Page 32 - รวมพระราชบัญญัติ ระเบียบ และแนวปฏิบัติ ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (ฉบับพกพา)
P. 32
๒๖
๑๒
ข้อ ๔๒ ในกรณีที่คณะกรรมการให้รวมการพิจารณาตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนตาม
ข้อ ๒๗ อาจจัดท ารายงานเป็นฉบับเดียวกันก็ได้
ข้อ ๔๓ ให้ส านักงานแจ้งรายงานไปยังผู้เกี่ยวข้อง ดังนี้
(๑) แจ้งไปยังบุคคลหรือหน่วยงาน หรือหน่วยราชการที่มีหน้าที่ต้องด าเนินการตามข้อ ๔๑
วรรคหนึ่ง (๖) หรือวรรคสาม (๑) หรือ (๒) แล้วแต่กรณี
(๒) แจ้งไปยังผู้ร้อง หรือองค์การเอกชนด้านสิทธิมนุษยชนแล้วแต่กรณี เพื่อทราบ
๖
ให้ส านักงานแจ้งรายงานตามวรรคหนึ่งให้ผู้เกี่ยวข้องทราบโดยเร็ว
หมวด ๔
คณะอนุกรรมการและการพิจารณาของคณะอนุกรรมการ
ข้อ ๔๔ การแต่งตั้งคณะอนุกรรมการและการท าหน้าที่ของคณะอนุกรรมการที่คณะกรรมการ
แต่งตั้งตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๒๖ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ก าหนดไว้ในระเบียบนี้
หรือที่คณะกรรมการก าหนดไว้ในค าสั่งแต่งตั้ง
๗
ข้อ ๔๔/๑ อนุกรรมการต้องปฏิบัติหน้าที่ของตนอย่างเป็นกลาง รวมทั้งต้องค านึงถึงผลประโยชน์
ส่วนรวมของชาติและประชาชนประกอบด้วย
๘
ข้อ ๔๔/๒ ห้ามมิให้อนุกรรมการด าเนินการตรวจสอบค าร้องที่ได้รับมอบหมาย เมื่อปรากฏ
เหตุดังต่อไปนี้
(๑) เป็นผู้ที่ได้ถูกอ้างเป็นพยานโดยเป็นผู้ที่รู้เห็นเหตุการณ์เกี่ยวข้องกับค าร้องนั้น
(๒) เป็นผู้มีส่วนได้เสียในค าร้อง หรือเป็นผู้แทนโดยชอบธรรม หรือผู้แทน หรือได้เป็น
ทนายความของคู่กรณีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมาแล้ว
(๓) มีสาเหตุโกรธเคืองกับผู้ร้องหรือผู้ถูกร้อง
(๔) เป็นผู้ร้อง ผู้ถูกร้อง หรือเป็นคู่สมรส บุพการี ผู้สืบสันดาน หรือพี่น้องร่วมบิดามารดาหรือร่วม
บิดาหรือมารดากับผู้ร้องหรือผู้ถูกร้อง
(๕) มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดในฐานะญาติหรือเป็นหุ้นส่วนหรือมีผลประโยชน์ร่วมกันหรือขัดแย้ง
กับผู้ร้องหรือผู้ถูกร้อง
๖ ข้อ ๔๓ วรรคสอง แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการ
ในการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๙
๗
ข้อ ๔๔/๑ เพิ่มโดยระเบียบคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการในการตรวจสอบ
การละเมิดสิทธิมนุษยชน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๙
๘
ข้อ ๔๔/๒ เพิ่มโดยระเบียบคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการในการตรวจสอบ
การละเมิดสิทธิมนุษยชน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๙