Page 89 - รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง ปัญหาเยาวชนหญิงที่ตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรกับมิติสิทธิมนุษยชน
P. 89

การตัดสินใจเปิดเผยความลับเป็นของแกนน�าเยาวชนที่ให้ค�าปรึกษามากกว่าเยาวชนที่มาขอ

                 ค�าปรึกษา กลายเป็นการละเมิดสิทธิอนามัยเจริญพันธุ์ในอีกรูปแบบหนึ่ง


                       ขณะที่รัฐได้ด�าเนินการตามมาตรการการป้องกันเยาวชนตั้งครรภ์ การบริการเยาวชนที่

                 ตั้งครรภ์ก็ถูกด�าเนินการควบคู่ไปด้วย กระทรวงสาธารณสุขรวมไปถึงสถานพยาบาลและหน่วยงานที่ให้

                 บริการทางด้านสุขภาพตระหนักถึงอันตรายจากการตั้งครรภ์ของเยาวชนหญิง การขาดการบริการ

                 สุขภาพที่ปลอดภัย การได้รับค�าปรึกษา และข้อมูลข่าวสารในเรื่องสุขภาพทางเพศและอนามัย

                 เจริญพันธุ์ ขณะเดียวกันก็พยายามอย่างยิ่งในการสร้างวาทกรรมเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ของเยาวชนหญิง

                 ด้วยการพยายามผลิตซ�้าและผลักงานวิจัยศึกษาเพื่ออธิบายว่า การตั้งครรภ์ของเยาวชนเสี่ยงต่อการ

                 เกิดภาวะแทรกซ้อนทั้งหญิงตั้งครรภ์และทารก ไม่ว่าจะเป็นการตั้งครรภ์ที่พึงปรารถนาหรือไม่พึง

                 ปรารถนาก็ตาม เช่น งานวิจัยศึกษาของสุวชัย อินทรประเสริฐ  และ สุรศักดิ์ ฐานีพานิชสกุล

                 เรื่อง “ก�รตั้งครรภ์ในวัยรุ่น” (๒๕๓๙) และ การศึกษาของรพีพรรณ วิบูลย์วัฒนกิจ และคณะ

                 เรื่อง “คว�มสัมพันธ์ระหว่�งเจตคติต่อก�รตั้งครรภ์และแบบแผนก�รดำ�เนินชีวิตในระยะตั้งครรภ์

                 ของหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่น” (๒๕๕๐)



                       ทั้งสองงานวิจัยเผยให้เห็นว่า ตลอดกว่าทศวรรษวาทกรรมทางการแพทย์กลุ่มหนึ่งยังคง

                 เชื่อว่า เยาวชนหญิงตั้งครรภ์จะมีอัตราเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนต่อมารดาและทารกทั้งในระยะ

                 ตั้งครรภ์ ระยะคลอด และหลังคลอดได้มากกว่าการตั้งครรภ์ในวัยผู้ใหญ่ เนื่องจากมารดาวัยรุ่น

                 ส่วนใหญ่ขาดความพร้อมทางร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม และเศรษฐกิจ เมื่อเกิดการตั้งครรภ์ แม้จะ

                 เป็นการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาตามปกติ แต่มีผลเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงทางชีวเคมีและ

                 ฮอร์โมนของร่างกาย ซึ่งมีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงทางจิตใจและอารมณ์ การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นจึง

                 เป็นภาวะวิกฤตที่ซ�้าซ้อนกับภาวะวิกฤตเดิมที่มีอยู่ก่อนตามพัฒนาการของวัยรุ่น โดยเฉพาะในมารดา

                 ที่มีอายุน้อยกว่า ๑๗ ปี มักมีฐานะยากจน รับสารอาหารไม่ถูกหลักโภชนาการ ดื่มสุรา ติดยาเสพติด

                 จะมีอันตรายสูงขึ้น (รพีพรรณ วิบูลย์วัฒนกิจ และคณะ, ๒๕๕๐; สุวชัย อินทรประเสริฐ และสุรศักดิ์

                 ฐานีพานิชสกุล, ๒๕๓๙, น. ๑๗๑ - ๑๘๓)



                       จากการศึกษาพยายามท�าให้เชื่อว่าทารกที่เกิดจากมารดาอายุน้อยจะมีน�้าหนักแรกเกิดน้อย

                 คลอดก่อนก�าหนด และมีสุขภาพไม่สมบูรณ์ มักมีปัญหาเรื่องความผิดปกติทางระบบประสาท

                 หูหนวก ตาบอด และมีความพิการสูงกว่าทารกซึ่งมีน�้าหนักมากกว่า ๒,๕๐๐ กรัม (รพีพรรณ






                             88    // ปัญหำเยำวชนหญิงที่ตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรกับมิติสิทธิมนุษยชน
   84   85   86   87   88   89   90   91   92   93   94