Page 49 - รายงานการศึกษาวิจัย บทบาทของสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติในการคุ้มครองการละเมิดสิทธิมนุษยชนของภาคเอกชน
P. 49
รายงานการศึกษาวิจัย บทบาทของสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ 49
ในการคุ้มครองการละเมิดสิทธิมนุษยชนของภาคเอกชน
การดำาเนินการในประเด็นธุรกิจและสิทธิมนุษยชน
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งมาเลเซียเริ่มให้ความสนใจต่อประเด็นธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน
มากขึ้น หลังจากการประกาศหลักปฏิบัติว่าด้วยธุรกิจและสิทธิมนุษยชนขององค์การสหประชาชาติ
เมื่อปี พ.ศ. 2555 สถานการณ์การละเมิดสิทธิมนุษยชนจากภาคธุรกิจ ระหว่างปี พ.ศ. 2550 - 2555
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งมาเลเซียได้รับเรื่องร้องเรียนที่เกิดจากการละเมิดสิทธิของ
้
บริษัทเอกชน 39 เรื่อง ส่วนใหญ่แล้วเป็นเรื่องการรุกลำาที่ดินของชุมชนที่อาศัยอยู่เดิมของ
บริษัทป่าไม้ การไม่อนุญาตให้แรงงานลาหยุด หรือการปฏิบัติต่อแรงงานอย่างไม่เป็นธรรม
ในการแก้ไขปัญหา คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งมาเลเซียมีหนังสือและจัดประชุมกับ
หน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องเพื่อจัดการกับปัญหา โดยทั่วไปแล้ว คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่ง
มาเลเซียจะไม่เผยแพร่ผลการตรวจสอบต่อสาธารณะ (Human Rights Resource Centre, 2013)
พ.ศ. 2553 เป็นต้นมา มีการอภิปรายแลกเปลี่ยนเรื่องธุรกิจและสิทธิมนุษยชนกับ
ผู้มีส่วนได้เสียต่างๆ ทั้งภาครัฐ เอกชน และประชาสังคม
พ.ศ. 2555 คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งมาเลเซียเริ่มศึกษาและเตรียมความพร้อม
ในด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชน โดยเริ่มศึกษาวิจัยร่วมกับสถาบัน Raoul Wallenberg Institute
ในหัวข้อ บทบาทของ กสม. มาเลเซียในการจัดการกับการละเมิดสิทธิมนุษยชนของภาคธุรกิจ:
กรณีศึกษาอุตสาหกรรมป่าไม้และเกษตรกรรมในมาเลเซีย (Role of SUHAKAM in Addressing
Corporate Human Rights Violations: A Study on Logging and Plantation Industries
in Malaysia) จากนั้น มีการไต่สวนระดับชาติที่จัดขึ้นโดยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน
แห่งมาเลเซีย ว่าด้วย “สิทธิที่ดินของชนพื้นเมืองที่อยู่ในประเทศมาเลเซีย” ซึ่งทำาให้ตระหนักถึง
ผลกระทบของภาคธุรกิจต่อการละเมิดสิทธิมนุษยชนมากขึ้น
พ.ศ. 2557 ทำางานร่วมกับคณะทำางานขององค์การสหประชาชาติ จัดทำาโครงการ
“ส่งเสริมธุรกิจและสิทธิมนุษยชนในมาเลเซียเพื่อความสำาเร็จและการเติบโตอย่างมีส่วนร่วม
ของบริษัท” เพื่อให้มีการจัดทำาแผนปฏิบัติการด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนของมาเลเซียด้วยการ
นำาเอา UN Global Compact มาใช้ โดยมีการดำาเนินงานต่างๆ ดังนี้
s วางแผนจัดกิจกรรม เพื่อรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับสถานการณ์ปัจจุบันที่เกี่ยวกับ
ธุรกิจและสิทธิมนุษยชน การให้คำาปรึกษา การสัมภาษณ์ผู้มีส่วนได้เสียกลุ่มต่างๆ
รวมทั้งบริษัทเอกชน รัฐวิสาหกิจ องค์กรกำากับดูแล หน่วยงานบังคับใช้กฎหมาย
และองค์กรภาคประชาสังคม
s ร่วมมือกับกระทรวงการค้าระหว่างประเทศและอุตสาหกรรมในประเด็น
สิทธิมนุษยชนจากการได้รับผลกระทบจากข้อตกลงการค้า Trans-Pacific
Partnership Agreement (TPP Agreement)