Page 88 - รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง ปัญหาเยาวชนหญิงที่ตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรกับมิติสิทธิมนุษยชน
P. 88
หุ่นอุ้งเชิงกราน และเครื่องมือขูดมดลูก โดยให้อธิบายกลไกการตั้งครรภ์และกระบวนการท�าแท้งเถื่อน
เช่น การน�าสิ่งแปลกปลอมเข้าไปสู่โพรงมดลูก การฉีดสารใส่โพรงมดลูก การบีบมดลูก การท�าแท้ง
โดยแพทย์แผนปัจจุบันจะท�าเฉพาะการตั้งครรภ์ที่มีโรคแทรกซ้อน โดยการใช้เครื่องมือขูดมดลูก
ซึ่งอาจน�าไปสู่โรคแทรกซ้อนได้ เช่น มดลูกแตกและอาจถึงตายได้ ซึ่งหลังอธิบายการท�าแท้งวิทยากร
ถูกก�าหนดให้อธิบายการหลีกเลี่ยงเพศสัมพันธ์ และการมีเพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัย
แม้ว่าค่ายแกนน�าวัยรุ่นของส�านักอนามัยเจริญพันธุ์เป็นการคุ้มครองสิทธิอนามัยเจริญพันธุ์
ที่ให้เยาวชนใช้สิทธิในการได้รับข้อมูลข่าวสารและการศึกษา ได้รับความรู้เกี่ยวกับอนามัยเจริญพันธุ์
ไปจนถึงการยุติการตั้งครรภ์ แต่เป็นความรู้ที่ถูกใช้เป็นเครื่องมือในการละเมิดสิทธิอนามัยเจริญพันธุ์
ที่ชี้น�าให้เยาวชนหญิงมีสิทธิที่จะตัดสินใจและสมัครใจในการด�ารงครรภ์เท่านั้น เพราะกิจกรรมไม่ได้
เป็นการให้ความรู้ที่รอบด้านและเลือกให้ความรู้เฉพาะด้านเพื่อชี้น�าให้เยาวชนเลือกที่จะด�ารงครรภ์
แทนการยุติการตั้งครรภ์ เป็นการท�าให้ผู้หญิงไม่รู้และเข้าถึงสิทธิพื้นฐานของปัจเจกในการตัดสินใจ
อย่างอิสระและรับผิดชอบในเรื่องจ�านวนบุตร เวลาที่จะมีบุตร และแทนที่จะให้เยาวชนได้ใช้สิทธิใน
การดูแลและป้องกันสุขภาพ และสิทธิในการมีชีวิตอยู่อย่างมีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ที่จะไม่ตกอยู่ใน
อันตรายจากการตั้งครรภ์ ไม่ตกอยู่ในอันตราย เพราะการท�าแท้งที่ไม่ปลอดภัย ไม่ตกอยู่ในอันตราย
เพราะขาดบริการสุขภาพที่ปลอดภัย แต่เป็นการสร้างความเข้าใจว่าการท�าแท้งน�าไปสู่อันตรายและ
ไม่ปลอดภัยต่อสุขภาพ เป็นการละเมิดสิทธิอนามัยเจริญพันธุ์ที่จะให้เยาวชนได้รับข้อมูลครบถ้วน
เป็นหลัก (จิตติมา ภาณุเดช และคณะ, ๒๕๕๐)
นอกจากนี้ มีบางกิจกรรมที่สอดคล้องกับประเด็นสิทธิอนามัยเจริญพันธ์ุของค่ายแกนน�า
วัยรุ่น คือกิจกรรมที่ฝึกหัดให้เยาวชนรับฟังและรักษาความลับของเพื่อนที่ปรึกษาปัญหาที่เกี่ยวข้อง
กับการเจริญพันธุ์ ซึ่งรวมถึงประเด็นการตั้งครรภ์ (ส�านักอนามัยเจริญพันธุ์, ๒๕๕๓, น. ๓๐ - ๓๒)
ซึ่งสอดคล้องกับสิทธิในความเป็นส่วนตัว (Rights to Privacy) ที่การให้บริการด้านสุขภาพทางเพศ
และอนามัยเจริญพันธุ์ต้องเป็นการให้บริการโดยเคารพความเป็นส่วนตัว รักษาความลับ ให้ข้อมูลที่
รอบด้านเพื่อประกอบการตัดสินใจ และยึดการตัดสินใจของผู้รับบริการเป็นหลัก ซึ่งเป็นหลักการที่
ส�าคัญอย่างยิ่ง (จิตติมา ภาณุเดช และคณะ, ๒๕๕๐) อย่างไรก็ตามในกิจกรรมไม่ได้สอดแทรกความคิด
เรื่องสิทธิในความเป็นส่วนตัว การรักษาความลับตามสิทธิอนามัยเจริญพันธุ์ และอนุญาตให้เยาวชน
แกนน�าสามารถเปิดเผยความลับได้ในกรณีเพื่อต้องการช่วยเหลือเพื่อนที่มาขอค�าปรึกษา ท�าให้อ�านาจ
ส�ำนักงำนคณะกรรมกำรสิทธิมนุษยชนแห่งชำติ // 87