Page 11 - รายงานศึกษาวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาวิจัยผังเมืองกับการคุ้มครองสิทธิชุมชนและสิทธิการมีส่วนร่วมของประชาชน
P. 11

สำานักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ



            กระบวนการจัดทำาผังเมืองตามที่กำาหนดไว้ในพระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2518 และกฎระเบียบ

            ที่เกี่ยวข้อง ยังมิได้รับรองคุ้มครองสิทธิการรับรู้ข้อมูลข่าวสารและสิทธิในการมีส่วนร่วมของประชาชน

            ในกระบวนการจัดทำาผังเมืองตามที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ได้กำาหนดไว้
            นอกจากนี้ พระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2518 ในขั้นตอนการรับฟังความคิดเห็นประชาชนจากการศึกษา

            พบว่ายังมิได้กำาหนดหลักเกณฑ์ผู้มีสิทธิแสดงความคิดเห็นให้ครอบคลุมกลุ่มบุคคลผู้มีส่วนได้เสียอย่างทั่วถึง

            ทั้งๆ ที่เป็นขั้นตอนที่สำาคัญเพื่อชี้แจงทำาความเข้าใจกับประชาชนในช่วงก่อนการจัดทำาผังเมืองรวม รวมถึง

            กรณีที่ประชาชนผู้มีส่วนได้เสียยื่นคำาร้องขอเพื่อแก้ไขเปลี่ยนแปลงผังเมืองในขั้นตอนการปิดประกาศ
            เกินระยะเวลา 90 วัน ตามมาตรา 23 แห่งพระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2518 ซึ่งหากปรากฏข้อเท็จจริง

            มีพฤติการณ์ที่จำาเป็นจนเป็นเหตุที่ไม่อาจยื่นภายในระยะเวลา 90 วัน เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องยังมีอำานาจ

            ที่จะรับคำาร้องที่เกินระยะเวลาดังกล่าวไว้พิจารณาได้ แต่เนื่องจากยังมิได้มีการกำาหนดหลักเกณฑ์และ
            วางกรอบการใช้ดุลยพินิจของเจ้าหน้าที่ไว้ให้ชัดเจน ทำาให้มีการรับพิจารณาคำาร้องที่เกินระยะเวลา

            เป็นจำานวนมากและอาจทำาให้การจัดทำาผังเมืองเกิดความล่าช้าได้



                    ช่วงระหว่�งรอประก�ศบังคับใช้ผังเมือง
                    เป็นกระบวนการที่ผ่านการมีส่วนร่วมของประชาชนมาแล้วและเป็นส่วนของการดำาเนินการภายใน

            หน่วยงานรัฐ ซึ่งส่วนใหญ่ใช้ระยะเวลายาวนาน ส่งผลให้ผังเมืองไม่สามารถประกาศบังคับใช้ได้ทันต่อ

            สถานการณ์ ความเปลี่ยนแปลงของพื้นที่ อีกทั้ง มาตรการที่ใช้ในการคุ้มครองพื้นที่ในระหว่างช่วงระยะ

            เวลาดังกล่าว ในการกำาหนดหลักเกณฑ์การใช้ประโยชน์ในทรัพย์สินเพื่อประโยชน์ในการจัดทำาผังเมือง
            รวม ตามมาตรา 15(3) แห่งพระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2518 ยังไม่มีการนำามาบังคับใช้อย่างจริงจัง



                    ช่วงหลังประก�ศบังคับใช้ผังเมือง

                    จากข้อมูลคำาร้องที่ยื่นต่อคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พบว่า หน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้อง

            ได้พิจารณาอนุมัติ อนุญาต ให้มีการประกอบกิจการโดยขัดต่อข้อห้ามการใช้ประโยชน์ที่ดิน ตามกฎกระทรวง
            ให้ใช้บังคับผังเมืองรวม ส่งผลให้มีการประกอบกิจการที่อาจมีผลกระทบต่อชีวิต ทรัพย์สิน สุขภาพ และ

            สิ่งแวดล้อมของประชาชนและชุมชนที่อยู่อาศัยในบริเวณใกล้เคียง ใบอนุญาตดังกล่าวถือได้ว่าเป็นคำาสั่ง

            ทางปกครองที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งอาจถูกยกเลิกเพิกถอนได้ตามแนวคำาพิพากษาของศาลปกครองสูงสุด


                    กรณีกฎกระทรวงเกี่ยวกับผังเมืองรวมหมดอ�ยุบังคับใช้

                    เนื่องด้วยผังเมืองรวมกำาหนดให้ใช้บังคับได้ไม่เกิน 5 ปี และขยายระยะเวลาได้อีก 2 ครั้ง ครั้งละ

            ไม่เกิน 1 ปี ซึ่งตามคำาร้องที่ยื่นต่อคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนและจากการศึกษาพบว่า ในช่วงระยะเวลา

            ที่ผังเมืองหมดอายุและมีช่องว่างการบังคับใช้ เนื่องจากความล่าช้าในการจัดทำาผังเมืองรวมฉบับใหม่
            ส่งผลให้เกิดการใช้ประโยชน์ที่ดินประกอบกิจการที่อาจมีผลกระทบต่อชีวิต สุขภาพและคุณภาพสิ่งแวดล้อม

            ของประชาชนและชุมชนโดยอาศัยช่องว่างของของกฎหมายดังกล่าว นอกจากนี้ การที่ผังเมืองหมดอายุ




                                                           10
   6   7   8   9   10   11   12   13   14   15   16