Page 84 - รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการวิจัยการป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ของประเทศไทย และความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน
P. 84
บรรทุกได้ประมาณ ๓๕ คน/ครั้งเพื่อเดินทางไปยังจุดหมายปลายทาง ได้แก่ อําเภอหาดใหญ่ จังหวัด
สงขลา ภูเก็ต หรือ จังหวัดใกล้เคียง รวมทั้ง อําเภอสุไหงโกลก จังหวัดนราธิวาส ก่อนจะลักลอบเข้าสู่
ประเทศมาเลเซีย ในการเดินทางแต่ละครั้งจะมีรถประกบหน้า-หลังเพื่อทําหน้าที่คุ้มกันและดูว่าข้างหน้า
มีด่านตรวจหรือไม่ หากมีก็จะมีการส่งสัญญาณ ก็จะมีการเปลี่ยนเส้นทางพาชาวโรฮิงญาไปหลบซ่อนตัว
ตามสวนยางพารา ซึ่งอยู่บนเขา ก่อนจะหาเส้นทางอื่น จากการสัมภาษณ์ชาวโรฮิงญา (ขอปกปิดชื่อ)ที่
อพยพมาอยู่ในประเทศไทยเป็นเวลากว่า ๓๐ ปี และคอยให้ความช่วยเหลือผู้อพยพชาวโรฮิงญา พบว่า ผู้ที่
รับค่าจ้างขนชาวโรฮิงญาซึ่งเป็นคนไทยจะได้รับค่าจ้างครั้งละ ๕๐,๐๐๐ บาท ส่วนพวกนายหน้า หาก
สามารถพาชาวโรฮิงญาเข้าไปถึงประเทศมาเลเซียได้ จะได้ค่าหัวต่อคนหัวละ ๖๐,๐๐๐ – ๘๐,๐๐๐ บาท
หากเป็นหญิงสาวจะได้ราคาดีกว่านั้น
ในช่วงปี ๒๕๕๗ – ๒๕๕๘ มีการนําพาชาวโรฮิงญาไปอยู่ในค่ายกักกันบนภูเขาตามแนวชายแดน
ไทย – มาเลเซีย โดยมีการนําเรือเล็กไปรับชาวโรฮิงญาจากเรือใหญ่ที่ลอยอยู่ห่างจากฝ๎่งทะเลในเวลา
กลางคืน แล้วเดินทางโดยใช้รถยนต์ส่งไปที่จังหวัดสตูล แยกตามสายและพื้นที่รับผิดชอบ ก่อนส่งต่อไปยัง
สถานที่พักพิงชั่วคราวในตําบลปาดังเบซาร์ อําเภอสะเดา จังหวัดสงขลา โดยเฉพาะเทือกเขาแก้ว ซึ่งเป็น
พื้นที่รอยต่อระหว่างจังหวัดสงขลา ยาวไปถึงจังหวัดสตูล
จากการสัมภาษณ์เหยื่อที่ถูกนําตัวไปกักขังที่บนเทือกเขาแก้ว(สัมภาษณ์เมื่อวันที่ ๒๕ เมษายน
๒๕๕๘ ) พบว่า ในระหว่างการนําชาวโรฮิงญาไปกักตัวไว้ในสถานที่พักพิงชั่วคราว มีทั้งคนไทย คนโรฮิงญา
และคนบังคลาเทศ พร้อมอาวุธเป็นผู้ควบคุม และใช้โทรศัพท์มือถือติดต่อกับทางญาติของชาวโรฮิงญาให้
จ่ายเงินค่านําพา หากไม่มีเงินจ่ายก็จะทุบตีซ้ําแล้วซ้ําอีกจนบางรายกลายเป็นคนพิการ เดินไม่ได้ บางราย
เสียชีวิต แล้วนําไปฝ๎งไว้ที่ใกล้ๆ ค่ายกักกัน หากคนใดคิดที่จะหลบหนี ก็จะถูกทุบตี ด้วยไม้ บางคนก็จะจับ
ไปมัดกับต้นไม้โดยใช้เชือกมัดไว้จนกระทั่งถึงเช้า การกระทําของขบวนการนี้เป็นการค้ามนุษย์อย่างชัดเจน
คือเป็นการนําบุคคลต่างด้าวเข้ามาในราชอาณาจักรไทยโดยผิดกฎหมาย ร่วมกันหน่วงเหนี่ยวกักขังผู้อื่น
โดยทําให้ปราศจากเสรีภาพในร่างกายและร่วมกันเรียกค่าไถ่
จากการสัมภาษณ์ตํารวจตรวจคนเข้าเมือง(ตม.)จังหวัดสงขลา(สุมภาษณ์เมื่อวันที่ ๒๖ เมษายน
๒๕๕๘) ซึ่งได้รับมอบหมายจากผู้บังคับบัญชาให้ดําเนินการเฝูาระวังและจับกุมขบวนการขนย้ายชาว
โรฮิงญาในพื้นที่รับผิดชอบ พบว่า การนําพาชาวโรฮิงญาเข้าสู่ประเทศไทยทําอย่างเป็นระบบ มีการ
เชื่อมโยงกันระหว่างนายหน้าที่เป็นชาวพม่าและนายหน้าที่เป็นคนไทย เมื่อถึงฝ๎่งประเทศไทย จะมี
เครือข่ายของผู้มีอิทธิพลซึ่งเป็นนักการเมืองท้องถิ่นจังหวัดสตูล เป็นขบวนการใหญ่ที่เชื่อมโยงกับเครือข่าย
ในจังหวัดสงขลา และจังหวัดระนอง มีการลักลอบค้าชาวโรฮิงญามานานหลายปี โดยมีเครือข่ายย่อยที่ดูแล
ระดับพื้นที่ อีก ๕ พื้นที่ คือ (๑) พื้นที่ ต.วังประจัน อ.ควนโดน .จ.สตูล (๒) พื้นที่ ต.ตํามะลัง และ ต.
ตันหยงโป อ.เมืองสตูล (๓) พื้นที่ ต.วังประจัน อ.ควนโดน จ.สตูล (๔) พื้นที่ ต.ปูยู อ.เมือง จ. สตูล (๕)
พื้นที่ อ.ท่าแพ จ.สตูล นอกจากนี้ยังมีสมาชิกของเครือข่ายบางส่วนที่คอยทําหน้าที่ประสานงานและดูแล
ชาวโรฮิงญา โดยการทํางานของเครือข่ายจะมีทีมงานคอยรับชาวโรฮิงญาที่ล่องเรือมาจากรัฐยะไข่ ประเทศ
สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา แล้วพาขึ้นฝ๎่ง ซึ่งเครือข่ายเหล่านี้ได้ถูกเจ้าหน้าที่ตํารวจจับกุม ดําเนินคดี
ส่งฟูองศาลแล้ว
๖๔