงระหว่างคู่กรณีตามข้อ ๓๘ อย่างน้อยต้องประกอบด้วย
(๑) สถานที่ด าเนินการไกล่เกลี่ย
(๒) วัน เดือน ปี ที่ด าเนินการไกล่เกลี่ย
(๓) ชื่อและที่อยู่ของคู่กรณี
(๔) รายละเอียดข้อตกลง
(๕) ลายมือชื่อหรือลายพิมพ์นิ้วมือของคู่กรณี และพยานอย่างน้อยสองคน
(๖) ลายมือชื่อหรือลายพิมพ์นิ้วมือของผู้ด าเนินการไกล่เกลี่ย