Page 16 - รายงานศึกษาวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาวิจัยผังเมืองกับการคุ้มครองสิทธิชุมชนและสิทธิการมีส่วนร่วมของประชาชน
P. 16

ผังเมืองกับก�รคุ้มครองสิทธิชุมชน
                                                                                         และสิทธิการมีส่วนร่วมของประชาชน



             อ้างอิงในการกำาหนดข้อห้ามและข้อให้ ดำาเนินกิจกรรมต่างๆ ในพื้นที่ที่เหมาะสม มีระยะกันชนและระยะ

             ป้องกันที่ปลอดภัย ทั้งนี้ ประเภทกิจกรรมที่ควรนำามาพิจารณา ได้แก่ การผลิตไฟฟ้าที่มีผลกระทบต่างกัน

             การบำาบัดนำ้าเสียและจัดการกากของเสีย ซึ่งมีความแตกต่างกันในขนาดและประเภทของกากของเสีย
             ที่เป็นขยะชุมชน ขยะติดเชื้อ และขยะอันตราย เป็นต้น กิจการดังกล่าวนี้ ควรมีการศึกษากำาหนด

             ประเภทย่อย เพื่อให้การกำาหนดข้อห้ามและข้อให้ มีการพิจารณาพื้นที่ตั้ง พื้นที่ป้องกัน มิให้ส่งผลกระทบ

             ต่อชุมชน


                    ข้อเสนอระยะย�ว

                    1) ให้กรมโยธาธิการและผังเมืองและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ออกระเบียบเพื่อให้เปิดเผย

             ข้อมูลการตัดสินใจของคณะกรรมการผังเมืองและข้อมูลประกอบการพิจารณาให้เป็นไปตาม

             หลักธรรมาภิบาล โปร่งใส ตรวจสอบได้เนื่องด้วยการตัดสินใจของคณะกรรมการผังเมือง มีผลต่อสิทธิใน
             การใช้ประโยชน์ที่ดินและทรัพย์สินทั้งส่วนบุคคลและสาธารณะ ดังนั้น นอกจากการปรับปรุงโครงสร้าง

             คณะกรรมการผังเมืองแล้ว ควรมีการแสดงความรับผิดชอบในการตัดสินใจนโยบายสาธารณะ โดยแสดง

             การลงมติและมีการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรในการให้ความเห็นชอบ หรือไม่เห็นชอบในการลงมติ
             เพื่อเป็นการส่งเสริมกระบวนการตัดสินใจสาธารณะที่เป็นธรรมาภิบาล มีเหตุผลหลักการ มีความเป็นธรรม

             โปร่งใสตรวจสอบได้และความพร้อมรับผิดชอบ


                    2) กรมโยธ�ธิก�รและผังเมืองควรประส�นง�นกับสำ�นักง�นคณะกรรมก�รกฤษฎีก�ใน
             ก�รศึกษ�เพื่อร่วมกำ�หนดแนวท�งแก้ไขปัญห�ในขั้นตอนก�รตรวจสอบร่�งผังเมือง และร่�งกฎกระทรวง

             เนื่องจากผังเมืองส่วนใหญ่ใช้เวลานานมากในขั้นตอนการตรวจของสำานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา

             เพื่อให้มีความถูกต้องของพื้นที่ นามศัพท์และข้อความทางกฎหมายในขณะที่สำานักงานคณะกรรมการ

             กฤษฎีกามีภารกิจอื่นนอกเหนือจากด้านผังเมือง  ดังนั้น  กรมโยธาธิการและผังเมืองจึงควรมี
             การประสานงานกับสำานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเพื่อร่วมศึกษากำาหนดแนวทางการแก้ไขปัญหาความล่าช้า

             ทั้งในด้านขอบเขตปริมาณงานกรอบเวลาและข้อจำากัดด้านบุคลากร รวมทั้งกลไกและการประสานงาน

             เพื่อตรวจสอบความถูกต้องในระดับพื้นที่


                2.3 ข้อเสนอแนะด้านกฎหมาย


                    การปรับปรุงพระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2518 ในส่วนของโครงสร้างและองค์ประกอบของ
             กรรมการผังเมืองและการกระจายอำานาจการตัดสินใจด้วยการมีส่วนร่วมในระดับพื้นที่ ท้องถิ่น และชุมชน


                    กรมโยธาธิการและผังเมือง ควรดำาเนินการด้วยการมีส่วนร่วม โดยเพิ่มกลไกคณะกรรมการผังเมือง
             ในระดับจังหวัดและระดับท้องถิ่นที่มีอำานาจการตัดสินใจผังเมือง การจำาแนกบทบาท อำานาจ หน้าที่ระหว่าง

             คณะกรรมการผังเมืองระดับชาติ ระดับจังหวัดและระดับท้องถิ่นให้ชัดเจนโดยมีการกำาหนดหลักเกณฑ์ ที่มา

             และองค์ประกอบของคณะกรรมการที่มีสัดส่วนขององค์กรชุมชน องค์กรเอกชนในด้านทรัพยากรธรรมชาติ




                                                            15
   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20   21